Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45973
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรลัญจก์ บุณยสุรัตน์-
dc.contributor.authorชัชวาล สุรินทร์en_US
dc.date.accessioned2018-03-28T03:11:26Z-
dc.date.available2018-03-28T03:11:26Z-
dc.date.issued2557-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45973-
dc.description.abstractThis study had 3 objectives: 1) to study about the historical, social, and cultural backgrounds along with the potential of the Kao-Hong Community, Bang Pla Ma Sub-district, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province, 2) to study values and problems of the cultural heritage in the Kao-Hong community area, 3) to propose a management approach to conserve and develop the cultural heritage of the Kao-Hong community to become a cultural learning and tourism source with the participation of the community. The study was conducing on qualitative research by using the Interdisciplinary research methodology. Data were collected from documents and fieldwork by the physical survey, observation and group discussion to obtain information about historical, social, cultural background, potential of the Kao-Hong community along with studying on the cultural heritage of Kao-Hong community. Those results were used with the study to find suitable management approach and method in conserving and developing the cultural heritage of the Kao-Hong community to become a cultural learning and tourism source under the participation of the local community. Result of the study showed that Kao-Hong community, Bang Pla Ma Sub-district, Suphanburi Province, in the past is the famous commercial community, located by Tha-Chin riverbank. It was also rich in valuable cultural heritage: traditions, lifestyles, wisdom in resource management, along with the unique and outstanding architectures which was inherited from generations to generations. According to the development of transportation, roads were constructions for land transportation. There for, the water transportation was decreased. As a result, the prosperous lifestyles of people in this community were gradually left within the community. Therefore, at present Kao-Hong community is developed and restored, becoming the cheerful market community like in the past. From the study, it was revealed that the important problem found was the lack of appropriate cultural heritage management in the community. Moreover, the community internal management was not as successful as it should be in terms of development and restoration. The cause of these problems was people lack knowledge in cultural management which will lead to the successful management on cultural heritage of Kao-Hong community to be the community participatory approach. There were 3 projects proposed which were 1) conservation and development of cultural heritage in the Kao-Hong community, 2) an exhibition of arts, cultures and lifestyles of people in the Kao-Hong community, and 3) a path to cultural learning and tourism in the Koa-Hong community. The recommendations towards the management and development style of arts and cultural learning source, Kao-Hong community, should be done according to the operations under the participation of all sectors in the community.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectตลาดโบราณเก้าห้องen_US
dc.subjectมรดกทางวัฒนธรรมen_US
dc.titleการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมตลาดโบราณเก้าห้อง จังหวัดสุพรรณบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Management for Enhancing Effectiveness Cultural Heritage Development and Conservation of the Kao-Hong Ancient Market, Suphanburi Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc306.09593-
thailis.controlvocab.thashตลาดโบราณเก้าห้อง-
thailis.controlvocab.thashตลาด -- สุพรรณบุรี-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย-
thailis.controlvocab.thashวัฒนธรรมไทย-
thailis.controlvocab.thashสุพรรณบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
thailis.manuscript.callnumberว 306.09593 ช112ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนศักยภาพของชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาคุณค่าและสภาพปัญหาของมรดกวัฒนธรรมของชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง ตลอดจนแผนการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมของชุมชนตลาดโบราณเก้าห้องให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงสหสาขาวิชา (Interdisciplinary Research) ทำการศึกษาด้วยวิธีการเก็บข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนาม ด้วยวิธีการสำรวจทางกายภาพ สังเกตการณ์ และสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศักยภาพของชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง ตลอดจนศึกษามรดกวัฒนธรรมของชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง และนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาประกอบการศึกษาเพื่อหารูปแบบและวิธีการจัดการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมของชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนย่านการค้าริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนที่มีชื่อเสียงในอดีตและอุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าสั่งสมสืบทอดต่อกันมาทั้งด้านประเพณีวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ในการจัดการทรัพยากร รวมไปถึงสถาปัตยกรรมชุมชนที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น แต่ด้วยพัฒนาการขนส่งที่เปลี่ยนไปเกิดการตัดถนนเพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางบก การสัญจรทางแม่น้ำที่เคยมีมาแต่อดีตจึงได้ถูกลดบทบาทลง วิถีชีวิต ที่รุ่งเรืองของชุมชนแห่งนี้จึงค่อยๆ เงียบเหงาและซบเซาลงไปในที่สุด แต่ทั้งนี้นั้นชุมชนริมแม่น้ำย่านการค้าเก่าแห่งนี้ยังคงหลงเหลือมรดกทางวัฒนธรรมภายในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนตลาดโบราณเก้าห้องในปัจจุบันได้มีการช่วยกันรื้อฟื้นและพัฒนาให้กลายเป็นชุมชนตลาดที่มีชีวิตเช่นดังอดีต จากการศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญที่คือการขาดการจัดการทรัพยากรมรดกทางวัฒนธรรมที่ภายในชุมชนมีอยู่นั้นอย่างถูกต้องเหมาะสมอีกทั้งการจัดการภายในชุมชนที่ผ่านมานั้นไม่ประสบผลสำเร็จในด้านการพัฒนาและฟื้นฟูเท่าที่ควรเพราะประชาชนภายในชุมชนไม่มีความรู้ในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อนำไปสู่สัมฤทธิผลของการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดโบราณเก้าห้องเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรม การศึกษาในครั้งนี้จึงได้กำหนดรูปแบบและแนวทางในการจัดการภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเสนอการดำเนินการในรูปของโครงการ ไว้ 3 โครงการ คือ 1) โครงการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมของชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง 2) โครงการนิทรรศการแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง และ 3) โครงการเส้นทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง ทั้งนี้ข้อเสนอแนะต่อการการเสนอรูปแบบการของการบริหารจัดการและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนตลาดโบราณเก้าห้อง ควรมีการดำเนินขั้นตอนต่างๆให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วนen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT162.92 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX224.69 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1279.11 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2827.04 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3282.49 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.17 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5621.47 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6278.27 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT210.24 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER953.58 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE298.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.