Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45939
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์-
dc.contributor.advisorสมรัตน์ จารุลักษณานันท์-
dc.contributor.advisorวรวุธ ลาภพิเศษพันธุ์-
dc.contributor.authorตันหยง พิพานเมฆาภรณ์en_US
dc.contributor.authorTanyong Pipanmekapornen_US
dc.date.accessioned2018-03-26T08:36:40Z-
dc.date.available2018-03-26T08:36:40Z-
dc.date.issued2014-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45939-
dc.description.abstractThoracic anesthesia covers anesthesia involving various types of diagnostic and therapeutic procedures for airways, intrathoracic structures, and lung parenchyma. Common indications for thoracic surgery are malignancies, esophageal diseases, mediastinal diseases, and thoracic injuries. Majority of thoracic patients have smoking exposures, pre-existing respiratory diseases, coronary artery diseases, and other co-morbidities. Therefore, an appropriate preoperative assessment and management for thoracic patients usually involves good communication among anesthesiologists, medical specialists, and thoracic surgeons. To facilitate surgical exposures during thoracic surgery, anesthetic techniques require special devices such as double-lumen endotracheal tube (DLT) for providing lung separation and one-lung ventilation. The placement of DLT can stimulate significant hemodynamic responses such as hypertension, tachycardia, and cardiac arrhythmias due to the larger size and greater degree of carinal stimulation compared to conventional endotracheal intubation. An increase in hemodynamic responses can be harmful to some groups of patients such as elderly, hypertensive patients or patients with coronary artery diseases. Furthermore, thoracic surgery can increase significant postoperative complications and increased mortality rate. Pulmonary complications and cardiovascular complications are two common complications following thoracic surgery. The incidence and risk factors of cardiovascular complications have been previously less explored than those of pulmonary complications. Furthermore, patients with lung cancer were majority of population in most previous studies conducted in developed countries. However those with non-cancer lesions are more common in most developing countries. There are differences in pathophysiology of diseases, unique characteristics of individual patients, and risk for specific types of surgeries. Therefore, studies about the incidence and risk factors of cardiovascular complications for both groups of patients should be determined separately. Previous studies found that risk factors of cardiovascular complications after thoracic surgery were elderly patients, American Society of Anesthesiologists (ASA) classification 3 and 4, male patients, comorbid diseases, long duration of surgery, and patients with positive fluid balance. However, there are still inconclusive results about an association between positive fluid balance (PFB) and perioperative cardiovascular complications after thoracic surgery. Studies in this thesis were conducted to investigate the incidence and risk factors of cardiovascular complications for patients undergoing thoracic surgery for non-cancer lesions at Chiang Mai University Hospital (Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital). This study also explored an effect of positive fluid balance on the incidence of cardiovascular complications for non-cancer patients undergoing thoracotomy. In addition, the study determined an effect of 0.7 µg/kg dexmedetomidine on the hemodynamic responses to DLT intubation compared to placebo and the adverse effects of dexmedetomidine. The study found that the incidence of cardiovascular complications was 6.7% and age > 55 years, diabetes mellitus, coronary artery diseases, duration of surgery > 180 minutes, intraoperative hypotension, and perioperative PFB > 2,000 ml were significant risk factors of cardiovascular complications after thoracic surgery. Thoracic patients with cardiovascular complications had higher significant incidences of intensive care unit admission rate and prolonged hospital stays than those without cardiovascular complications. After exploration of the relationship between patients with positive fluid balance and cardiovascular complications, we found that the incidence of cardiovascular complications after thoracotomy was 8.1% and patients with PEB > 2,000 ml remained the independent risk factor after adjusting for potential confounding variables. Common causes of patients receiving higher PFB were massive hemorrhage and hypotension without significant hemorrhage. Furthermore, our result demonstrated that intravenous dexmedetomidine could attenuate hemodynamic responses to DLT intubation without producing significant serious adverse effects. The mean differences of systolic blood pressure, diastolic blood pressure, mean arterial pressure, and heart rate were significantly higher in the control group before intubation, during intubation, and from 1 to 10 minutes after intubation after being adjusted for all potential variables (age, gender, ASA, concurrent disease, baseline hemodynamic values, intubation time and attempts). In conclusion, the incidences of cardiovascular complications follow thoracic surgery for non-cancer lesions were 6.7% and 8.1%, which were comparable to those of previous studies. Knowledge of incidence and risk factors of cardiovascular complications can help all surgical personnel including anesthesiologists, surgeons, and medical personnel identify high risk patients and provide preventive strategies in order to adjust modifiable risk factors, reduce incidence and severity of complications, and improve quality of anesthesia and surgical safety. We found that PFB > 2,000 ml was a significant risk factor for cardiovascular complications. Therefore, fluid administration should be optimized by using of appropriate hemodynamic monitoring particularly in high risk patients. The use of 0.7 µg/kg dexmedetomidine could attenuate hemodynamic responses to DLT intubation and this could be useful for patients with high risk for cardiovascular complications such as patients with coronary artery diseases or cerebrovascular accident.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleCardiovascular Complications Following Thoracic Anesthesia:Incidence, Risk Factors, and Preventionen_US
dc.title.alternativeภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดภายหลังการให้ยาระงับความรู้สึก สำหรับการผ่าตัดทรวงอก: อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshDissertations, academic -- Clinical Epidemiology-
thailis.controlvocab.meshAnesthesia, Local-
thailis.controlvocab.meshThoracic Surgery-
thailis.manuscript.callnumberThesis W 4 Clin. Epidem. T161c 2014-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดทรวงอกครอบคลุมการให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับการทำหัตถการสำหรับการวินิจฉัยและรักษาบริเวณทางเดินหายใจ ภายในช่องทรวงอกและบริเวณปอด โดยข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดทรวงอกส่วนใหญ่ ได้แก่ การทำผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง โรคของหลอดอาหาร โรคของเมดิแอสตินั่ม และการบาดเจ็บบริเวณทรวงอก ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทรวงอกมักจะมีประวัติสูบบุหรี่ โรคของระบบทางเดินหายใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคร่วมต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นการประเมินและการเตรียมผู้ป่วยในระยะก่อนผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยการดูแลร่วมกันระหว่างวิสัญญีแพทย์ อายุรแพทย์ และศัลยแพทย์ และเพื่อให้การผ่าตัดทรวงอกทำได้อย่างราบรื่น จำเป็นจะต้องใช้ท่อช่วยหายใจที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ท่อช่วยหายใจแบบท่อคู่ เพื่อสะดวกในการช่วยหายใจสำหรับปอดข้างเดียวในระหว่างผ่าตัด อย่างไรก็ตามการใส่ท่อช่วยหายใจแบบท่อคู่อาจจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบไหลเวียนเลือดที่มากกว่าปกติการใส่ท่อช่วยหายใจแบบธรรมดาและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ เช่น ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น เนื่องจากขนาดของท่อช่วยหายใจที่ใหญ่กว่า และตำแหน่งของท่อช่วยหายใจที่อยู่ตำแหน่งที่ลึกกว่าท่อช่วยหายใจแบบธรรมดา การตอบสนองของระบบไหลเวียนเลือดที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติอาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น นอกจากนี้การผ่าตัดทรวงอกยังอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยภายหลังการผ่าตัดทรวงอก ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือด สำหรับการศึกษาอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด มีจำนวนการศึกษาในอดีตที่น้อยกว่าการศึกษา อุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนผลการศึกษาที่ผ่านมามักจะเป็นการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นมะเร็งและศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ใช่มะเร็งซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทรวงอกในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยา ลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาในเรื่องอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มควรจะทำศึกษาและวิเคราะห์แยกจากกัน จากการศึกษาในอดีต พบว่าปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดภายหลังการผ่าตัดทรวงอก ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีระดับ เอ เอส เอ 3 และ 4 ผู้ป่วยชาย ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม ระยะเวลาการผ่าตัดที่ยาวนาน และผู้ป่วยที่มีปริมาณสารน้ำเกินในร่างกาย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าผู้ป่วยที่มีปริมาณสารน้ำเกินในร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้นหรือไม่ วิทยานิพนธ์นี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจหาอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทรวงอกที่ไม่ใช่มะเร็งที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยที่มีปริมาณสารน้ำเกินในร่างกายและภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทรวงอกแบบเปิด และการศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาเด็กซ์เมทดิโทมิดีนขนาด 0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำเปรียบเทียบกับยาหลอกต่อผลของการตอบสนองของภาวะไหลเวียนเลือด ภายหลังการใส่ท่อช่วยหายใจแบบท่อคู่ และผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเด็กซ์เมทดิโทมิดีน ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเท่ากับร้อยละ 6.7 และ ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 55 ปี ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ระยะเวลาการผ่าตัดที่มากกว่า 180 นาที ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำในระหว่างผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีปริมาณสารน้ำเกินในร่างกายเกินกว่า 2,000 มิลลิลิตร เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดภายหลังการผ่าตัดทรวงอก นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตสูงกว่าและระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลนานกว่าผู้ที่ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของภาวะที่มีปริมาณสารน้ำเกินในร่างกายและภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดภายหลังการผ่าตัดทรวงอกแบบเปิดร้อยละ 8.1 ภายหลังการควบคุมปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้วยังคงพบว่าผู้ป่วยที่มีปริมาณสารน้ำเกินในร่างกายมากกว่า 2,000 มิลลิลิตรมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุของการเกิดภาวะสารน้ำเกินในร่างกาย ได้แก่ การเสียเลือดจำนวนมากในระหว่างการผ่าตัด ภาวะความดันโลหิตต่ำซึ่งไม่สัมพันธ์กับการเสียเลือด นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าการให้ยาเด็กซ์เมทดิโทมิดีนทางหลอดเลือดดำสามารถลดการตอบสนองของการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดได้ โดยไม่พบภาวะข้างเคียงของยาที่รุนแรง และภายหลังการควบคุมปัจจัยต่างๆที่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดแล้ว (ได้แก่ อายุ เพศ ระดับเอ เอส เอ ภาวะโรคร่วม ระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจในระยะก่อนผ่าตัด ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ และจำนวนครั้งของการใส่ท่อช่วยหายใจ) พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกมีระดับค่าเฉลี่ยของความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก ค่าความดันเลือดเฉลี่ย และค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา ยาเด็กซ์เมทดิโทมิดีน ในระยะก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ ในขณะท่อช่วยหายใจ จนถึง 10 นาทีภายหลังใส่ท่อช่วยหายใจ โดยสรุป ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดภายหลังการผ่าตัดทรวงอกอยู่ระหว่างร้อยละ 6.7-8.1 ซึ่งเป็นอุบัติการณ์ใกล้เคียงกับผลการศึกษาที่ผ่านมา ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยง จะช่วยให้ทีมแพทย์ผู้รักษาซึ่งประกอบด้วย วิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์ และบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย สามารถค้นหาผู้ป่วยรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนการหาแนวทางต่างๆสำหรับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เพื่อที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสาเหตุของปัจจัยเสี่ยง ลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนเพิ่มคุณภาพของการให้บริการทางวิสัญญีและความปลอดภัยสำหรับการผ่าตัดมีความปลอดภัยให้มากขึ้น ผู้ป่วยที่มีปริมาณสารน้ำเกินในร่างกายมากกว่า 2,000 มิลลิลิตร เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทรวงอกควรได้รับสารน้ำในระหว่างผ่าตัดในปริมาณที่เหมาะสม โดยการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เฝ้าระวังต่างๆ นอกจากนี้การให้ยาเด็กซ์เมทดิโทมิดีน ทางหลอดเลือดดำในขนาด 0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมสามารถลดการตอบสนองของการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดและน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้นen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT423.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX3.25 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1352.72 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2447.66 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3341.23 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4431.49 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5260.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT1.17 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdf COVER1.15 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.