Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45934
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพักตร์วิภา สุวรรณพรหม-
dc.contributor.advisorหทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ สวนทองen_US
dc.date.accessioned2018-03-26T07:32:54Z-
dc.date.available2018-03-26T07:32:54Z-
dc.date.issued2557-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45934-
dc.description.abstractThis descriptive study aimed to study antibiotic prescribing patterns for patients with upper respiratory tract infections among healthcare personal at Tambon health promoting hospitals in Samngao district, Tak province; and to identify factors influencing the antibiotic prescribing behaviors. The target samples were 440 patients with upper respiratory tract infection selected by multistage sampling. Their patient information records were retrieved from JHCIS database at Tambon health promotion hospitals in Samngao district, Tak province during Octobert 1, 2011 to September 30, 2012. The prescribing patterns were compared against the standard criteria of the National Antibiotic Smart Use program (ASU). The results showed that almost half of the patient received antibiotics for upper respiratory tract infection treatment. Of those receiving antibiotics, 40.68% were prescribed inappropriately as 38.18% of them received antibiotics without appropriate indication, especially found in pharyngitis and tonsillitis cases. Factors influencing the inappropriate prescribing behaviors included disease condition and prescriber’s length of experience. Patients with otitis media were significantly more likely to received inappropriate antibiotic prescription than those with common cold, OR otitis media/ common cold = 79.20 (95% CI = 9.87-635.49), p ≤. 0.001. Patients with tonsillitis were significantly more likely to received inappropriate antibiotic prescription than those with common cold, OR tonsillitis / common cold = 40.00 (95% CI = 17.86-89.54), p ≤. 0.001. Patients with pharyngitis were significantly more likely to received inappropriate antibiotic prescription than those with common cold, OR pharyngitis / common cold = 31.74 (95% CI = 17.42-57.84), p ≤. 0.001. Patients with sinusitis were significantly more likely to received inappropriate antibiotic prescription than those with common cold, OR sinusitis / common cold = 21.60 (95% CI = 2.17-214.40), p =. 0.009. Prescribers having more than 20 years and having 11-20 years of experience were more likely to inappropriately prescribe antibiotic than those having less than 10 years of experience, significantly; OR > 20 years / <10 years = 3.10 (95% CI = 1.86-5.17), p ≤. 0.001 and OR 11- 20 years / <10 years = 3.02 (95% CI = 1.75-5.22), p ≤ 0.001. The study findings could be concluded that the majority of healthcare personal at Tambon health promoting hospitals in Samngao district, Tak province inappropriately prescribed antibiotic for patients with upper respiratory tract infection. The major reason might be an inability to make clear disease diagnosis in order to make decision for prescribing antibiotic appropriately. Therefore, they are in need for better knowledge about diagnosis, dose and duration of antibiotic use, especially among those with more than ten years of working experience.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจen_US
dc.subjectปัจจัยen_US
dc.subjectยาปฏิชีวนะen_US
dc.titleรูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา ปฏิชีวนะ สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสามเงา จังหวัดตากen_US
dc.title.alternativePatterns and Factors Affecting Appropriate Antibiotic Prescribing for Patients with Upper Respiratory Tract Infection at Tambon Health Promoting Hospitals at Samngao District, Tak Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.nlmcว ส478ร-
thailis.controlvocab.thashDrugs -- Administration-
thailis.controlvocab.thashAntibiotic-
thailis.controlvocab.thashRespiratory therapy-
thailis.manuscript.callnumberว ส478ร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก และเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ กลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มาด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนจำนวน 440 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนทั้งหมดที่มีข้อมูลที่บันทึกอยู่ในโปรแกรม JHCIS ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขต อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2555 การสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม พิจารณาเปรียบเทียบการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะของผู้สั่งใช้ยาในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนกับเกณฑ์ Antibiotic Smart Use (ASU) ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่งได้รับยาปฏิชีวนะ โดยเป็นการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ ASU ร้อยละ 40.68 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นด้านไม่มีความจำเป็นแต่ได้รับยาปฏิชีวนะร้อยละ 38.18 พบมากที่สุดในโรคคอหอยอักเสบ และโรคทอนซิลอักเสบ ปัจจัยที่มีผลต่อความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ประกอบด้วยกลุ่ม โรคที่เป็น และประสบการณ์ของผู้สั่งจ่ายยา ซึ่งพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหูชั้นกลางอักเสบได้รับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย OR โรคหูชั้นกลางอักเสบ/โรคหวัด = 79.20 (95% CI = 9.87-635.49) และp < 0.001 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคทอนซิลอักเสบ ได้รับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย OR โรคทอนซิลอักเสบ/โรคหวัด = 40.00 (95% CI = 17.86-89.54) และ p < 0.001 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคคอหอยได้รับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย OR โรคคอหอยอักเสบ/โรคหวัด = 31.74 (95% CI = 17.42-57.84) และ p < 0.001 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ ได้รับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย ORโรคไซนัสอักเสบ/โรคหวัด = 21.60 (95% CI = 2.17-214.40) และp = 0.009 กลุ่มผู้สั่งใช้ยาที่มีอายุงาน 21ปีขึ้นไป มีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมมากกว่าผู้สั่งใช้ยาที่มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย OR อายุงาน 21 ปี ขึ้นไป/อายุงานต่ำกว่า 10 ปี = 3.10 (95% CI = 1.86-5.17) และp < 0.001 ผู้สั่งใช้ยาที่มีอายุงาน 11-20 ปี มีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมมากกว่าผู้สั่งใช้ยาที่มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย OR อายุงาน 11-20 ปี/อายุงานต่ำกว่า 10 ปี = 3.02 (95% CI = 1.75-5.22) และp < 0.001 จากผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่าผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอสามเงา จังหวัด ตาก ยังมีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากผู้ให้การรักษาไม่สามารถแยกวินิจฉัยได้ระหว่างโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะและที่ไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทอนซิลอักเสบ และโรคคอหอยอักเสบ ผู้ให้การรักษาพยาบาลยังต้องการข้อมูลความรู้ในด้านการวินิจฉัย ขนาด รูปแบบ และระยะเวลาในการให้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่เพียงพอและถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สั่งใช้ยาที่มีอายุงาน 11 ปีขึ้นไปen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT222.27 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX850.68 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1371.16 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2561.82 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3271.36 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4422.66 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5282.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT185.15 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER710.06 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE231.44 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.