Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39968
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล | - |
dc.contributor.author | จิรายุพร รัตนประดิษฐ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-25T03:10:04Z | - |
dc.date.available | 2017-08-25T03:10:04Z | - |
dc.date.issued | 2557-08-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39968 | - |
dc.description.abstract | People with autism are classified as disabled by Ministry of Social Development and Human Security’s Announcement about the categories and criteria of disability B.E.2555. According to the law for people with disability, which has many laws involved, autistic people are able to get any benefits and welfare as disabled. This seems to be beneficial for people with autism; however, the number of autistic people applying for disabilities ID cards is a few if compared to the whole number of them across the country. I, therefore, wish to study legal consciousness of autistic people’s parents due to parents are legally obligated to take care of their children. To find out the awareness and attitude of the parents toward the law and whether the law plays a role in everyday lives of people with autism. Researcher used the framework of legal consciousness by in-depth interviews with autistic people’s parents. The interviewees recounted past experiences, and researcher took control of the narrative and interviews within the framework of the research. The questions to be asked didn’t mention provisions of law directly or frame laws relating to the research too narrow. However, the researcher would find legal issues that were raised by the interviewees during the interviews. After that, the collecting data were analyzed and the findings would be presented in the form of descriptive content. In addition, the researcher would present the findings about legal consciousness of autistic people’s parents to achieve the purpose of this research. The results showed that the main reason for most parents who bring their children to register for disabilities ID cards is they think this law will provide coverage for their children if their children break the law by unconsciousness and their children must have this right. While the benefits of the registration is lesser role for high-income parents; on the other hand, it is more role for low-income parents, and they also expect more rights and benefits since it is not enough. Some parents believe that the registration for disabilities ID cards will make a guilt on the children's future. As children young age, parents expect that children will be better and will not be seen as a social disability. Although the legislation focus more on people with autism, but in reality how people with autism can get their rights by law depends on legal consciousness of autistic people’s parents. In addition, the state should play a role in providing support to the parents when their children are in young age because there is a better chance for young age people with autism to make a great development in tactics for taking care of themselves; to reduce the burden of parents and reduce the government's budget in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้ปกครองเด็กออทิสติก | en_US |
dc.title | นิติสำนึกของผู้ปกครองบุคคลออทิสติก | en_US |
dc.title.alternative | Legal Consciousness of People with Autism’s Parent | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 616.85882 | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ปกครองเด็กออทิสติก | - |
thailis.controlvocab.thash | จิตสำนึก | - |
thailis.controlvocab.thash | เด็กออทิสติก -- การดูแล | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว 616.85882 จ372น | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | บุคคลออทิสติกถูกจัดให้เป็นผู้พิการประเภทหนึ่งตามประกาศกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ พ.ศ. 2555 และมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับคนพิการซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวข้อง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคล ออทิสติก แต่กลับมีบุคคลออทิสติกขอแสดงตนมีบัตรประจำตัวผู้พิการน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนบุคคลออทิสติกทั่วประเทศ ผู้วิจัยจึงประสงค์จะศึกษานิติสำนึกของผู้ปกครองบุคคลออทิสติก เนื่องจากผู้ปกครองมีหน้าที่ตามกฎหมายให้ต้องดูแลบุตร เพื่อให้ทราบว่าผู้ปกครองบุคคลออทิสติกมีการรับรู้ ทัศนคติต่อกฎหมายอย่างไร และกฎหมายดังกล่าวมีบทบาทในชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกหรือไม่ ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดนิติสำนึก ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปกครองบุคคลออทิสติก โดยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าประสบการณ์ที่ผ่านมา และผู้วิจัยจะเป็นผู้ควบคุมให้การเล่าเรื่องและการสัมภาษณ์อยู่ในกรอบของการศึกษาที่ต้องการ ทั้งนี้คำถามที่ใช้ถามจะไม่กล่าวถึงบทบัญญัติของกฎหมายโดยตรง หรือกำหนดกรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แคบจนเกินไป แต่ผู้วิจัยจะค้นหาประเด็นทางกฎหมายที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้กล่าวถึงในระหว่างที่เล่าเรื่องว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง ซึ่งจะทำให้ค้นพบบทบาทของกฎหมายและสิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้ความสำคัญ และผู้วิจัยจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์นำเสนอในรูปของการพรรณนาเนื้อหา และนำเสนอข้อค้นพบเรื่องนิติสำนึกของผู้ปกครองบุคคลออทิสติก เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่นำบุตรไปจดทะเบียนคนพิการด้วยเหตุผลหลัก คือ คิดว่ากฎหมายฉบับนี้จะสามารถให้ความคุ้มครองแก่บุตรได้ หากบุตรกระทำผิดกฎหมายด้วยความไม่รู้สำนึก และคิดว่าเป็นสิทธิของบุตรที่ต้องได้รับ ในขณะที่สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการจดทะเบียนคนพิการมีบทบาทน้อยสำหรับผู้ปกครองที่มีรายได้มาก แต่หากผู้ปกครองมีรายได้น้อยก็มองว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับนั้นจำเป็นมากและอยากให้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เนื่องจากที่ได้รับในปัจจุบันไม่เพียงพอ ส่วนผู้ปกครองที่ยังไม่นำบุตรไปจดทะเบียนคนพิการมองว่าการจดทะเบียนจะทำให้เป็นตราบาปแก่บุตรในอนาคต เนื่องจากบุตรอายุยังน้อยจึงมีความคาดหวังว่าบุตรจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและไม่ต้องถูกสังคมมองว่าเป็นคนพิการ แม้ว่ากฎหมายจะให้ความสำคัญกับบุคคลออทิสติกมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงการที่บุคคลออทิสติกจะได้รับสิทธิตามกฎหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนิติสำนึกผู้ปกครองเป็นสำคัญ นอกจากนี้รัฐควรเข้ามามีบทบาทให้การสนับสนุนผู้ปกครองในระยะที่บุคคลออทิสติกอายุยังน้อย เนื่องจากมีโอกาสมากที่บุคคลออสิกติกจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจนสามารถดูแลตนเองได้เพื่อลดภาระของผู้ปกครองและลดภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคตด้วย | en_US |
Appears in Collections: | LAW: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 211.74 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 188.71 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 291.34 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 332.09 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 335.67 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 404.54 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 463.77 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 6.pdf | CHAPTER 6 | 242.03 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 189 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 470.27 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 276.24 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.