Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39920
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorLect.Dr. Nalitra Thaiprasert-
dc.contributor.advisorAssoc.Prof.Dr.Komsan Suriya-
dc.contributor.authorChantha Horen_US
dc.date.accessioned2017-08-23T04:58:48Z-
dc.date.available2017-08-23T04:58:48Z-
dc.date.issued2014-10-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39920-
dc.description.abstractTo the best of the author’s knowledge this paper fills an epistemological gap as there has never been a research paper published using quantitative analysis for Cambodia’s tourism industry. This paper contains an econometric analysis of international tourism demand for Cambodia’s tourism for two main objectives. Firstly, to understand factors influencing international tourists’ decision-making in coming to Cambodia. Secondly, to forecast short- and long-term international tourist inflows. The 17 year period (1996–2012) is the time frame used to scrutinize the degree to which determinants of economic and non-economic factors influenced international tourist arrivals to Cambodia. Using fixed-effect and random-effect models, six sets of panel data from 26 countries has been analyzed. For the purpose of the study, these countries are grouped geographically into ASEAN, Asia, Oceania, Europe, North America, and a 26-country group (all countries combined). In regards to the first objective of the study, the results reveal the GDP per capita of the tourist countries of origin in the previous year has a significant and positive effect on international tourist arrivals into Cambodia, especially tourist arrivals from ASEAN, Oceania, and North America. Tourists from Oceania are less sensitive to an increasing cost of living in Cambodia. This is opposite to tourist arrivals from Europe wherein price elasticity is positive. It is of interest that tourist groups from Europe and Oceania show sensitivity to price changes in Cambodia in a vice-versa way, i.e., if relative price increases in Cambodia then tourist arrivals from Europe increase slightly while tourist arrivals from Oceania decrease slightly. Transportation cost has a positive impact on tourist arrivals from Asia, Oceania, and Europe, but has a negative impact on tourist arrivals from North America. The distance between Asia and Cambodia is logically not an obstacle for discouraging tourists from travelling to Cambodia, while tourists from Europe and Oceania might take a trip to Cambodia via neighboring countries where it is convenient and easy to get into Cambodia. The lack of long haul flights direct to Cambodia could be a contributing factor for the case of North American tourists. The global financial crisis in the period of 2008‒2009 (D1) had a negative impact on tourist arrivals to Cambodia from North America. This is likely due to hardship caused by the crisis having a more telling effect on the people in this region which in turn discouraged them from travelling to Cambodia. The financial crisis in Asia in the period of 1998‒1999 (D2) discouraged tourists from travelling to Cambodia from the 26-country group and from North America. Paradoxically, number of tourists from Europe increased during this period. The coefficients from ASEAN and Asia are not significant for this variable, though they are negative, which is in line with expected results that the crisis might had an impact upon some countries of ASEAN and Asia. The September 11 attack in the U.S. during 2001–2002 (D3) had a negative influence on tourist arrivals from North America, but a positive effect on tourists from Oceania and Europe. This result indicates that American sentiment was low right after the September 11 attack which, discouraged Americans from travelling abroad, but the event seems to have no impact on tourist arrivals from Oceania and Europe. In addition, the Thai military coup in 2006 (D4) had no significant effect on tourist arrivals to Cambodia. The Cambodia-Thai border dispute in the period of 2008‒2011 (D5) had a positive effect on international tourist arrivals to Cambodia from Oceania and North America. The result suggests the dispute became an unexpected advertising channel for the Cambodia tourism industry which encouraged tourists to Cambodia. The SARS epidemic in Asia in 2003 (D6) had a positive effect on tourist arrivals from the 26-country group and from every region. This illustrates that Cambodia, which is a relatively safe place from SARS, attracted tourists from other Asian countries with had SARS outbreak. The political instability and deadlock in Cambodia in 1997–1998 and 2003 (D7) had a negative impact on tourist arrivals from the 26-country group, Oceania, Europe, and North America. The internal conflicts in Cambodia could be harmful to the tourism industry as they discourage tourists, especially those from long-distance countries. The tsunami in Japan and in Southeast Asia (D8 and D9) had a positive effect on international tourist arrivals to Cambodia from every region. Although the events were horrific for the affected countries, they benefited Cambodia’s tourism industry. Tourists may have changed their plans from travelling to the impacted countries and travelled to Cambodia instead. The single visa entry scheme for the five ASEAN countries (Cambodia, Laos, Myanmar, Thailand, and Vietnam) which commenced in 2012 (D10) had a significant and positive effect on tourist arrivals from Oceania. This suggests that international tourists, especially from Oceania, utilize the benefit of a single visa because they can plan to visit several countries in ASEAN using the same visa. The visa exemption among the ASEAN countries in the period of 2006‒2012 (D11) had no significant effect on tourist arrivals to Cambodia. In regards to the second objective of the study, future international tourist arrivals to Cambodia during the period of 2014‒2017 are predicted using scenario analysis. The three main scenario assumptions are the worst-case scenario, normal-case scenario, and the best-case scenario. These scenarios are determined by using three statistically significant independent variables, i.e., Gross Domestic Product Per Capita in the previous year (GDPPCt-1), Relative Price (RP) and Transportation Cost (TC). The worst-case scenario results predict a significant decline in international tourist arrivals to Cambodia from North America of approximately 55 percent, followed by 40 percent of tourists from ASEAN and with tourist arrivals from Oceania showing the lowest negative growth rate of only 0.12 percent. Numbers of tourist arrivals from Asia and Europe are predicted to show a downturn of 27 percent and 28 percent, respectively, in the worst-case scenario. In the normal-case scenario, numbers of tourist arrivals from ASEAN, Europe, Asia, and Oceania are predicted to have a positive growth rate of around 8 percent to 9 percent. The number of tourist arrivals from North America is predicted to have the lowest growth rate of around 5 percent. In the best-case scenario, the number of tourist arrivals from Asia is predicted to have a growth rate of 41 percent (the highest), while that from North America is predicted to be only 6 percent (the lowest). Results from the study could be valuable for Cambodia’s policy makers to investigate the suitability of current tourism policies of Cambodia. In addition, the policy recommendations from the study could provide a guideline for the Cambodian government to formulate new development strategies for Cambodia’s tourism industry for more vigorous and sustainable growth of this industry.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectForeign touristsen_US
dc.titleAnalysis of International Tourism Demand for Cambodia’s Tourismen_US
dc.title.alternativeการวิเคราะห์อุปสงค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีต่อการท่องเที่ยวประเทศกัมพูชาen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc338.4791-
thailis.controlvocab.lcshForeign tourists -- Supply and demand-
thailis.controlvocab.lcshCambodia -- Description and travel-
thailis.controlvocab.lcshConsumption (Economics)-
thailis.manuscript.callnumberTh 338.4791 C459A-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานศึกษานี้เป็นงานวิจัยที่ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณในการศึกษาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาโดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติในการศึกษาอุปสงค์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ ได้แก่ การศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศกัมพูชาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และประการที่สองคือ การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจและที่มิใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเดินทางท่องเที่ยวมายังประเทศกัมพูชานี้ได้ใช้วิธี fixed-effect และ random effect ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาคตัดขวางช่วงยาวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 26 ประเทศในช่วงเวลาตั้งแต่พ.ศ.2539–2555โดยได้แบ่งกลุ่มประเทศที่ทำการศึกษาตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ได้แก่ อาเซียน เอเชีย โอเชียเนีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และกลุ่มที่รวม 26 ประเทศทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ผลการศึกษาพบว่าผลิตภัฌฑ์มวลรวมประชาชาติเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีก่อนหน้ามีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวที่มาจากลุ่มประเทศอาเซียนโอเชียเนียและอเมริกาเหนือ นอกจากนั้นแล้ว นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศโอเชียเนียก็มีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพในประ เทศกัมพูชาน้อยกว่า ซึ่งตรงข้ามกับนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่า เป็นที่น่าสนใจว่านักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศยุโรปและโอเชียเนียมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงระดับราคาในประเทศกัมพูชาในทิศทางที่ตรงข้ามกัน กล่าวคือ หากระดับราคาในประเทศกัมพูชา สูงขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรปจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศโอเชียเนียจะลดลงเล็กน้อย ในส่วนของตัวแปรด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางนั้นพบว่า มีผลกระทบเชิงบวกต่อจำนวนนัก ท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเอเชีย โอเชียเนีย และยุโรป แต่มีผลกระทบเชิงลบต่อนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกาเหนือ เนื่องจากระยะทางระหว่างเอเชียและกัมพูชาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศกัมพูชา ส่วนนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรปและโอเชียเนียอาจเลือกเดินทางผ่านมายังประเทศเพื่อนบ้านที่สะดวกต่อการเดินทางเข้ามายังกัมพูชา แต่การไม่มีเที่ยวบินตรงมายังกัมพูชาน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ตัวแปรนี้ไห้ผลทางลบต่อกรณีของนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกาเหนือ วิกฤติการเงินโลกในช่วงปีพ.ศ.2551–2552 (D1) มีผลกระทบเชิงลบต่อนักท่องเที่ยวจากกลุ่มทวิปอเมริกาเหนือ ซึ่งน่าจะเป็นผลเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นกับภูมิภาคนี้ได้ทำให้ชาวอเมริกาเหนือเดินทางท่องเที่ยวลดลง วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในช่วงปีพ.ศ.2541–2542 (D2) ได้ส่งผลต่อการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังกัมพูชาจากกลุ่ม 26 ประเทศและกลุ่มนักท่องเที่ยวจากอเมริกาเหนือ แต่กลับพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรปกลับเพิ่มขึ้น ส่วนนักท่องเที่ยวจากเอเชียและอาเซียนนั้น แม้ผลที่ออกมาจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่าส้มประสิทธิ์ของตัวแปรก็ยังเป็นลบ ซึ่งงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่านักท่องเที่ยวจากสองภูมิภาคนี้น่าจะลดลงยามเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย เหตุการณ์การก่อการร้ายในวันที่ 11 กันยายน 2544 ซึ่งมีผลในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2544–2545 (D3)ได้ส่งผลทางลบต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกาเหนือแต่กลับเป็นบวกต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวจากโอเชียเนียและยุโรป ผลที่ได้นี้บ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของชาวอเมริกาเหนือลดลงหลังจากเหตุการณ์การโจมตีในวันที่ 11 กันยายน ทำให้ยอดนัก ท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกาเหนือไปยังกัมพูชานั้นลดลง นอกจากนี้ การเกิครัฐประหารในไทยในปี พ.ศ. 2549 (D4) ไม่มีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังกัมพูชา ปัญหาความขัดแย้งของไทยและกัมพูชาในประเด็นเรื่องเขตแดนในช่วงปีพ.ศ.2551–2554 (D5) กลับส่งผลดีต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มายังกัมพูชาที่มาจากโอเชียเนียและอเมริกาเหนือ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกลายเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ประเทศอย่างไม่เป็นทางการของกัมพูชา ส่วนการระบาดของโรคซาร์สในเอเชียในปีพ.ศ.2546 (D6) กลับส่งผลกระทบเชิงบวกต่อนักท่องเที่ยวจากกลุ่ม 26 ประเทศและทุกกลุ่มภูมิภาคของการศึกษา แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาซึ่งเป็นประเทศที่ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์สได้รับโอกาสจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ในส่วนของปัญหาทางการเมืองภายในของกัมพูชาเองในปีพ.ศ.2540–2541 และพ.ศ.2546 (D7) ได้ส่ง ผลกระทบเชิงลบต่อนักท่องเที่ยวจากกลุ่ม 26 ประเทศ โอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งภายในประเทศนั้นส่งผลในทางลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่งการเกิดสึนามิในประเทศญี่ปุ่นและในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (D8 และ D9) ซึ่งแม้จะเป็นเหตุการณ์ที่น่าสลดใจต่อประเทศที่ได้รับผลกระทบ กลับส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อการเดินทางท่องเที่ยวมายังกัมพูชาจากนักท่องเที่ยวทั่วทุกภูมิภาค การตกลงออกนโยบายวีซ่าเดียวแต่ท่องเที่ยวได้ห้าประเทศในอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม) ซึ่งเริ่มต้นในปีพ.ศ.2555 (D10) ได้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศโอเชียเนีย แสดงว่านักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะจากโอเชียเนียได้รับประโยชน์จากวีซ่าประเภทนี้เพราะสามารถวางแผนที่จะมาเที่ยวยังหลายประเทศในอาเซียนได้ง่ายขึ้น ส่วนการยกเว้นวีซ่าไห้กันระหว่งประเทศในกลุ่มอาเซียนในช่วงปีพ.ศ.2549–2555 (D11) กลับไม่มีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังกัมพูชา ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่สองของการศึกษาได้ทำการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศกัมพูชาระหว่างปีพ.ศ.2557–2560 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สถานการณ์ (scenario analysis) โดยได้ทำการแบ่งสมมติฐานออกเป็น 3 สถานการณ์ได้แก่ สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด สถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ที่ดีที่สุด โดยการพยากรณ์ได้อยู่บนพื้นฐานของค่าสัมประสิทธิ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปรอิสระทั้งสามตัวคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีก่อนหน้า ระดับราคาค่าครองชีพในประเทศกัมพูชา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่หาได้จากการศึกษาในส่วนแรก ในกรณีของสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศกัมพูชาจากกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือจะลดลงประมาณร้อยละ 55 รองลงมาคือกลุ่มประเทศอาเซียนคือร้อยละ 40 ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศโอเชียเนียจะลดลงเพียงร้อยละ 0.12 ซึ่งเป็นอัตราการลดลงที่ต่ำที่สุด ส่วนในกรณีของสถานการณ์ปกติพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจากกลุ่มประเทศอาเซียน ยุโรป เอเชีย และโอเชียเนียต่างก็มีอัตราการเติบในทางบวกที่ประมาณร้อยละ 8-9 ทั้งสิ้น แต่นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือกลับมีอัตราการเติบโตต่ำที่สุดคือที่ประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น ส่วนในกรณีของสถานการณ์ที่ดีที่สุดนั้น พบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศกัมพูชาในอัตราที่สูงที่สุดคือจากกลุ่มประเทศเอเชีย คือประมาณร้อยละ 41 ส่วนอัตราที่ต่ำที่สุดคือจากกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6 เท่านั้น ผลการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของนโยบายการท่องเที่ยวในปัจจุบันของประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานศึกษานี้น่าจะสมารถเป็นแนวทางให้กับรัฐบาลประเทศกัมพูชาในการกำหนดและพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของกัมพูชาให้เติบโตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.