Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39890
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.มนทิพย์ ตั้งเอกจิต | - |
dc.contributor.author | จำเนียร แก้วกันธา | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-04-11T09:27:41Z | - |
dc.date.available | 2017-04-11T09:27:41Z | - |
dc.date.issued | 2015-05 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39890 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this independent study was to study the use of accounting information of petrol stations’ entrepreneurs in Chiang Mai. Data were collected by using questionnaires with 118 petrol stations’ entrepreneurs in Chiang Mai or 29.43 percent of the overall population. Data were analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage and mean. The results revealed that the petrol stations’ entrepreneurs in Chiang Mai used information for considering petrol purchasing as follows: remaining petrol, petrol price trend, and credit period. In terms of information for pricing arrangement and marketing promotion, there were government policy, cost for purchasing petrol, and sale prices of competitors. Moreover, the study revealed that most of the entrepreneurs used accounting information in the operation. The details of levels for using accounting information for management were described as follows. 1) Planning: entrepreneurs used accounting information for planning at a high level. The highest using averages of accounting information were petrol purchased budget, income of petrol sale, and report of profit - loss statement respectively. 2) Directing: entrepreneurs used accounting information for directing at a high level. The highest using averages of accounting information were daily petrol sold report, daily cash income-expense report, petrol ordered report respectively. 3) Control: entrepreneurs used accounting information for control at a high level. The highest using averages of accounting information were the report of the comparison between previous and present year of financial statement by conducting comparative analysis on numbers of each item and total numbers of the same statement in percentage rate, the report of comparative analysis between actual numbers and budgeted number such as petrol sale, cost of goods sold (petrol), and administrative expenses. In addition, report of operating efficiency analysis by using financial ratio was used. 4) Decision making: entrepreneurs used accounting information for making decision at a high level. The highest using averages of accounting information were the report of petrol cost purchasing for price arrangement, the report about remaining petrol before ordering, and the daily report of the calculation on remaining petrol for inventory management respectively. In terms of problems using accounting information, it was found that entrepreneurs had problems at a medium level. The entrepreneurs confronted with the highest average problem about personnel were not enough to prepare accounting report, personnel lack of experiences in making accounting report, and personnel did not have enough knowledge and ability to make accounting report. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบการธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | The Use of Accounting Information of Pestrol Station Entrepreneurs in Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบการธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ประกอบการธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 118 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 29.43 ของประชากร และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา อันได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ข้อมูลในการพิจารณาจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงคือ ปริมาณน้ำมันคงเหลือ รองลงมาคือแนวโน้มราคาน้ำมัน และระยะเวลาในการให้เครดิต ส่วนข้อมูลในการกำหนดราคาขายและการส่งเสริมการตลาดคือนโยบายของรัฐบาล รองลงมาคือต้นทุนในการซื้อน้ำมัน และราคาขายของปั๊มน้ำมันคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อการสั่งการ โดยมีรายละเอียดระดับการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร ดังนี้ 1) ด้านการวางแผน: ผู้ประกอบการมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อการวางแผนอยู่ในระดับมาก โดยข้อมูลทางการบัญชีที่มีค่าเฉลี่ยระดับการใช้สูงสุดคือ รายงานงบประมาณการซื้อน้ำมัน รองลงมาคือรายงานงบประมาณรายได้การขายน้ำมัน และรายงานประมาณการงบกำไรขาดทุน 2) ด้านการสั่งการ: ผู้ประกอบการมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อการสั่งการอยู่ในระดับมาก โดยข้อมูลทางการบัญชีที่มีค่าเฉลี่ยระดับการใช้สูงสุดคือ รายงานการขายน้ำมันประจำวัน รองลงมาคือข้อมูลรายงานรับ-จ่ายเงินสดประจำวัน และรายงานการสั่งซื้อน้ำมันแต่ละชนิด 3) ด้านการควบคุม: ผู้ประกอบการมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อการควบคุมอยู่ในระดับมาก โดยข้อมูลทางการบัญชีที่มีค่าเฉลี่ยระดับการใช้สูงสุดคือ รายงานการเปรียบเทียบงบการเงินปีปัจจุบันกับปีก่อนโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวเลขแต่ละรายการกับยอดรวมในงบการเงินเดียวกันในอัตราร้อยละ รองลงมาคือรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขจริงเปรียบเทียบงบประมาณอันได้แก่ รายได้จากการขาย ต้นทุนสินค้าที่ขาย (น้ำมัน) และค่าใช้จ่ายในการบริหาร รวมถึงมีการใช้รายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 4) ด้านการตัดสินใจ: ผู้ประกอบการมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อมูลทางการบัญชีที่มีค่าเฉลี่ยระดับการใช้สูงสุดคือ รายงานต้นทุนการซื้อน้ำมันในการกำหนดราคาขาย รองลงมาคือรายงานปริมาณน้ำมันคงเหลือก่อนการสั่งซื้อ และรายงานการคำนวณราคาน้ำมันคงเหลือประจำวันในการจัดการสินค้าคงคลัง สำหรับปัญหาเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชี พบว่า ผู้ประกอบการมีระดับปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ประกอบการมีค่าเฉลี่ยของปัญหาด้านบุคลากรสูงสุด ได้แก่ ผู้จัดทำรายงานทางการบัญชีมีจำนวนไม่เพียงพอ รองลงมาคือผู้จัดทำรายงานทางการบัญชีขาดประสบการณ์ในการจัดทำรายงานทางการบัญชี และผู้จัดทำรายงานการบัญชีไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.doc | Abstract (words) | 196 kB | Microsoft Word | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 400.4 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.