Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39818
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อานันท์ กาญจนพันธุ์ | - |
dc.contributor.advisor | ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี | - |
dc.contributor.author | บุญตา สืบประดิษฐ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-12T14:10:28Z | - |
dc.date.available | 2016-12-12T14:10:28Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39818 | - |
dc.description.abstract | The study aims to understand conditions and context of natural resource co-management application for conflict solution and negotiation of relevant actors in order to have rights on natural resource management; and analyze relationship between co-management and local governance establishment in Natural resource management. It is found that an important condition of co-management application for problem resolution in access to resource management rights is the limitation of both state and local administration and management. Co-management is a practice of establishment of resource management institution which leads to a possibility of negotiation and justice of resource allocation. The co-management system is therefore concerned as a platform that allows actors or stakeholders to have learning and negotiating space for balancing power in access to natural resource management rights of communities. The important factors of successful co-management are 1) social capital of communities and networks; 2) co-management process that serves as a space of learning, reconciling disputes, and equally allocating advantage for resource users, especially disadvantaged communities. The agent has important role to create such the process; 3) The information and appropriated tools; 4) The regulation, rule, or law that conform with an area’s context; and 5) The monitoring process and continuity of co-management. The co-management approach that relate to local governance of 3 target areas has been reflected in forms of 1) internal control by rule and regulation that is in line with local condition; 2) The formal acknowledgement of community’s regulation and rights, in the local legislation form; and 3) The investigation and balancing process by cooperated administration and management mechanism. These elements are conditions that control an orientation of co-management to the sustainable and equal co-management way. However, the finding from field study show that the risk or failure condition of co-management are external economic pressure, such as, the market demand on energy plants, conservation pressure, and environmental change. These conditions influence the maintenance of communities’ resource management system. So, the challenge of successful co-management is the question that how to contribute the communities’ adaptive ability and survival in the complex socio-ecological system. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | พื้นที่ต่อรอง | en_US |
dc.subject | ธรรมาภิบาลท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | เครือข่ายการจัดการทรัพยากร | en_US |
dc.title | การจัดการร่วมในฐานะพื้นที่ต่อรองเพื่อสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นของเครือข่ายการจัดการทรัพยากรในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Co-management as a space of negotiation for local governance in Resource Management networks in Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.ddc | 333.7 | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ธรรมรัฐ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การปกครองท้องถิ่น -- เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 333.7 บ434ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเงื่อนไข และบริบทในการนำแนวคิด กระบวนการจัดการร่วมมาใช้ในการจัดการทรัพยากรระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดการความขัดแย้ง และต่อรองเพื่อทำให้มีสิทธิในการใช้ทรัพยากร รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการร่วมและการสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า เงื่อนไขสำคัญที่มีการแนวคิดการจัดการร่วมมาใช้จัดการปัญหาความขัดแย้งในการเข้าถึงสิทธิในการจัดการทรัพยากร เนื่องจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายชุมชน โดยการจัดการร่วม (Co-management) เป็นปฏิบัติการหนึ่งของการสร้างสถาบันในการจัดการทรัพยากร อันจะนำไปสู่การต่อรอง และการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมได้ ระบบการจัดการทรัพยากรร่วมจึงเป็นเสมือนเวทีที่ทำให้ผู้แสดง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีพื้นที่ในการเรียนรู้และต่อรองเพื่อปรับดุลอำนาจในการเข้าถึงสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชน ปัจจัยสำคัญที่ทำการจัดการร่วมประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) ทุนทางสังคมที่ของชุมชนและเครือข่าย 2) กระบวนการในการจัดการร่วม ซึ่งเป็นเสมือนพื้นที่ในการเรียนรู้ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และเป็นพื้นที่ในการจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับผู้ใช้ทรัพยากรโดยเฉพาะชุมชนผู้ด้อยโอกาส กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้นั้น “คนกลาง” เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง 3) ข้อมูลและเครื่องมือที่เหมาะสม 4) ระเบียบ กติกา หรือกฎหมายที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ 5) กระบวนการติดตามและความต่อเนื่องของระบบการจัดการร่วม ทั้งนี้ แนวทางการจัดการร่วมที่สัมพันธ์กับธรรมาภิบาลท้องถิ่นของทั้ง 3 พื้นที่ ได้สะท้อนออกมาในรูปแบบของ 1) การควบคุมภายใน ด้วยกฎ ระเบียบกติกาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น 2) การรับรองระเบียบกติกาและสิทธิของชุมชนอย่างเป็นทางการในรูปแบบของข้อบัญญัติท้องถิ่น 3) กระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลด้วยกลไกการบริหารจัดการแบบพหุพาคี องค์ประกอบเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่จะคอยกำกับให้กลไกของการจัดการร่วมนำไปสู่ความยั่งยืนและความเป็นธรรมในการจัดการทรัพยากร อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในพื้นที่นั้นก็พบความเสี่ยงของความล้มเหลวในการจัดการร่วมซึ่งมีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ แรงกดดันทางเศรษฐกิจที่มาจากภายนอกชุมชน เช่น ความต้องการของตลาดในเรื่องพืชพลังงานและเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านการอนุรักษ์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อม เงื่อนไขเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาระบบการจัดการทรัพยากรของชุมชน ดังนั้นประเด็นสำคัญของการที่จะทำให้การจัดการร่วมประสบความสำเร็จได้นั้นจึงเป็นโจทย์ท้าทายว่า จะทำให้ชุมชนมีความสามารถปรับตัวและอยู่รอดในระบบนิเวศน์สังคมที่ซับซ้อนต่อไปได้อย่างไร | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 162.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 147.56 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 295.73 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 338.29 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 593 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 6.pdf | CHAPTER 6 | 274.28 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 207.18 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 686.56 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 179.92 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.