Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39784
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูศรี เที้ยศิริเพชร-
dc.contributor.authorนภาพร เคลื่อนเพชรen_US
dc.date.accessioned2016-12-12T12:47:59Z-
dc.date.available2016-12-12T12:47:59Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39784-
dc.description.abstractThe purposes of this independent study were to develop an accounting system for an organic herbal community enterprise in Tambon San Maha Phon, Amphoe Mae Taeng, Chiang Mai province. As a result, they will be able to develop the system by themselves, and the system can serve as guidelines for other community enterprises in order to develop their own accounting system. Data collection included the use of interview and observation of accounting related work, as well as a cognitive test for those responsible for developing accounts. The results were used to design an accounting system and record documents for community enterprise. The design was aimed to involve accounting development with personnel responsible for developing accounts. This process started with training and accounting practice. After that, the trainees were followed up, closely given instructions on accounting development for 6 months, and evaluated by collecting accounting development data. Finally, they were also interviewed for their attitudes toward accounting system development. The study found that the organic herbal community enterprise processed and marketed their products, Chiang Da leaves, and their major products were Chiang Da drink, Chiang Da capsules, and Chiang Da pillows. In the past, the enterprise did not record the income and expenses every day, and did not record them constantly. The enterprise did not have a form used for recording the transactions, and those responsible for developing the accounts lacked basic knowledge of accounting because they just started this job. There was a need to develop the accounts in order to know actual income and expenses. The staff also viewed accounting as a difficult and complex task. Therefore, the researcher has developed an accounting system by designing six accounts based on cash criteria: cash receipts, cash expenses, work in process control, product control, production cost and revenue and expenses. When finishing the training session, it was found that the responsible personnel could develop the accounts. In addition, related committee also cooperated in developing accounting record documents well. Such accounting system development benefited the community enterprise; the enterprise could recognize actual income and expenses of the community, change spending habits of the community, use the system as guidelines to cut down unnecessary expenses, and in planning future operations. The findings from this study revealed that in developing a system to meet the needs of the community, the operation of the community and the opinions of those responsible for developing accounts for the community should be considered. Adding symbols, images, arrows, calculating methods in the financial statements or accounting books was important because the personnel without a background in accounting could link the items in order to develop financial statements more easily. It is suggested that in order to promote cooperation in training or practice in the accounting development of community enterprise, it should start by making co-operational or responsible personnel of the community enterprise recognize the benefits of the accounting development. This will result in a positive attitude towards the accounting development causing cooperation in many areas both cooperation in developing of accounting record documents and collaboration in the recording continuously. Supporting agencies or those who want to develop an accounting system for the community enterprise should listen to the opinions of the personnel responsible for developing accounts for of the community enterprise in order to improve the accounting system to meet the needs of the community as much as possible. The accounting development of the community enterprise is likely to have a problem in having no time to develop the accounts. The clear separation of duties among cooperative members or the committee to be responsible for different parts of the accounting system will help reduce this problem.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectระบบบัญชีen_US
dc.subjectกลุ่มวิสาหกิจชุมชนen_US
dc.subjectสมุนไพรอินทรีย์en_US
dc.titleการพัฒนาระบบบัญชีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAccounting system development for Organic Herbal Community Enterprise, Tambon San Maha Phon, Amphoe Mae Taeng, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc657-
thailis.controlvocab.thashการบัญชี -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashวิสาหกิจชุมชน -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 657 น162ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบัญชีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้สามารถจัดทำบัญชีได้ด้วยตัวเอง รวมทั้งเป็นแนวทางสำหรับวิสาหกิจชุนชนอื่นในการจัดทำระบบบัญชีของตนเอง การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์การทำงานเกี่ยวกับบัญชี และทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบัญชีของผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชี จากนั้นนำผลที่ได้มาออกแบบระบบบัญชีและเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีให้กับวิสาหกิจชุมชน โดยออกแบบให้ผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีมีส่วนร่วมในการจัดทำและพัฒนาระบบบัญชีด้วย โดยเริ่มจากการฝึกอบรมและทดลองปฏิบัติการจัดทำบัญชี จากนั้นติดตามผลพร้อมกับให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติการทำบัญชีอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลา 6 เดือน แล้วทำการประเมินผลโดยเก็บข้อมูลจากผลการจัดทำบัญชี พร้อมทั้งการสัมภาษณ์ทัศนคติของผู้ร่วมปฏิบัติการพัฒนาระบบบัญชีในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ทำการแปรรูปผลผลิตจากใบเชียงดาออกสู่ตลาด โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เครื่องดื่มเชียงดา แคปซูลเชียงดา และหมอนเชียงดา ในอดีตวิสาหกิจชุมชนไม่ได้มีการบันทึกรายรับและรายจ่ายทุกวัน และไม่ได้มีการบันทึกอย่างต่อเนื่อง วิสาหกิจยังไม่มีแบบฟอร์มที่ใช้ในการบันทึกรายการที่เกิดขึ้น ผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชียังขาดพื้นฐานความรู้ในด้านการบันทึกบัญชีเนื่องจากมารับงานใหม่ มีความต้องการจัดทำบัญชีเพื่อทราบรายรับรายจ่ายที่ถูกต้อง เห็นว่าบัญชีเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ซับซ้อน ผู้ศึกษาจึงได้ทำการพัฒนาระบบบัญชีโดยออกแบบรูปแบบสมุดบัญชีตามเกณฑ์เงินสดรวมทั้งหมด 6 เล่ม ประกอบด้วย สมุดบัญชีเงินสดรับ สมุดบัญชีเงินสดจ่าย สมุดคุมงานระหว่างทำ สมุดคุมสินค้า สมุดงบต้นทุนการผลิตและสมุดงบรายได้และค่าใช้จ่าย เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาฝึกปฏิบัติการพบว่าผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีสามารถจัดทำบัญชีได้ กรรมการผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีเป็นอย่างดี ซึ่งการจัดทำบัญชีดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่วิสาหกิจชุมชนคือทำให้รู้รายรับ รายจ่ายที่แท้จริงของวิสาหกิจชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของวิสาหกิจชุมชน สามารถนำมาเป็นแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้และนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานในอนาคต ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้คือ การที่จะพัฒนาระบบบัญชีให้ตรงกับความต้องการของวิสาหกิจชุมชนมากที่สุด จะต้องพิจารณาว่าการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไรและรับฟังความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนด้วย และการเพิ่มสัญญาลักษณ์รูปภาพ ลูกศรหรือวิธีการคำนวณเข้าไปในงบการเงินหรือสมุดบัญชีต่างๆถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านบัญชีสามารถเชื่อมโยงรายการต่างๆไปจัดทำงบการเงินได้ง่ายมากขึ้น ข้อเสนอแนะคือในการที่จะทำให้เกิดความร่วมมือในการอบรมหรือฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน ควรจะเริ่มด้วยการทำให้ผู้ร่วมปฏิบัติการจัดทำบัญชีหรือผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนเห็นประโยชน์ของการจัดทำบัญชีก่อน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการจัดทำบัญชีก่อให้เกิดความร่วมมือในหลายด้าน ทั้งด้านความร่วมมือในการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี และความร่วมมือในการบันทึกบัญชีอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานต่างๆที่สนับสนุนหรือผู้ที่ต้องการพัฒนาระบบบัญชีให้กับวิสาหกิจชุมชน ควรจะรับฟังความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนด้วย เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงระบบบัญชีให้ตรงกับความต้องการของวิสาหกิจชุมชนมากที่สุด การจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาในเรื่องของการไม่มีเวลาในการจัดทำบัญชี ซึ่งการแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจนให้แก่สมาชิกผู้ร่วมดำเนินงานหรือกรรมการแต่ละคน เพื่อรับผิดชอบในส่วนต่างๆของระบบบัญชี ก็จะช่วยให้ปัญหานี้ลดน้อยลงen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT268.48 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.56 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1252.74 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2385.96 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3259.13 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4637.78 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5411.81 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT230.32 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER571.27 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE250.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.