Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39720
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภราดร สุรีย์พงษ์-
dc.contributor.authorเจนจิรา ใจมั่งen_US
dc.date.accessioned2016-12-08T09:38:26Z-
dc.date.available2016-12-08T09:38:26Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39720-
dc.description.abstractIn a software development project, rearranging order of requirements before moving forward to the implementation phase is a challenging for software developers. Because requirement is the basic material for the rest of the software development process, therefore, if the core requirements are mistakenly identified, the software is developed in the wrong direction. It cannot meet the user expectation. Due to the user satisfaction is a measure of the quality of the software, so the software quality is dropped. In order to maximize the user satisfaction under constrain of budget, time and resources, the developers need to prioritize the requirement to identify the core requirements used in project planning. Although, there are many researchers studied on requirements prioritization, however the large scale of requirement- at least 100 requirements or more is one of the most significant current discussions in software engineering. This thesis investigates on designing a requirement prioritizing model to handle the large scale of requirements. This model aims to minimize effort and maximize the accuracy of priority sequence. There are 4 processes to study, including (1) To analyze and propose model, (2) To elicit a traditional prioritizing method, (3) To compare proposed method with traditional method and (4) To evaluate the result. In the first process, the literature review was conducted, and then designed the model. The proposed model composes of 5 steps. They are Priority grouping, Criteria weighting, Estimate requirement by criteria using Weigers’s method, calculate priority and sorting by Binary Search Tree. The second process aims to investigate on the traditional method and gathering the requirement list by interviewing the case study. The third process was implemented to compare the proposed model with the traditional method by designed experiment. The experiment is conducted in 2 software development projects. The first project is mobile application development with 118 requirements and the second project is web application development with 102 requirements. The expected result is effort evaluation. In the last process, One week after executed the experiment, the accuracy evaluation will be conducted. This experiment focuses on assessing the accuracy of priority sequence of requirements. All interviewee have to choose the most accurate sequence of requirements without realizing on which sequence is from which method (Blind Test). These findings further support the idea that the proposed model can minimize the consumed effort and maximize accuracy of the requirement priority sequence. Moreover, this integrated model can handle the large number of requirements. Based on experiment result, it is interesting to note that effort in all cases have been reduced more than 50%. Regarding the first project, not only the effort is reduced by 53.6%, 63.33% of interviewees from the first project believe that the proposed model provides more accuracy than the traditional one. According to the second project, 33.33% of interviewees from the second project believe that the proposed model provides more accuracy than the traditional one. Moreover, 59.16% of consumed effort for the second project is reduced dramatically.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการจัดลำดับen_US
dc.subjectความต้องการen_US
dc.titleแบบจำลองการจัดลำดับความต้องการก่อนหลังสำหรับความต้องการขนาดใหญ่en_US
dc.title.alternativeRequirements prioritization model for Large-Scale requirementsen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc005.3-
thailis.controlvocab.thashซอฟต์แวร์-
thailis.controlvocab.thashซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา-
thailis.manuscript.callnumberว 005.3 จ552บ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการก่อนนำไปสู่ขั้นตอนอื่นๆของการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากความต้องการเป็นวัตถุดิบพื้นฐานของกระบวนการที่เหลือของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ดังนั้นแล้วหากระบุความต้องการหลักผิด จะทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ผิดทิศทาง ไม่สามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้งานคือตัวชี้วัดคุณภาพของซอฟต์แวร์ ดังนั้นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาจึงมีคุณภาพต่ำ ดังนั้นเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าสูงสุด ภายใต้เงื่อนไขด้านเวลา งบประมาณ และทรัพยากรที่จำกัด นักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงต้องทำการจัดลำดับความต้องการก่อนหลังโดยการวิเคราะห์หาความต้องการหลักเพื่อใช้ในการลำดับการพัฒนาความต้องการต่อไป ถึงแม้ว่างานวิจัยหลายชิ้นได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการจัดลำดับความต้องการก่อนหลัง แต่สำหรับความต้องการขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึงความต้องการมากกว่า 100 ความต้องการขึ้นไป ยังเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกอภิปรายถึงความยุ่งยากซับซ้อนในปัจจุบัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษาการออกแบบแบบจำลองการจัดลำดับความต้องการก่อนหลังที่สามารถจัดการกับความต้องการขนาดใหญ่ได้ โดยที่แบบจำลองดังกล่าวสามารถลดค่าความพยายามและเพิ่มความถูกต้องของการเรียงลำดับความต้องการได้ โดยประกอบด้วยกระบวนการศึกษาทั้งหมด 4 กระบวนการได้แก่ (1) วิเคราะห์และนำเสนอแบบจำลองการจัดลำดับก่อนหลังสำหรับความต้องการขนาดใหญ่ (2) การศึกษาขั้นตอนการจัดลำดับความต้องการก่อนหลังแบบเดิม (3) ทดสอบเพื่อเปรียบเทียบการนำแบบจำลองไปใช้ และ (4) ประเมินผลหลังจากการนำแบบจำลองไปใช้ ในกระบวนการที่ 1 ทำการทบทวนวรรณกรรมเพื่อวิเคราะห์และนำเสนอแบบจำลอง โดยที่แบบจำลองที่ได้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักๆได้แก่ (1) นำความต้องการทั้งหมดมาแบ่งกลุ่มความต้องการด้วยเทคนิค Priority Grouping (2) ทำการให้นำหนักปัจจัยที่มีผลต่อการจำลำดับความต้องการก่อนหลัง จากนั้น (3) นำความต้องการมาให้คะแนนตามปัจจัยต่างๆตามหลักการของ Weigers’s Method หลังจากนั้น (4) นำค่าคะแนนที่ได้มาคำนวณค่าความสำคัญของความต้องการ (5) นำผลคะแนนที่ได้มาทำการเรียงลำดับโดยใช้เทคนิค Binary Search Tree ในกระบวนการที่ 2 ทำการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกโครงการที่ประกอบด้วยความต้องการขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาการจัดลำดับก่อนหลังแบบเดิมและทำรายการความต้องการ ในกระบวนการที่ 3 ทำการเปรียบเทียบแบบจำลองที่นำเสนอกับวิธีการเดิม โดยการนำแบบจำลองไปทดลองจัดลำดับความต้องการกับโครงการทั้งหมด 2 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 คือโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการดูแลธุรกิจบนโทรศัพท์ที่ประกอบด้วยความต้องการทั้งหมด 118 ความต้องการ และโครงการที่ 2 คือโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับประเมินพนักงานบนเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยความต้องการทั้งหมด 102 ความต้องการ โดยขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดค่าความพยายามในการจัดเรียงลำดับความต้องการ กระบวนการสุดท้ายทำการประเมินค่าความถูกต้องของการจัดลำดับความต้องการหลังจากการทดลองนำแบบจำลองไปใช้ประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ถูกสัมภาษณ์ทั้งหมดจะต้องเลือกลำดับที่ถูกต้องที่สุดของความต้องการโดยไม่ทราบว่าที่ลำดับนั้นได้จากวิธีการใดหรือที่เรียกว่าหลักการ Blind Test ผลจากการศึกษาพบว่าแบบจำลองที่นำเสนอสามารถช่วยลดค่าความพยายามและเพิ่มความถูกต้องในการจัดลำดับก่อนหลัง นอกจากนั้นแบบจำลองนี้ยังสามารถจัดการกับความต้องการขนาดใหญ่ได้อีกด้วย จากผลการทดลองพบว่าค่าความพยายามในทุกโครงการลดลงมากกว่าร้อยละ 50 โดยในโครงการแรกไม่เพียงค่าความพยายามลดลงถึงร้อยละ 53.6 แต่ร้อยละ 63.33 ของผู้ที่ทำการทดลองในโครงการแรกเชื่อว่าผลลัพธ์จากแบบจำลองมีความถูกต้องมากกว่าวิธีการเดิม ในส่วนโครงการที่สองนั้น ร้อยละ 33.33 ของผู้ที่ทำการทดลองเชื่อว่าผลลัพธ์จากแบบจำลองมีความถูกต้องมากกว่าวิธีการแบบเดิม อีกทั้งค่าความพยายามในการเรียงลำดับความต้องการของโครงการที่สองนั้นลดลงถึงร้อยละ 59.16 อีกด้วยen_US
Appears in Collections:CAMT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT189.68 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX916.88 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1363.34 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2835.49 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3537.93 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4727.19 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5935.1 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6224.29 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT190.72 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER727.4 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE172.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.