Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39683
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจนสมุทร แสงพันธ์-
dc.contributor.authorสิริพันธุ์ จันทราศรีen_US
dc.date.accessioned2016-12-07T05:28:48Z-
dc.date.available2016-12-07T05:28:48Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39683-
dc.description.abstractThe objectives of this qualitative research were to (1) analyze mathematical problem solving abilities of upper secondary school students in classroom taught by open approach and (2) investigate teaching practices for developing mathematical problem solving ability of upper secondary school students in classroom taught by open approach. The target group consisted of 30 Mathayom Suksa 5 students at Hotpittayakom School, Hot district, Chaing Mai Province during the second semester of the 2012 academic year. The researcher developed 12 probability lesson plans and implemented them in real classroom teaching. All classroom teaching-learning activities were videotaped and later on analyzed by means of the protocol analysis using Schoenfeld’s mathematical problem solving behavior framework as a reference. Concurrently, data from classroom observations and students’ written works were also summed up and used as an additional information to support the protocol analysis. The research results were then presented in the form of analytical narrative. The research findings showed that a so-called open approach did have positive impacts on both students’ problem solving ability and teacher’s teaching techniques. Based on the protocol analysis, the students had progressively developed the mathematical problem solving ability throughout the learning unit of probability and the researcher also to a large degree, successfully developed teaching practices through the 4 steps of open approach. As for the students’ mathematical problem solving ability on probability, their learning had gradually developed through six episodes of problem solving behaviors. Students read and understood open-ended problem situation, then explored the problem through trial and error strategy and surveyed some conditions or prior knowledge needed for solving the given problem situation. In step of students’ self learning, the episode of analysis emerged through the use of representations and some principles concerning probability to model the problem such as drawings, symbolizing, drawing tree diagrams and using the fundamental rule of counting. In addition, students often showed planning behavior through collaborative problem solving within their small groups. Finally, the students carefully implemented their plan to solve the problem and performed verification behaviors through reviewing and checking their problem solving processes and solutions. As for teaching practices, the followings were teaching techniques employed. Using open-ended problem situations to stimulate students’ interest in reading and understanding the given problems, providing appropriate time for students to solve the problem freely, using periodic questioning to stimulate students’ application and verification behaviors on their own efforts, observing and surveying students’ mathematical problem solving behaviors in order to check their progress and keep it in mental notes for preparing whole-class discussion and comparison, selecting and sequencing the students’ written works for purposive presentations. Moreover, in step of whole-class discussion and comparison, the teacher proposed important ideas of problem solving emerging in class and extended the ideas through teacher’s representations. To conclude each lesson, the teacher summarized today lesson through presenting rules or principles of probability which correspond to the students’ problem solving ideas occurred throughout that lesson.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectปัญหาทางคณิตศาสตร์en_US
dc.titleการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในชั้นเรียนที่สอนด้วยวิธีการแบบเปิดen_US
dc.title.alternativeDeveloping mathematical problem-solving ability of Upper Secondary School students in the classroom taught by open approachen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc510.712-
thailis.controlvocab.thashคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
thailis.controlvocab.thashคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน-
thailis.manuscript.callnumberว 510.712 ส373ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในชั้นเรียนที่สอนด้วยวิธีการแบบเปิด และ (2) ศึกษาวิธีการปฏิบัติในการสอนในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในชั้นเรียนที่สอนด้วยวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน ผู้วิจัยได้พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน และนำไปใช้ในห้องเรียนจริง ผู้วิจัยทำการบันทึกวีดิทัศน์การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โพรโทคอล ตามกรอบการวิเคราะห์พฤติกรรมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ Schoenfeld พร้อมกับนำข้อมูลจากการสังเกต และ งานเขียนของนักเรียนมาสรุปและใช้เป็นข้อมูลประกอบการทำการวิเคราะห์โพรโทคอล จากนั้นนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการแบบเปิดมีผลดีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนและเทคนิคการสอนของครู จากการวิเคราะห์โพรโทคอล นักเรียนพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องและดีขึ้นเรื่อยๆตลอดทั้งหน่วยการเรียนรู้เรื่องความน่าจะเป็น และผู้วิจัยพัฒนาวิธีการปฏิบัติในการสอนด้วยวิธีการแบบเปิดทั้ง 4 ขั้นตอนอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ สำหรับการพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหามีดังต่อไปนี้ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนได้พัฒนาผ่านกลุ่มพฤติกรรมทั้ง 6 กลุ่ม เริ่มต้นจากการแสดงพฤติกรรมการอ่านและการทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดที่กำหนดให้ จากนั้นจึงแสดงพฤติกรรมการสำรวจปัญหาโดยการลองผิดลองถูก การสำรวจเงื่อนไข หรือความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา ในขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนทำการวิเคราะห์ปัญหาด้วยการใช้การแสดงแทนและหลักการต่างๆ เกี่ยวกับความน่าจะเป็น ได้แก่ การวาดภาพ การใช้สัญลักษณ์ การใช้แผนภาพต้นไม้ และการใช้กฎการนับเบื้องต้น นอกจากนี้นักเรียนมักจะแสดงพฤติกรรมการวางแผนจากร่วมกันแก้ปัญหาในกลุ่มย่อย นักเรียนนำยุทธวิธีที่วางแผนไปใช้ในการแก้ปัญหาอย่างระมัดระวัง และแสดงพฤติกรรมการตรวจสอบการแก้ปัญหาผ่านการทบทวนและตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหาและคำตอบที่ได้ ในส่วนของวิธีการปฏิบัติในการสอนของครูประกอบไปด้วย การใช้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในการอ่านและการทำความเข้าใจปัญหาที่กำหนดให้ การกำหนดเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้นักเรียนแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ การใช้คำถามเป็นระยะๆในการกระตุ้นพฤติกรรมการนำไปใช้และการตรวจสอบด้วยตัวของนักเรียนเอง การสังเกตและสำรวจพฤติกรรมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเพื่อใช้ในการตรวจสอบความก้าวหน้า และการบันทึกการสังเกตเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการอภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน พร้อมทั้งเลือกและเรียงลำดับผลงานของนักเรียนเพื่อใช้ในการนำเสนอหน้าชั้นเรียนตามลำดับอย่างมีเป้าหมาย นอกจากนี้ ในขั้นการอภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน ครูนำเสนอแนวคิดที่สำคัญของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และขยายแนวคิดนั้นด้วยการใช้การแสดงแทนของครู ในแต่ละคาบเรียนครูสรุปบทเรียนด้วยการนำเสนอกฎหรือหลักการในเรื่องความน่าจะเป็นที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแนวคิดในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT258.61 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.82 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1323.95 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2647.91 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3415.08 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 42.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5332.1 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT246.25 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER853.4 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE320.81 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.