Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39635
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์อรพิณ สันติธีรากุล | - |
dc.contributor.author | ณัฐวิทย์ อิ่มมาก | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-10-12T09:23:19Z | - |
dc.date.available | 2016-10-12T09:23:19Z | - |
dc.date.issued | 2015-08 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39635 | - |
dc.description.abstract | The objective of this independent study was to obtain the opinions of dairy cattle farm owners in upper northern part of Thailand towards decision to join Good Agricultural Practices (GAP) and to gather information for the staff of the 5th Regional Livestock Office in order to encourage fairy farm owners in the upper northern part to join Good Agricultural Practices (GAP). The data was collected from 350 dairy farm owners in the ares. The samples were divided proportionally. The data was analysed using descriptive statistics, namely frequency, percentage, mean, T-test, and One-way ANOVA. It was found from the research that most questionnaire respondents had already joined Good Agricultural Practices. Most were married men, 41-50 years old with primary school education or lower. Most had been in dairy farm business for 5-10 years. Most started their own farms which were medium in size (20-100 cattle). The amount of raw milk they produced was 101-300 kilograms per day. They had 1-3 employees working in the farm. Their income was 50,000-100,000 baht per month. Their expenses were less than 50,000 baht per month. Their source of financial loans was Dairy Farm Cooperative. Of the 350 samples, 184 farms had joined Good Agricultural Practices, for 3-6 years. The first 3 reasons they joined Good Agricultural Practices were they got additional pay for raw milk from the centre, the cattle was in good health with no diseases, and the farm was more systematic in operation, respectively. The capital for the improvement to join Good Agricultural Practices was less than 100,000 baht. As for the farms that had not yet joined Good Agricultural Practices, their first 3 reasons for not joining were the capital needed for improvement of the farm was high, there was a problem with inappropriate farming areas, and the Livestock Office had complicated assessment process, respectively. They needed less than 100,000 baht in order to join Good Agricultural Practices. The overall opinions of the respondents towards Good Agricultural Practices was at the “agree” level. In details, the opinions were at the “highly agree” level towards the following factors: raw milk production, and water used in the farm. Their opinions were at the “agree” level for the following factors: cattle food, farm structure, environment, animal health, farm management, and information recording, respectively. The average mean of the difference in their opinions was at the statistical significance of 0.05, according to the differences in their farm status and farm size. The overall response to Good Agricultural Practices was a positive one. The respondents saw that they needed to upgrade their farms to the standard so that their cattle would be more healthy and yield more raw milk with better quality. The respondents’ opinions towards the operation of Livestock Office was that the process was too complicated and slow; this had to be improved. There was a shortage of veterinarians at the farms. Livestock Office should provide more veterinarians at the centre so that they could help farm owners with knowledge about dairy farm operation, animal food, environment management, animal health management, and treatment and disease control. Farm owners who had not joined Good Agricultural Practices had problem with capital to improve their farms. If they could find financial sources with low interest rate, more farm owners would join Good Agricultural Practices. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความคิดเห็นของผู้ประกอบการโคนมในพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบนต่อการเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม | en_US |
dc.title.alternative | Opinions of Dairy Cattle Farm in the Upper Northern Thailand Towards Adopting Good Agricultural Practices | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ประกอบการโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนต่อการเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนต่อการเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม และ เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 กรมปศุสัตว์ ในการวางแผนผลักดันให้ผู้ประกอบการโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม วิธีศึกษาได้ทำการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม โดยมีสถานที่เก็บข้อมูลคือ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 35 ศูนย์ จากผู้ประกอบการโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 350 ราย โดยทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 52.60 ได้เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มแล้ว เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41-50 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ระยะเวลาในการประกอบกิจการเลี้ยงโคนมมาแล้ว 5-10 ปี โดยเริ่มก่อตั้งฟาร์มด้วยตนเองเอง เป็นฟาร์มขนาดกลางมีโค 20-100 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ 101-300 กิโลกรัมต่อวัน มีคนที่ทำงานในฟาร์มทั้งหมด 1-3 คน มีรายได้จากการประกอบกิจการโคนม 50,000-100,000 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายจากการประกอบกิจการโคนม น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีแหล่งเงินเชื่อในการประกอบกิจการโคนม คือ สหกรณ์โคนม สำหรับฟาร์มที่เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มแล้ว จำนวน 184 ฟาร์ม ส่วนใหญ่ เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มมาแล้ว 3-6 ปี เหตุผลที่เข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม 3 ลำดับแรก คือ ได้รับค่าน้ำนมดิบเพิ่มจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ทำให้โคนมมีสุขภาพดี ปลอดโรค และ การเลี้ยงโคนมมีระบบมากยิ่งขึ้น ตามลำดับ เงินลงทุนเพื่อปรับปรุงให้ผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มใช้ น้อยกว่า 100,000 บาท สำหรับฟาร์มที่ยังไม่เข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม มีเหตุผลที่ยังไม่ขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม 3 ลำดับแรก เพราะ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รองลงมาคือ มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่การเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม และขั้นตอนในการตรวจประเมินของกรมปศุสัตว์มีความยุ่งยาก ตามลำดับ หากจะเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มต้องใช้เงินลงทุนเพื่อปรับปรุงให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน น้อยกว่า 100,000 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อมาตรฐานฟาร์มโคนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ในรายละเอียด พบว่า ผู้ประกอบการฟาร์มโคนม มีความระดับความคิดเห็น ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ในมาตรฐานฟาร์มด้านการผลิตน้ำนมดิบ ด้านน้ำใช้ในฟาร์ม และในระดับเห็นด้วย ในมาตรฐานฟาร์ม ด้านสวัสดิภาพสัตว์ ด้านอาหารสำหรับโค ด้านองค์ประกอบฟาร์ม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพสัตว์ ด้านการจัดการฟาร์ม และด้านการบันทึกข้อมูล ตามลำดับ สำหรับค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 โดยจำแนกตามสถานะฟาร์ม และ ขนาดของฟาร์ม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่า การเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม มีความจำเป็นในการพัฒนาฟาร์มให้มีระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้โคนมมีสุขภาพดี น้ำนมดิบที่ได้จะมีปริมาณที่มากขึ้นและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ในการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์นั้น มีกระบวนการที่ยุ่งยาก ล่าช้า ควรมีการปรับปรุงให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สำหรับสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ยังขาดแคลนเป็นจำนวนมาก กรมปศุสัตว์ หรือสหกรณ์โคนม/บริษัท ควรจัดให้มีสัตวแพทย์ประจำศูนย์ เพื่อมาช่วยดูแล ทั้งในด้านขององค์ความรู้ในการเลี้ยงโคนมที่ถูกต้อง การจัดการอาหาร การจัดการสิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพสัตว์ การรักษาและการป้องกันโรค เป็นต้น สำหรับผู้ประกอบการฟาร์มโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ยังไม่เข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม ส่วนใหญ่แล้ว มีปัญหาด้านเงินทุนในการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟาร์มให้ได้มาตรฐานฟาร์ม หากมีแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ มาช่วยในการสนับสนุน ก็จะทำให้มีฟาร์มเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มเพิ่มมากขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 183.7 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 388.18 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.