Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39583
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ชูศรี เที้ยศิริเพชร-
dc.contributor.authorเจนจิรา คำมาen_US
dc.date.accessioned2016-09-28T07:37:52Z-
dc.date.available2016-09-28T07:37:52Z-
dc.date.issued2557-12-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39583-
dc.description.abstractThe objective of this independent study was to evaluate the implementation of the computer accounting system for Local Administrative Organizations (or Local Administrative Accounting System – LAAS) of Sub-district Municipalities in Mueang Chiang Mai District. Data were collected via distributing the questionnaires to the personnel or staff of Sub-district Municipalities in Mueang Chiang Mai District that are using computer accounting system for Local Administrative Organizations (e-LAAS). The participants were 88 staff members from 8 Sub-district Municipalities and 82 of the questionnaires were returned, representing 93.18 percent. The data collection asked for the implementation of the Computer Accounting System for Local Administrative Organizations or e-LAAS, the budget and revenue system, expenditure information system and accounting system. The data showed the problems and obstacles and the factors affecting success of using e-LAAS. The results of the study revealed that the most respondents were female, aged between 30-39 years old, most of them graduated with a Bachelor of Accounting, Finance and Treasury, hold financial and accounting positions, length of employment is over 5-10 years, most have been trained, have the experience of using the e-LAAS system at least 2-4 years and they are fluent in Microsoft Excel. There are a several staff members whose have used another accounting system program, for example, Express Program; this program is also based on the e-LAAS system, but primarily focused on expenditures. The findings also indicated that each sub-district municipalities it has enough good computers, professional financial and treasury personnel to perform in financial and budgets operations. The evaluation results of implementation showed that most staff members able to work on revenue information system and for another system including the budget system that they can perform at a high level but the municipal secretary and the policy and planning analyst staff can perform better than the finance and accounting staff. For the revenue information system, staff members can perform at a high level which the revenue collection staff can perform better than the financial and accounting staff. For the expenditure information system, staff members can perform at a high level and the procurement officer position can perform better than the financial and accounting staff. And for the accounting system, staff members can perform at a high level and the best performance is the financial and accounting staff. The study showed the overall problems and obstacles in using the e-LAAS came from four factors which were: personnel, technology, processes and guidelines but mostly were from technology problems. The 6 main factors affecting the success of using the e-LAAS system were the importance of the accounting system, personnel, maintenance and support, supplies, guidelines and especially the internal work control procedures.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการบัญชีen_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่นen_US
dc.titleการประเมินผลการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในอำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEvaluation of implementing computer accounting system for local administrative organizations, sub-district municipalities in Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc657-
thailis.controlvocab.thashการบัญชี-
thailis.controlvocab.thashการปกครองท้องถิ่น -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 657 จ552ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Administrative Accounting System – LAAS) ของเทศบาลตำบลในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามให้แก่บุคลากรของเทศบาลตำบลในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ที่ใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ในการปฏิบัติงาน ทั้งหมด 8 เทศบาล จำนวน 88 คน และได้รับคืนแบบสอบถาม จำนวน 82 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.18 โดยศึกษาถึงผลการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ปัญหาเกี่ยวกับระบบงานคลังและงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำระบบบัญชีคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) มาใช้ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยระหว่าง 30-39 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาการบัญชี การเงิน การคลัง ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีอายุการทำงานระหว่าง 5-10 ปี มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้วยระบบ e-LAAS ระหว่าง 2-4 ปี เคยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับระบบ e-LAAS มากกว่า 2 ครั้ง สามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel ไม่เคยใช้โปรแกรมบัญชีอื่นนอกเหนือจากระบบ e-LAAS ส่วนผู้ที่เคยใช้โปรแกรมบัญชีอื่นจะเคยใช้โปรแกรม Express มีหน้าที่การใช้งานบนระบบ e-LAAS คือระบบรายจ่ายเป็นส่วนใหญ่ มีคอมพิวเตอร์และผู้ปฏิบัติงานด้านการคลังในหน่วยงานเพียงพอต่อการปฏิบัติงานและสามารถปฏิบัติงานด้านการคลังและงบประมาณแทนกันได้ ส่วนระบบอื่นที่สามารถทำได้นอกเหนือจากระบบที่ตนเองรับผิดชอบ คือระบบงบประมาณ ผลการประเมินพบว่าผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานบนระบบข้อมูลรายรับได้มากที่สุด และระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบงบประมาณ ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ในระดับมาก โดยตำแหน่งปลัดเทศบาลและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนสามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ส่วนระบบข้อมูลรายรับ ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ในระดับมาก โดยตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้สามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สำหรับระบบข้อมูลรายจ่าย ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ในระดับมาก โดยตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุสามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี และระบบบัญชี ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ในระดับมาก โดยตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีสามารถปฏิบัติงานได้ดีที่สุด ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการนำระบบบัญชีคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) มาใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยี ด้านกระบวนการทำงานของระบบ และด้านคู่มือโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหาด้านเทคโนโลยีมากที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำระบบบัญชีคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) มาใช้ โดยรวมให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบบัญชี ด้านบุคลากร ด้านการบำรุงรักษาและให้ความช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ ด้านคู่มือในการปฏิบัติงาน และด้านการควบคุมภายใน โดยมีความเห็นว่าด้านการควบคุมภายในมีผลต่อความสำเร็จมากที่สุดen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)180.43 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract249.08 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.