Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39546
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.มนทิพย์ ตั้งเอกจิต-
dc.contributor.authorวีรนันท์ พาวดีen_US
dc.date.accessioned2016-09-28T03:31:43Z-
dc.date.available2016-09-28T03:31:43Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39546-
dc.description.abstractThis independent study was aimed to study the cost and return on products from local woven cloth with Phukhao of the sewing group in Ban San Luang, San Sai District, Chiang Mai Province. Data collection was based on the questionnaire regarded as the guidelines for an interview with the committee and members of the sewing group in Ban San Luang. This also included an observation of the operation and production procedures of local woven cloth with Phukhao. The results indicated that the sewing group in Ban San Luang is the community enterprise which gathers San Na Meng’s villagers with weaving and sewing skills. Currently, there are totally 27 members, mostly aged between 40-49 years, with the main occupation of local cloth weaving handed down by parents and ancestors in terms of knowledge and techniques. The operation of this sewing group was divided into three sections; dyeing, weaving, and sewing. Products of local woven cloth with Phukhao were men’s clothes, women’s clothes, women’s dresses, and wrap-around skirts. The cost of local woven cloth with Phukhao demonstrated the highest proportion of direct labor, accounting for 63.87 percent of the average production cost, was mainly in the weaving section, sewing section, and dyeing section, respectively. The cost of direct materials and manufacturing overhead accounted for 33.24 percent and 2.89 percent of the average production cost. With respect to the production cost per cloth, it was found that women’s dresses showed the highest cost averagely at 1,246.73 Baht, wrap-around skirts averagely at 974.94 Baht, women’s clothes averagely at 794.83 Baht, and men’s clothes averagely at 629.32 Baht. Local woven cloth with Phukhao in Chiang Mai was sold and distributed at Sunday Walking Street and Chiang Mai City Hall. Distribution to other provinces was subject to the customer’s orders e.g. in Lamphun, Lampang, Uthai Thani, and Bangkok. Women’s clothes reached the highest volumes of sales. However, an analysis of gross profit margin discovered that this community enterprise gained its gross profit margin at 13.40 percent of sales volumes. The product with the highest gross profit margin was men’s clothes. The net profit margin accounted for 11.98 percent of sales volumes. Overall, the business of local woven cloth with Phukhao was therefore regarded as the business with profitability, no high cost of investment, no complex procedure of production but a requirement for weaving and sewing skills.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectต้นทุนการผลิตen_US
dc.subjectอัตราผลตอบแทนen_US
dc.titleต้นทุนและผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขาของกลุ่มเย็บผ้าบ้านสันหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeCost and return on products from local woven cloth with phukhao of sewing group in Ban San Luang, San Sai District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc658.1552-
thailis.controlvocab.thashต้นทุนการผลิต-
thailis.controlvocab.thashอัตราผลตอบแทน-
thailis.controlvocab.thashผ้า -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashสิ่งทอ -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 658.1552 ว375ต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขาของกลุ่มเย็บผ้าบ้านสันหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มเย็บผ้าบ้านสันหลวง ตลอดจนทำการสังเกตการณ์ลักษณะการดำเนินงาน และขั้นตอนการผลิตของผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเย็บผ้าบ้านสันหลวงเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้านสันนาเม็งที่มีความสามารถในการทอผ้าและตัดเย็บ โดยปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 27 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 40-49 ปี ประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองเป็นอาชีพหลักโดยได้รับความรู้และเทคนิคจากพ่อแม่และบรรพบุรุษ ลักษณะการดำเนินงานของกลุ่มเย็บผ้าบ้านสันหลวงแบ่งเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกย้อม แผนกทอ และแผนกตัดเย็บ โดยผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขา ประกอบด้วยเสื้อบุรุษ เสื้อสตรี ชุดสตรี และผ้าซิ่น โดยต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขามีสัดส่วนค่าแรงงานทางตรงสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 63.87 ของต้นทุนการผลิตโดยประมาณ ส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานในแผนกทอ รองลงมาคือ ค่าแรงงานในแผนกตัดเย็บ และแผนกย้อม ตามลำดับ ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต คิดเป็น ร้อยละ 33.24 และ 2.89 ของต้นทุนการผลิต โดยประมาณ เมื่อคิดเป็นต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อตัว พบว่า ชุดสตรีมีต้นทุนในการผลิตสูงสุด ราคาเฉลี่ยตัวละ 1,246.73 บาท รองลงมา คือ ผ้าซิ่น ราคาเฉลี่ยตัวละ 974.94 บาท เสื้อสตรี ราคาเฉลี่ยตัวละ 794.83 บาท และเสื้อบุรุษ ราคาเฉลี่ย ตัวละ 629.32 บาท ส่วนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขาในจังหวัดเชียงใหม่ จะมีการจัดจำหน่ายที่ถนนคนเดินวันอาทิตย์และศาลากลางในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งมีการจัดจำหน่ายไปยังจังหวัดอื่นๆ ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เช่น ลำพูน ลำปาง อุทัยธานี และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น โดยเสื้อสตรีจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการจำหน่ายสูงสุด แต่จากการวิเคราะห์อัตรากำไรขั้นต้น พบว่า วิสาหกิจชุมชนนี้มีอัตรากำไรขั้นต้น คิดเป็นร้อยละ 13.40 ของยอดขาย โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงสุด คือ เสื้อบุรุษ ส่วนอัตรากำไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ 11.98 ของยอดขาย ดังนั้น ในภาพรวมแล้วธุรกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขา นับว่าเป็นธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไร มีจำนวนเงินลงทุนไม่สูงนัก กระบวนการในการผลิตไม่ซับซ้อนแต่ต้องมีทักษะในการทอผ้าและตัดเย็บen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract176.91 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract245.3 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.