Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39355
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์อรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorปรางทิพย์ อภิชาชาญen_US
dc.date.accessioned2016-07-05T02:59:41Z-
dc.date.available2016-07-05T02:59:41Z-
dc.date.issued2558-03-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39355-
dc.description.abstractThe objective of this independent study was to study happiness at work of employees at Akara Mining Company Limited, Phichit Province. The data from this study was collected from 365 employees at Akara Mining Company Limited. The tool to collect the data was a self-administered questionnaires which consisted of questionnaire for general information, questionnaire on happiness at work, questionnaire on the level of potentiality and capacity to work to the fullest level, and questionnaire on happiness at work and work result. The data was analyzed using statistics, namely frequency, percentage, mean, T-test, One-way Anova, Least Significant Difference and Linear Regression. The results of the study showed that most employees were female, 36-40 years old, married, with education below Bachelor’s degree. Their work experience and work period were not more than 5 years. Most of them were general staff. The opinion of the employees towards factors for happiness at work was at the “agree” level, and the employees ranked the 5 factors in the following order: reliability, conviction, organisational culture, and confidence. They ranked work at the “somewhat agree” level. From Linear Regression analysis to establish the relationship between the factors affecting happiness at work and important characteristics that created happiness, it was found that all factors affecting happiness at work were generally related to important characteristics that created happiness, with reliability showed the most prediction capability. The other factors were work result, organisational culture, and confidence, respectively. It was also found that the relationship between 3 important characteristics that created happiness and the level of potentiality and capability to work to the fullest level was positive.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด จังหวัดพิจิตรen_US
dc.title.alternativeHappiness at Work of Employees at Akara Mining Company Limited, Phichit Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด (เหมืองแร่ทองคำชาตรี) อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยทำการเก็บข้อมูลจากกพนักงานบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง (Self – Administered Questionnaire) ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามระดับความคิดเห็นการทำงานอย่างมีความสุข แบบสอบถามระดับของศักยภาพและสมรรถนะในการทำงานให้ถึงจุดสูงสุดได้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของการทำงานอย่างมีความสุขและผลิตภาพในการทำงาน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามกับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความสุขในการทำงาน โดยใช้การแจกแจงแบบที (T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Fisher’s Least Significant Difference, LSD) และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression) จากการศึกษา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36 – 40 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงานและอายุงาน ไม่เกิน 5 ปี และมีตำแหน่งเป็นพนักงานทั่วไป จากการศึกษาปัจจัยความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานอย่างมีความสุขทั้ง 5 ด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านความเชื่อมั่น ด้านความผูกพันต่องาน ด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านความมั่นใจ อยู่ในระดับเห็นด้วย ยกเว้นด้านผลงาน ที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย ตามลำดับ จากการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบเชิงเส้น เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานอย่างมีความสุข กับคุณลักษณะที่มีความสำคัญต่อความสุขในการทำงานของบุคคลในภาพรวม พบว่า ปัจจัยความสุขในการทำงานทุกด้านมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะที่มีความสำคัญต่อความสุขในการทำงานของบุคคลในภาพรวม โดยปัจจัยด้านความเชื่อมั่นมีน้ำหนักในการพยากรณ์มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลงาน ด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านความมั่นใจ และจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะสำคัญที่มีความสำคัญต่อความสุขในการทำงานของบุคคลในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน กับระดับของศักยภาพและสมรรถนะในการทำงานให้ถึงจุดสูงสุดได้ พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อกันen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docxAbstract (words)175.05 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract275.15 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.