Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/208
Title: สถาบันพระมหากษัตริย์กับกระบวนการสร้างรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีว่าด้วยการรัฐประหาร
Other Titles: Thai monarch and the process of creating customary constitution on coup d'etat
Authors: นิฐิณี ทองแท้
Authors: สมชาย ปรีชาศิลปกุล
นิฐิณี ทองแท้
Issue Date: May-2555
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555
Abstract: งานวิทยานิพนธ์นี้ทำการศึกษาถึงการรัฐประหารที่เกิดขึ้นทั้ง 12 ครั้งโดยพิจารณาจากบทบาทความสัมพันธ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการรัฐประหารที่เกิดขึ้นและข้อถกเถียงทางกฎหมายที่เกิดขึ้นต่อการรัฐประหาร จากการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการรัฐประหารได้ 3 ช่วงเวลา ดังนี้ คือ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2475-2500 ซึ่งเป็นช่วงการรัฐประหารก่อนการก่อตัวเป็นรูปแบบจารีตประเพณี ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2501-พ.ศ.2516 การรัฐประหารในช่วงที่ก่อตัวเป็นจารีตประเพณี ช่วงที่ 3 พ.ศ.2517-พ.ศ.2549 การรัฐประหารตามจารีตประเพณี ช่วงที่ 1 ช่วงการรัฐประหารก่อนการก่อตัวเป็นรูปแบบจารีตประเพณี เป็นช่วงเวลาที่การรัฐประหารยังไม่ปรากฎรูปแบบความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่แน่ชัด เนื้องจากเป็นช่วงที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน คณะผู้ก่อการรัฐประหารยังไม่มีรูปแบบหรือแนวทางในการรัฐประหารที่ชัดเจน ช่วงที่ 2 การรัฐประหารในช่วงที่ก่อตัวเป็นจารีตประเพณี เป็นช่วงเวลาที่การรัฐประหารเริ่มก่อตัวเป็นรูปแบบจารีตประเพณีที่ชัดเจน และเริ่มมีความสัมพันธืกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างความชอบธรรมให้กับคณะผู้ก่อการรัฐระหาร จนนำไปสู่การสร้างจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญของการรัฐประหารที่ชัดเจน โดยเริ่มจากการรัฐประหารและนำไปสู่การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์เพื่อถวายรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่คณะรัฐประหารได้เตรียมมา ช่วงที่ 3 การรัฐประหารตามจารีตประเพณี ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่การรัฐประหารตามรูปแบบที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป โดยสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างให้การรัฐประหารได้รับการยอมรับและมีรูปแบบการรัฐประหารที่กลายเป็นรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ในบทสรุปจะแสดงให้เห็นว่าการรัฐประหารได้มีการพัฒนารูปแบบของการรัฐประหารมาอย่างช้าๆ จนในที่สุดก็ปรากฎรูปแบบของการรัฐประหารที่ชัดเจน โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นรัฐธรมนูญจารีตประเพณีที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/208
Appears in Collections:SOC: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.