Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/200
Title: บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการเลือกตั้งระดับชาติ และท้องถิ่น อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Role of local leaders in general elections and local elections, Prasard Districts, Surin Province
Authors: เดชา คำเกิด
Authors: เดชา คำเกิด
Issue Date: 2555
Publisher: กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554
Abstract: การศึกษาการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการเลือกตั้งต่อประชาชนในเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาถึงวิธีการที่ผู้นำท้องถิ่นเข้าไปมีบทบาท และอิทธิพลต่อประชาชนในชุมชนในเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้นำท้องถิ่น ในเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ วิธีการศึกษาที่ใช้คือ ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม และทำการสอบถามจากการสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้นำท้องถิ่น ซึ่งแบ่งเป้นผู้นำที่ทางการ และผู้นำที่ไม่เป็นทางการ 2) กลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจาก 18 ในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ รวมจำนวน 288 คน จากประชากรทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการพิจารณาตัดสินใจเลือกตั้ง ส.ส. และท้องถิ่น ซึ่งทำการตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง โดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถมากกว่าการเลือกตามเบอร์ที่เอาเงินมา และประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครจากแหล่งข้อมูลจากโปสเตอร์ ใบปลิวที่มาติดในหมู่บ้านมากกว่าแหล่งข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งประชาชนมีความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับคำกล่าวว่า "ผู้นำท้องถิ่น คือหัวคะแนนของผุ้สมัครรับเลือกตั้งเป้นส.ส. ส.จ. และอ.บ.ต." และไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า "ผู้นำท้องถิ่นมีส่วนร่วมที่สำคัญมากที่สุดในการช่วยเหลือผู้สมัครให้ได้รับการเลือกตั้ง ส.ส. ส.จ. และอ.บ.ต." ทั้งนี้ประชาชนต่างให้ความสนใจ และติดตามข่าวสารมากขึ้น เพื่อหวังที่จะให้เห้นการเมืองไทยที่สมบูรณ์ เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ก็ยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกกังวล และเป็นห่วงกับการเลือกตั้งครั้งนี้ บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการเลือกตั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่ากลุ่มผู้นำที่เป็นทางการมีบทบาทที่สำคัญมาก เนื่องจากต้องดำรงตนเป็นกลาง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความโปร่งใส และยุติธรรม ประกอบกับในฐานะที่เป็นผู้นำท้องถิ่นต้องถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ อย่างเคร่งครัด คอยกำกับดูแล รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ไม่ให้บุคคลภายนอก เข้ามาก่อเหตุในพื้นที่ในคืนก่อนการเลือกตั้ง โดยจะขอร้องในกลุ่มเครือญาติกันก่อน สร้างแรงจูงใจในประชาชนรู้สึกถึงแนวนโยบาย หรือสิ่งที่ตนจะได้รับ คนเหล่านี้นับว่าเป็นคนกลางที่จะเชื่อมผู้ลงคะแนนกับผู้สมัครเข้าหากันได้ คนกลางจึงมักจะเป็นกลุ่มผู้นำท้องถิ่น ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งอาศัยช่องทางนี้ ติดต่อกับกลุ่มผู้นำท้องถิ่นในการระดมคะแนนเสียงชักชวนให้ประชาชนลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองนั้นๆ วิธีการที่ผู้นำท้องถิ่นเข้าไปมีบทบาท และอิทธิพลต่อประชาชนในชุมชน พบว่าการจุงใจให้ประชาชนตัดสินใจ ลงคะแนนเสียงให้พรรคใดพรรคหนึ่ง ส่วนใหญ่จะขึ้นกับหัวคะแนนเป็นสำคัญ ประชาชนจะฟังหัวคะแนนมากกว่าการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ทำให้ผู้ที่เป็นหัวคะแนนจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก และหัวคะแนนส่วนมากมักจะเป็นกลุ่มผู้นำท้องถิ่น ผู้ลงคะแนนเสียงมักจะมีหลักเกณฑ์ ให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับการเลือกตั้ง โดยจะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สอดคล้องกับค่านิยมของตนเองมากที่สุด ผู้ลงคะแนนเสียงบางคนอาจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามอิทธิพลของสิ่งของเงินทองที่ได้รับจากหัวคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้นำท้องถิ่น พบว่า กลุ่มผู้นำท้องถิ่นยังคงขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสำคัญ วิธีการของการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้นำที่ท้องถิ่นแบบไม่เป้นทางการ ยังคงพบว่าตนเองไม่ได้เข้าไปมีบทบาท และมีหน้าที่ที่ต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง หน้าที่ของตนเป็นเพียงแต่การเข้าไปใช้สิทธิในการกากบาทเลือกเท่านั้น รวมทั้งปัญหาผู้นำท้องถิ่น ไม่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการ จึงไม่รู้ว่าควรจะลำดับความสำคัญก่อนหลังของการเลือกตั้ง ส่วนผู้นำท้องถิ่นแบบเป็นทางการ พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาระบบอุปถัมภ์แบบไทยๆ จะปรากฎอยู่ในส่วนของการบริหารงานบุคคลในท้องถิ่น ที่มักจะเป็นลูกหลานของนักการเมือง หัวคะแนน การปฏิบัติงานในบางเรื่องต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบต่อคนกลุ่มนี้ ผู้วิจัยเสนอว่า ภาครัฐควรมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมื่อง ในการแสดงออกในการใช้สิทธิออกเสียงให้มากที่สุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาวิธีป้องกันการซื้อเสียง ขายเสียงอย่างจริงจัง มีการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด มีการตรวจสอบอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะประเด็นการซื้อ ขายเสียง ควรให้การศึกษาแก่ประชาชน โดยการปลูกฝังและสร้างสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยทำต่อเนื่องตั้งแต่การศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองและเข้าใจว่าเป็นสิทธิและหน้าที่
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/200
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
poli30955dk_tpg.pdfบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการเลือกตั้งระดับชาติ และท้องถิ่น อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์1.88 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_abs.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_con.pdf945 kBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_ch1.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_ch2.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_ch3.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_ch4.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_ch5.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_bib.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
poli30955dk_app.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.