Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80228
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมชาย ปรีชาศิลปกุล | - |
dc.contributor.author | กนกพร จันทร์พลอย | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-21T10:39:29Z | - |
dc.date.available | 2024-11-21T10:39:29Z | - |
dc.date.issued | 2024-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80228 | - |
dc.description.abstract | In 2014, the media industry faced significant layoffs when the "digital TV bubble burst," leading to a reduction in the number of employees. The traditional media industry shifted to an online format, increasingly hiring unstable labor, particularly freelancers. Concurrently, the number of online alternative media outlets grew during the political era of dictatorship post-2014. This period saw the rise of individuals eager to address political, social, and democratic issues, taking on roles as both media creators and freelancers in online alternative media. These roles are intertwined with shared emotions and ideologies, yet existing labor laws inadequately protect this new class of workers. This research aims to explore the employment conditions and creative ownership rights of freelancers through their experiences in the online alternative media sector. Additionally, it examines employment practices and perspectives on creative ownership rights from the viewpoint of online alternative media entrepreneurs. The study utilizes document-based research, analyzing the evolution of labor laws over different eras, and conducts interviews with freelancers and online alternative media entrepreneurs to understand the nature of employment and perceptions of creative ownership. A review of Thai labor laws reveals that they have evolved in response to changing economic, social, and political contexts. Consequently, current labor laws fail to protect the new types of labor that have emerged. Interviews with eight freelancers in online alternative media reveal that employment often involves verbal agreements without written contracts, creating ambiguity and uncertainty regarding compensation and creative ownership rights. This leads to varied perspectives and awareness among freelancers concerning their rights to their creative works. Further interviews with nine online alternative media entrepreneurs, managing both for-profit and non-profit outlets, indicate that freelance employment is largely based on social networks, trust, capabilities, and shared ideologies. This significantly influences the employment model. Both types of media outlets offer similar compensation standards to freelancers, with verbal contracts and no written agreements, resulting in unclear creative ownership rights. This ambiguity affects the protection of creative works and leads to differing understandings of copyright issues. This research found that the freelance employment model in online alternative media highlights a complex relationship between freelancers and entrepreneurs, one that transcends the specifications of standard employment contracts. This relationship is deeply rooted in "friendship and ideology," subtly masking "exploitation" and directly impacting the feasibility of enforcing legal or contractual employment agreements effectively. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | มิตรภาพ อุดมการณ์ และการขูดรีด: การจ้างงานฟรีแลนซ์ ในสื่อทางเลือกออนไลน์ | en_US |
dc.title.alternative | Friendship, ideology, and exploitation: freelance employment in online alternative media | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | กฎหมายแรงงาน | - |
thailis.controlvocab.thash | ทรัพย์สินทางปัญญา | - |
thailis.controlvocab.thash | ลิขสิทธิ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | สื่อสังคมออนไลน์ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ด้วยสถานการณ์เลิกจ้างครั้งสำคัญในวงการสื่อมวลชน เมื่อปี พ.ศ. 2557 ครั้ง “ฟองสบู่ทีวีดิจิทัลแตก” ทำให้มีการลดจำนวนของพนักงานลง อุตสาหกรรมสื่อเดิมปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบสื่อออนไลน์และหันมาจ้างแรงงานแบบไม่มั่นคง โดยเฉพาะรูปแบบ “ฟรีแลนซ์” ประกอบกับสื่อทางเลือกออนไลน์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงการเมืองยุคเผด็จการ หลังพ.ศ. 2557 ทำให้เกิดกลุ่มคนที่อยากสื่อสารประเด็นการเมือง สังคม ประชาธิปไตย ออกมาขับเคลื่อนทั้งในบทบาทคนทำสื่อและบทบาทการเป็นฟรีแลนซ์ในสื่อทางเลือกออนไลน์ซึ่งสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึก อุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็พบว่ากฎหมายที่มีความสัมพันธ์หรือคุ้มครองสิทธิของแรงงานในลักษณะใหม่กลับไม่เอื้อต่อคนกลุ่มนี้ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาประเด็นการจ้างงานและสิทธิในการเป็นเจ้าของผลงานสร้างสรรค์ของฟรีแลนซ์ ผ่านประสบการณ์ของคนทำงานฟรีแลนซ์ในแวดวงสื่อทางเลือกออนไลน์ รวมถึงศึกษาการจ้างงานและมุมมองต่อเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของผลงานสร้างสรรค์ผ่านผู้ประกอบการสื่อทางเลือกออนไลน์ ผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาพลวัตของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานในแต่ละยุค และการสัมภาษณ์ฟรีแลนซ์และผู้ประกอบการสื่อทางเลือกออนไลน์ถึงลักษณะการจ้างงาน และสำนึกต่อความเป็นเจ้าของในผลงานสร้างสรรค์ จากการศึกษากฎหมายแรงงานของไทย พบว่ากฎหมายแรงงานแต่ละยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายในแต่ละช่วงเกิดขึ้นและตอบปัญหาของแต่ละยุคสมัย เมื่อมีสภาพบริบทของแรงงานที่เปลี่ยนไป ทำให้กฎหมายแรงงานปัจจุบันไม่สามารถคุ้มครองกลุ่มแรงงานลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นได้ จากการสัมภาษณ์ฟรีแลนซ์ในสื่อทางเลือกออนไลน์จำนวน 8 คน ผู้วิจัยพบว่าลักษณะการจ้างงานมีรูปแบบการทำสัญญาแบบวาจา ไม่มีลายลักษณ์อักษร สร้างความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน รวมถึงระยะเวลาการได้รับค่าตอบแทนและค่าตอบแทนที่ได้ไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน และการไม่มีสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ ทำให้ฟรีแลนซ์แต่ละคนมีมุมมองหรือสำนึกที่แตกต่างกันในเรื่องสิทธิในผลงานสร้างสรรค์ กรณีผู้ประกอบการสื่อทางเลือกออนไลน์ ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์สื่อทางเลือกออนไลน์ จำนวน 9 สื่อ ที่เผชิญสภาวการณ์อุตสาหกรรมสื่อที่ต้องอยู่รอดด้วยการบริหารจัดการสื่อผ่าน 2 รูปแบบคือ สื่อทางเลือกออนไลน์ประเภทแสวงหาผลกำไร และสื่อทางเลือกออนไลน์ประเภทไม่แสวงหาผลกำไร พบว่าการจ้างงานฟรีแลนซ์เกิดจากเครือข่ายทางสังคม ความสัมพันธ์บนฐานความเชื่อใจ มีความสามารถและมีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน ส่งผลต่อรูปแบบการจ้างงานของฟรีแลนซ์ สื่อทางเลือกออนไลน์ทั้งสองประเภทมีค่าตอบแทนฟรีแลนซ์นั้นมีมาตรฐานเทียบเท่ากัน มีสัญญาจ้างฟรีแลนซ์แบบปากเปล่า ไม่มีสัญญาแบบลายลักษณ์อักษร ส่งผลสิทธิในงานสร้างสรรค์ของฟรีแลนซ์ที่ไม่ชัดเจน ทำให้การคุ้มครองผลงานสร้างสรรค์มีความคลุมเครือ และมีเข้าใจต่อเรื่องลิขสิทธิ์ที่แตกต่างกัน จากรูปแบบการจ้างงานฟรีแลนซ์ในสื่อทางเลือกออนไลน์ในฐานะลูกจ้างนั้นสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างฟรีแลนซ์กับผู้ประกอบการในสื่อทางเลือกออนไลน์ในฐานะผู้ว่าจ้างนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าที่จะระบุไว้ในสัญญาการจ้างงานธรรมดาได้ เพราะการเกิดขึ้นของฟรีแลนซ์และผู้ว่าจ้างในสื่อทางเลือกออนไลน์วางอยู่บนความสัมพันธ์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย “มิตรภาพและอุดมการณ์” ซึ่งทำให้เกิดการ “ขูดรีด” ซ่อนอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างแนบเนียนและส่งผลโดยตรงต่อการที่ไม่สามารถที่จะทำกฎหมายหรือสัญญาการว่าจ้างมาใช้อย่างจริงจังได้ | en_US |
Appears in Collections: | LAW: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
622032001-กนกพร จันทร์พลอย.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.