Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80190
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชรินทร์ มั่งคั่ง | - |
dc.contributor.advisor | แสวง แสนบุตร | - |
dc.contributor.author | เนตรชนก แก้วดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-19T01:18:42Z | - |
dc.date.available | 2024-11-19T01:18:42Z | - |
dc.date.issued | 2024-08-31 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80190 | - |
dc.description.abstract | This research aims to 1) investigate the concept of innovative economic education based on computational thinking to enhance financial literacy among upper secondary school students; 2) develop an innovative approach to teaching economics using computational thinking to improve financial literacy among upper secondary school students; and 3) evaluate the effectiveness of this approach in promoting financial literacy among upper secondary school students by utilizing Classroom Action Research (CAR) methodology. A simple random sampling method was employed to select 48 students from Mattayom 5/10. The research tools included 1) a document analysis form, 2) an interview form, 3) an index of consistency form, 4) a suitability evaluation form, and 5) a financial literacy assessment form. Data was analyzed qualitatively using content analysis and presented in descriptive form, while quantitative data was analyzed with statistical software to determine means and standard deviations. The findings were presented in three sections according to the study’s objectives: Research Findings 1. The study on innovative economic education based on computational thinking, developed by the researcher using the DP2A MODEL, consists of four steps as follow: Step 1 - Decomposition (D), which involves breaking down the problem; Step 2 - Pattern Recognition (P), which involves identifying patterns; Step 3 - Abstraction (A), which involves focusing on key elements; and Step 4 - Algorithm (A), which involves creating solutions. 2. The development of the innovation for teaching economics based on computational thinking, aimed at enhancing financial literacy among high school students, included two lesson plans following the DP2A MODEL with the total of 16-hour learning time. The overall evaluation of their suitability was rated very high, making them viable for further research into the effectiveness of this innovative approach in promoting financial literacy among high school students. 3. The results of implementing the innovation for teaching economics based on computational thinking revealed that students achieved a very high level of financial literacy according to the evaluation. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย | en_US |
dc.title.alternative | Economics learning management innovation based on computational concepts to promote financial literacy of high school students | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | นวัตกรรมทางการศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | เศรษฐศาสตร์ | - |
thailis.controlvocab.thash | เศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน(มัธยมศึกษา) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ตัวอย่างการวิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับสลากได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 จำนวน 48 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง 4) แบบประเมินความเหมาะสม 5) แบบประเมินความฉลาดรู้การเงิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอในรูปแบบพรรณนา (Descriptive Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยโปรแกรมทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผู้วิจัยได้แบ่งผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาแนวคิดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามกระบวนการแนวคิดเชิงคำนวณเรียกว่า DP2A MODEL มี 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 แตกประเด็นปัญหา Decomposition (D) ขั้นที่ 2 มองหาต้นแบบ Pattern Recognition (P) ขั้นที่ 3 คัดเฉพาะสิ่งสำคัญ Abstraction (A) ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์แนวทาง Algorithm (A) 2. การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยที่ใช้กระบวนการตาม DP2A MODEL จำนวน 2 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง ผลการประเมินความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการศึกษาการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนมีผลการประเมินความฉลาดรู้การเงิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650232038 เนตรชนก แก้วดี.pdf | 14.7 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.