Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80159
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณฐิตากานต์ พยัคฆา-
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.authorณัฐกาล ฉันทะกิจen_US
dc.date.accessioned2024-11-15T10:16:17Z-
dc.date.available2024-11-15T10:16:17Z-
dc.date.issued2024-08-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80159-
dc.description.abstractThe objectives of this study were to study some basic personal, economic, and social characteristics of farmers. To analyze the factors affecting farmers’ adoption of microbial pesticides and to study problems and suggestions regarding the acceptance of utilizing microbial pesticides by Mae Tha Sustainable Agriculture Network. In this study, data collection was conducted among members of the Mae Tha Sustainable Agriculture Network in Mae Tha Sub-district, Mae On District, Chiang Mai Province, who were still active members in 2023. The sample size was calculated using Yamane's formula (1967) with an acceptable sampling error of 0.03 or a confidence level of 97%. Due to the population group have diversity. Data was collected using interview schedules that had an Item-Objective Congruence Index (IOC) value was 0.89. The reliability of this interview schedule was assessed for the items concerning knowledge and practice related to the utilization of microbial pesticides, employing the Kuder-Richardson (KR-20) measurement method. The reliability coefficient obtained for knowledge related to the utilization of microbial pesticides was 0.79 and for practice related to the utilization of microbial pesticides was 0.93. Data were analyzed by descriptive statistics including frequency, percentage, mean, maximum, minimum, and standard deviation. And Inferential statistics was multiple regression analysis. The results showed that the majority of farmers are female with 61.7%, the average age of the farmers was 50.28 years old, graduated from Grade 6. Farmers have an average of 11.44 years of experience in organic farming, the average area dedicated to organic agricultural practices was 4.52 rai, with an average of 2.49 household laborers and 1.87 non-household laborers. During 2022, farmers generated an approximate total income of 99,432.10 baht from organic farming activities. Furthermore, The majority of farmers did not have outstanding debts. However, for those with debts, the average household debt among farmers was 35,493.83 baht. The majority of farmers did not have borrow money, if there is borrow money farmers borrow the most from the Mae Tha Sustainable Agriculture Cooperative. Farmers sell their products to the Mae Tha Organic Community Enterprise Group the most, primarily received information regarding microbial pesticides from fellow network members and the most farmers have no social position. Moreover, farmers have a high level of knowledge related to the use of microbial pesticides, more than 50% of farmers answered incorrectly on two issues are the highest percentage (76.50%) incorrectly believed that spraying microbial pesticides killing insects rather than repels them and the second highest (58.60%) incorrectly thought that Trichoderma fungi are used for fungal plant diseases. Farmers also have a high level of positive attitude towards using microbial pesticide, more than 20% of farmers were uncertain about two points are the highest percentage (35.80%) were unsure whether microbial pesticides are easily accessible and the second highest (29.60%) were uncertain about whether using microbial pesticide involves uncomplicated steps. Overall, farmers show a high level of acceptance for using microbial pesticdes, more than 50% of farmers have incorrect practices in two areas are the highest percentage (60.50%) incorrectly mix microbial pest control agents with leaf adhesives when spraying and the second highest (59.30%) incorrectly believe that expanded microbial pesticides should be used up within 7 days. Factors related to the adoption of microbial pesticides where a positive relationship is knowledge about microbial pesticides was statistical significance at 0.05 and factors related to the adoption of microbial pesticides where a negative relationship are Number of household labor for organic farming and having household debt were statistical significance at 0.05. The problems faced by farmers using microbial pesticides, it was found that farmers experienced low levels of problems. The greatest problem in terms of farmers was a lack of basic knowledge about microbial pesticides, followed by the issue was the difficulty in finding additional sources of information on microbial pesticides and inconvenience of spraying microbial pesticides at least 4 times per month. At least according to the number, the issue was the inconvenience of cleaning equipment after every spraying session. The suggestions provided by farmers utilizing microbial pesticides included the following: The government should organize more training related to the use of microbial pesticides and provide support in procuring adequate materials and equipment for the propagation of microbial pesticides. Additionally, support should be extended toward the establishment of teams dedicated to the application of microbial pesticides, as farmers face inconvenience in performing frequent sprayings. Relevant agencies promoting the use of microbial pesticides should continuously organize training activities to provide knowledge and practical experience. This will enable farmers to understand and produce microbial pest control agents independently, without solely relying on support from the Mae Tha Sub-district Community Pest Management Center and the government. Moreover, Set a team of experts in microbial pest control agents should be served as a local consulting unit, this team would assist farmers in initiating production, expansion, and spraying of microbial pesticides in their agricultural areas until clear results are observed. Furthermore, demonstration plots should be set up within the community, showcasing consistent and scientifically correct use of microbial pesticides with evident results. These plots would serve as study sites and build confidence among farmers regarding the use of microbial pest control agents. They would demonstrate that these methods are suitable for the local area, having been tested by farmers in the region. This approach aims to enhance farmers' understanding, self-reliance, and confidence in using microbial pest control agents effectively in their agricultural practices.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors affecting farmers’ adoption of microbial pesticides in Mae Tha Sustainable Agriculture Network in Mae Tha Sub-district, Mae On District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashจุลินทรีย์-
thailis.controlvocab.thashศัตรูพืช -- การควบคุม-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกรรม -- แม่ออน (เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม บางประการ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช และ เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการยอมรับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรรม ฯ ในการศึกษานี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังคงเป็นสมาชิกอยู่ในปี พ.ศ. 2566 โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรของ Yamane (1967) ที่ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ จากการสุ่มตัวอย่าง 0.03 หรือระดับความเชื่อมั่นที่ 97% เนื่องจากกลุ่มของประชากรมีความแตกต่างกัน จำนวน 81 ราย ซึ่งใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview schedules) ที่มีค่าดัชนี ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index: IOC) เท่ากับ 0.89 และมีการทดสอบค่าความเชื่อมมั่น (Reliability Test) ในประเด็นความรู้และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ซึ่งใช้การวัดแบบ Kuder – Richardson (KR-20) ผลการทดสอบของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ได้ค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.79 และ ด้านการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ได้ค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.93โดยการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้สถิติชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบวิธีคัดเลือกเข้าทั้งหมด (Enter Selection) เพื่อหาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.7 มีอายุเฉลี่ย 50.28 ปี จบระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำการเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 11.44 ปี มีจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย จำนวน 4.52 ไร่ จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.49 คน จำนวนแรงงานนอกครัวเรือนเฉลี่ย 1.87 คน โดยในปี พ.ศ.2565 เกษตรกรมีรายได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์โดยประมาณ 99,432.10 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน หากมีหนี้สินเกษตรกรมีหนี้สินครอบครัวเฉลี่ย 35,493.83 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการกู้เงิน หากมีการกู้เงินเกษตรกรกู้เงินจากสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทามากที่สุด เกษตรกรมีการจำหน่ายผลผลิตให้กับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิคมากที่สุด เกษตรรับรู้ข่าวสารด้านสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชจากสมาชิกเครือข่ายมากที่สุด และเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม นอกจากนี้เกษตรกรยังมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชในระดับสูง อย่างไรก็ตามเกษตรกรมากกว่าร้อยละ 50 ตอบผิด ใน 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชฉีดพ่น เป็นการฆ่าแมลง มิใช่การไล่แมลง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 76.50 และรองลงมา คือ ประเด็นเชื้อราไตรโคเดอร์มาใช้สำหรับโรคพืชที่มีสาเหตุจากเชื้อรา คิดเป็นร้อยละ 58.60 ตามลำดับ และเกษตรกรมีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชในระดับสูงเช่นกัน อย่างไรก็ตามเกษตรกรมากกว่าร้อยละ 20 มีทัศนคติที่ไม่แน่ใจ ใน 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชหามาใช้ได้ง่ายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.80 และรองลงมา คือ ประเด็นการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชมีขั้นตอน ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน คิดเป็นร้อยละ 29.60 ตามลำดับ โดยภาพรวมเกษตรกรมีการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชในระดับสูง อย่างไรก็ตามเกษตรกรมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องร้อยละ 50 ขึ้นไป ใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นการผสมสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชร่วมกับสารจับใบในการฉีดพ่น คิดเป็นร้อยละ 60.50 มากที่สุด รองลงมา คือ ประเด็นการนำสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ที่ขยายแล้วมาใช้ให้หมดภายใน 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 59.30 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ของเกษตรกรเครือข่าย ฯ เชิงบวกจำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้จุลินทรีย์เชิงลบจำนวน 2 ตัวแปรได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือนสำหรับการทำการเกษตรอินทรีย์ และ การมีหนี้สินครอบครัว มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหาของเกษตรผู้ใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรมีปัญหาที่เกี่ยวกับ สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเกษตรกรประสบปัญหาในประเด็นด้านเกษตรกรไม่มีความรู้พื้นฐานด้านสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชมากที่สุด รองลงมา คือ ประเด็นแหล่งสำหรับ หาความรู้เพิ่มเติมด้านสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชสามารถหาได้ยากตลอดจนและเกษตรกร ไม่สะดวกในการฉีดพ่นสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชอย่างน้อย 4 ครั้ง/เดือน และประเด็นเกษตรกร ไม่สะดวกในการทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งหลังฉีดพ่นน้อยที่สุด ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากแบบสัมภาษณ์ของเกษตรกรผู้ใช้จุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ได้แก่ ควรให้ภาครัฐมีการจัดอบรมเกี่ยวกับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น และให้สนับสนุนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับขยายสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งสนับสนุนให้การจัดตั้งทีมฉีดพ่นสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความสะดวกในการฉีดพ่นบ่อยครั้ง ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชควรมี การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรมีความเข้าใจและสามารถขยายสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชได้เอง โดยไม่ต้องรอการสนับสนุนจากศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลแม่ทา และภาครัฐเพียงอย่างเดียว และควรมีการจัดตั้งทีมจัดการสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชที่เป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถเป็นหน่วยให้คำปรึกษาในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการเริ่มต้นการผลิต ขยาย และฉีดพ่นสารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรของตนเองจนเห็นผลชัดเจน นอกจากนั้นแล้วควรมีการจัดทำแปลงต้นแบบที่มีการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องตามหลักวิชาการที่เห็นผลชัดเจนในพื้นที่ของชุมชน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานและ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้สารจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชว่ามีความเหมาะสมกับพื้นที่จริงโดยผ่านการทดลองจากเกษตรกรในพื้นที่แล้วen_US
Appears in Collections:AGRO: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ณัฐกาล ฉันทะกิจ 650832002.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.