Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorณฐิตากานต์ พยัคฆา-
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.authorสาวิตรี วิระราชen_US
dc.date.accessioned2024-10-22T01:19:12Z-
dc.date.available2024-10-22T01:19:12Z-
dc.date.issued2024-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80128-
dc.description.abstractThe objective of this study were to (1) investigate certain personal, economic, and social basic characteristics of community enterprise members; and (2) analyze factors related to the operational and developmental needs of community enterprise members and (3) Study the problems, needs and suggestions for Community Enterprise Members' Needs for Operation Development in Sop Moei District, Mae Hong Son Province. The population in this research was community enterprise members registered with the Department of Agricultural Extension in 2022, with a total 399 people. The sample size was calculated using Taro Yamane's formula, with an acceptable sampling error of 0.07, resulting in a sample of 136 people. An interview form with a reliability of 0.954 according to Cronbach's method was used as a tool to collect data from community enterprise members. The data were analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, maximum, minimum, and standard deviation. The hypothesis was tested to find the relationship between the independent variables and the dependent variables using a multiple regression analysis (enter method). The study results found that most community enterprise members were male, had an average age of 46.63 years, had primary and secondary education/vocational certificates, and had an average of 2.75 household workers. Members participated in the overall community enterprise operations at a moderate level (an average of 2.23). In 2022, it was found that community enterprise members had an average total household income of 84,648.53 baht, while community enterprise members with total outstanding household debts had an average of 119,718.83 baht. Most community enterprise members did not hold social positions. In 2022, it was also found that community enterprise members received training and study tours on average 1.87 times and contacted with agricultural extension officers on average 2.26 times/3 months. In addition, the operational development needs of community enterprise members in Sop Moei District,Mae Hong Son Province that overall was at a high level (x̅=2.57) with high level in all 5 aspect as follows: leadership development (x̅=2.64), organization management (x̅=2.59), product or service production management (x̅=2.58), product or service development (x̅=2.57), and finance and accounting (x̅ =2.48), respectively. For hypothesis testing, it was found that the factor that has a relationship with the demand for development of the operation of community enterprise members in Sop Moei District, Mae Hong Son Province, with statistical significance at the 0.001 level, was the participation in the operation of community enterprise members. Problems in the operation of community enterprises of community enterprise members in Sop Moei District, Mae Hong Son Province, found that most community enterprises faced problems with low agricultural product prices, inconvenient transportation of goods (remote areas), and members lacking understanding of the objectives of establishing the group, respectively. Their needs and suggestions were: they wanted the government to support marketing and increase distribution channels for products for the group in online and other formats, and they wanted agricultural extension officers to go to the area to provide continuous consultation and advice, as well as they wanted the government to support more budgets for study visits to successful community enterprises in other regions. The recommendations from this research are for community enterprise groups to develop the potential of leaders by continuously organizing training for leaders, providing useful training courses for leaders, such as organizational management courses, finance and accounting courses, product and service development courses, etc., including creating a network for exchanging knowledge through off-site study visits. For community enterprise members, knowledge of product or service development should be developed for members by providing courses that were appropriate and consistent with the needs of members. Officers responsible for agricultural extension should provide advice on important issues in establishing a community enterprise group, benefits to be gained from being a member of a community enterprise, guidelines for community enterprise development, including laws related to community enterprises for community enterprise members to be aware of. This enables members to understand the objectives of establishing a group and realize the importance of operating a community enterprise to achieve its desired goals.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความต้องการพัฒนาด้านการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeCommunity enterprise members' needs for operation development in Sop Moei district, Mae Hong Son provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashวิสาหกิจชุมชน -- สบเมย (แม่ฮ่องสอน)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมบางประการของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาด้านการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และ (3) ศึกษาปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะที่มีต่อการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีพ.ศ.2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 399 ราย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้จากการสุ่มตัวอย่างที่ 0.07 ทำให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 136 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.954 ตามวิธีของ Cronbach เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมุติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบวิธีนำเข้าทั้งหมด ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.63 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และมีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.75 คน โดยสมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.23) โดยในปี พ.ศ. 2565 พบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีรายได้ทั้งหมดของครัวเรือนเฉลี่ย 84,648.53 บาท ในขณะที่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนเฉพาะคนที่มีภาระหนี้สินคงค้างทั้งหมดของครัวเรือนจะเฉลี่ยอยู่ที่ 119,718.83 บาท และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2565 ยังพบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้รับการอบรมและศึกษา ดูงานนอกสถานที่เฉลี่ย 1.87 ครั้ง และมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2.26 ครั้ง/3 เดือนนอกจากนี้ความต้องการพัฒนาด้านการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.57) โดยมีความต้องการอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ ด้านการพัฒนาผู้นำ (ค่าเฉลี่ย 2.64) ด้านการบริหารจัดการองค์กร (ค่าเฉลี่ย 2.59) ด้านการบริหารจัดการการผลิตสินค้าหรือบริการ (ค่าเฉลี่ย 2.58) ด้านการพัฒนาสินค้าหรือบริการ (ค่าเฉลี่ย 2.57) และด้านการเงินและบัญชี (ค่าเฉลี่ย 2.48) ตามลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการพัฒนาด้านการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ปัญหาต่อการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การคมนาคมขนส่งสินค้าไม่สะดวก (พื้นที่ห่างไกล) และปัญหาสมาชิกขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่ม ตามลำดับ โดยต้องการและข้อเสนอแนะ คือ ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนด้านการตลาด และการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มในรูปแบบออนไลน์ และรูปแบบอื่น ๆ และต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีความต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาดูงานด้านวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่อื่น ๆ มากขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนควรมีการพัฒนาศักยภาพของผู้นำ โดยการจัดอบรมผู้นำอย่างต่อเนื่อง จัดหาหลักสูตรอบรมที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้นำ เช่น หลักสูตรการบริหารจัดการองค์กร หลักสูตรการเงินและบัญชี หลักสูตรการพัฒนาสินค้า และบริการ เป็นต้น รวมถึงการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการศึกษาดูงานนอกสถานที่ สำหรับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนควรพัฒนาความรู้ด้านการพัฒนาสินค้า หรือบริการให้แก่สมาชิก โดยการจัดหาหลักสูตรที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก และในส่วนของเจ้าหน้าผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรควรให้คำแนะนำประเด็นความสำคัญในการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน รวมถึงพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนให้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้รับทราบ ทั้งนี้ เพื่อทำให้สมาชิกได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่ม และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนให้บรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์อย่างแท้จริงen_US
Appears in Collections:AGRO: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650832004 สาวิตรี วิระราช.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.