Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80070
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกันยารัตน์ คอวนิช-
dc.contributor.authorปรารถนา ลังกาพินธุ์en_US
dc.date.accessioned2024-10-06T07:27:05Z-
dc.date.available2024-10-06T07:27:05Z-
dc.date.issued2567-07-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80070-
dc.description.abstractThe study was a development of a simple tool for evaluating masticatory function value by wax biting test among older adults. This study aimed to find the correlation between a simple tool for evaluating masticatory function value with masticatory performance by sieve method and masticatory ability among older adults and using masticatory function value for evaluating subjects with different mastication groups. The samples were 100 older adults in the dental clinic of Lee Hospital, Lamphun, Thailand. Data was collected from October 2022 to September 2023. The samples were interviewed with general information, dental examination, tooth number, and occlusal pair. The wax biting test was given to samples, compared with the masticatory performance by the sieve method and the masticatory ability by the questionnaire. Data were analyzed using descriptive and analytical statistics. The results showed a high positive correlation between a simple tool for evaluating masticatory function value with masticatory performance by sieve method (correlation coefficient = 0.54) and masticatory ability by questionnaire (correlation coefficient = 0.636). The difference in the number of teeth in the sample (groups with fewer than 20 teeth and groups with 20 or more teeth), Occlusal pairs (groups with fewer than 10 occlusal pairs and groups with 10 or more occlusal pairs), and Eichner index classification have different masticatory function values. (p<0.05) The number of teeth, occlusal pair, and masticatory ability can predict masticatory function values (R =0.825; R2 =0.68; F =68.124; p-value<0.05). Masticatory groups divided by masticatory function value are related to masticatory groups divided by masticatory performance. (Chi-Square =8.243, p = 0.004) In conclusion, the simple tool created for evaluating masticatory function value by wax biting test among older adults can be used to measure masticatory function. It is a reliability tool. It is easy to use in the clinic, convenient and not complicated. It can used to differentiate masticatory function values in people with different mastication.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสอดคล้องของเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับประเมินการทำหน้าที่บดเคี้ยวเทียบกับการวัดสมรรถภาพการบดเคี้ยวด้วยวิธีร่อนตะแกรงและการวัดความสามารถการบดเคี้ยวด้วยการตอบแบบสอบถามในผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeCorrelation between a simple tool for evaluating masticatory function value with masticatory performance by sieve method and masticatory ability by questionnaire among older adultsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดูแลทันตสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashทันตกรรม-
thailis.controlvocab.thashการบดเคี้ยว-
thailis.controlvocab.thashคลินิกทันตกรรม -- ลี้ (ลำพูน)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เป็นการสร้างเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับประเมินการทำหน้าที่บดเคี้ยวด้วยการวัดความหนาของรอยกัดสบบนแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรมในผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสอดคล้องของเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับประเมินการทำหน้าที่บดเคี้ยวเทียบกับการวัดสมรรถภาพการบดเคี้ยวด้วยวิธีร่อนตะแกรงและการวัดความสามารถบดเคี้ยวด้วยการตอบแบบสอบถามในผู้สูงอายุและเพื่อใช้การวัดความหนาของรอยกัดสบบนแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรมประเมินแยกความแตกต่างของค่าการทำหน้าที่บดเคี้ยวในผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีการบดเคี้ยวต่างกัน ศึกษาในผู้สูงอายุที่มารับบริการคลินิกทันต กรรม ณ โรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 100 ราย ช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 โดยจะเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพช่องปาก นับจำนวนฟันและคู่สบ ทดสอบการทำหน้าที่บดเคี้ยวด้วยการกัดแผ่นขี้ผึ้งแล้ววัดความหนาของรอยกัดสบบนแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรม ทดสอบความถูกต้องของการวัดด้วยการเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์กับวิธีมาตรฐานทางวัตถุวิสัย ได้แก่การวัดสมรรถภาพการบดเคี้ยวด้วยวิธีร่อนตะแกรง และทางจิตวิสัยคือการวัดความสามารถในการบดเคี้ยวด้วยการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา ค่าการทำหน้าที่บดเคี้ยวที่ได้จากการวัดความหนาของแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรมที่วัดจากเครื่องมืออย่างง่ายมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับสูง กับค่าสมรรถภาพการบดเคี้ยวที่ได้จากการวัดด้วยวิธีร่อนตะแกรง (correlation coefficient = 0.54) และค่าความสามารถบดเคี้ยวจากการทดสอบด้วยการตอบแบบสอบถาม (correlation coefficient = 0.636) ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีจำนวนฟันต่างกัน (กลุ่มจำนวนฟันน้อยกว่า 20 ซี่ และกลุ่มจำนวนฟัน 20 ซี่ขึ้นไป) จำนวนคู่สบต่างกัน(กลุ่มจำนวนคู่สบน้อยกว่า 10 คู่ และกลุ่มที่มีคู่สบ 10 คู่ขึ้นไป) และการสบฟันรูปแบบการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์ (Eichner index) ต่างกัน จะมีค่าการทำหน้าที่บดเคี้ยวด้วยการวัดความหนาของแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรมที่วัดด้วยเครื่องมืออย่างง่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) จำนวนฟัน จำนวนคู่สบทั้งหมดและค่าการวัดความสามารถบดเคี้ยวด้วยการตอบแบบสอบถามสามารถพยากรณ์ค่าการทำหน้าที่บดเคี้ยวด้วยการวัดความหนาของแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญ (R =0.825; R2 =0.68; F =68.124; p-value<0.05) และกลุ่มการบดเคี้ยวที่แบ่งด้วยค่าการทำหน้าที่บดเคี้ยวด้วยการวัดความหนาของแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรมสัมพันธ์กับกลุ่มการบดเคี้ยวที่แบ่งด้วยค่าสมรรถภาพการบดเคี้ยวด้วยวิธีร่อนตะแกรงอย่างมีนัยสำคัญ (Chi-Square =8.243 , p = 0.004) โดยสรุปเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับประเมินการทำหน้าที่บดเคี้ยวด้วยการวัดความหนาของรอยกัดสบบนแผ่นขี้ผึ้งทันตกรรมที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้วัดค่าการทำหน้าที่บดเคี้ยวได้ เป็นเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้ในคลินิกได้ง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อน สามารถใช้แยกแยกความแตกต่างของค่าการทำหน้าที่บดเคี้ยวในผู้สูงอายุที่มีการบดเคี้ยวต่างกันได้en_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630931048 ปรารถนา ลังกาพินธุ์.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.