Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนิรุทธ์ วัชรวิภา-
dc.contributor.advisorวรรณภา นบนอบ-
dc.contributor.advisorบงกช เจียมหาทรัพย์-
dc.contributor.authorอกนิษฐ์ ไชยพงษ์en_US
dc.date.accessioned2024-10-06T07:16:49Z-
dc.date.available2024-10-06T07:16:49Z-
dc.date.issued2567-07-18-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80069-
dc.description.abstractStereotactic Radiosurgery (SRS) and Stereotactic Radiation Therapy (SRT) are radiotherapy techniques by multiple and non-coplanar beam used for treating intracranial lesions. C-arm based linear accelerators (C-arm linacs) are widely used for these techniques due to their compatibility for shaped beam with aperture devices such as multi-leaf collimators (MLC). Various leaf widths of this platform may impact the radiation dose coverage on the lesion, particularly a small lesion. This retrospective study then investigated the limitation of the large MLC on the C-arm linac in intracranial stereotactic radiosurgery by various sizes of Planning Target Volume (PTV) through dosimetric quality parameters and Gamma analysis by Gamma Passing Rate (GPR). GPR was performed in Patient specific quality assurance (PSQA) by created on a single lesion of 69 treatment plans that were treated by the SRS/SRT. The SRS phantom was inserted the 2D array detector (SRSMapCHECK®) that measured the dose delivery. Various dosimetric parameters, such as Conformity index (CI), Gradient index (GI), and treatment planning complexity were used to evaluate the significant correlation among each other, including the GPR. This study examined PTV sizes ranging from 0.34 – 30.42 cm3 which was 8.69 ± 8.38 cm3 (mean ± SD). The CIICRU and CIPaddick were 1.29 ± 0.17 and 0.77 ± 0.10, respectively, while the GI was 5.24 ± 2.18. The treatment planning complexity calculated by monitor units (MU) in terms of Modulation Factor (MF) and treatment planning complexity calculated by the standard deviation of photon in terms of Fluence Map Variation (FMV) were 3.38 ± 0.87, 0.10 ± 0.03, respectively. The study found significant correlations (p < 0.001) were found between PTV sizes and CIICRU (r = -0.676), CIPaddick (r = 0.670), GI (r = -0.913), and FMV (r = 0.444, p < 0.001) whereas MF (r = 0.363) was a significant correlation with sizes of PTV at p = 0.002. The GPR2%/2mm values were 92.42 ± 3.74 on absolut dose (AD) and 96.38 ± 3.24 on relative dose (RD), respectively for criterion. In case GPR2%/1mm values were 82.03 ± 6.69 and 89.64 ± 7.26 for AD and RD, respectively. No significant correlations were found among FMV, MF and GPR values. Confidence limits (CL) were also calculated. The Confidence limits (CL) values of GPR2%/2mm were 85.09% and 90.03% whereas the CL values of GPR2%/1mm were 68.92% and 75.41% for AD and RD, respectively. This study demonstrated that the large MLC has no limitations in SRS/SRT techniques. The decreasing CI and GI values in small PTVs, especially in PTVs with target volume less than 5 cm3. The increasing PTVs can improve the value of CI and GI. By increasing the PTV volume, the treatment plan complexity was also increased. This increasing volume, however, was not impacting on the GPR. In GPR2%/1mm, GPR value yields lower values than 2%/2 mm criterion. This may ensure that a PTV margin might be contributed at least 2 mm, particularly small lesions. These can be confirmed by the CL value that only GPR2%/2mm revealed a value above 90% of the RD.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectStereotactic Radiosurgeryen_US
dc.subjectStereotactic Radiotherapyen_US
dc.subjectMulti-Leaf Collimatoren_US
dc.subjectDosimetric Parameteren_US
dc.subjectGamma analysisen_US
dc.titleการตรวจสอบข้อจำกัดเครื่องกำบังรังสีแบบซี่ขนาดใหญ่ในการฉายรังสีร่วมพิกัดบริเวณศีรษะen_US
dc.title.alternativeInvestigated limitation of large multi-leaf collimator in Intra-cranial stereotactic radiosurgeryen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashรังสีศัลยกรรม-
thailis.controlvocab.thashการรักษาด้วยรังสี-
thailis.controlvocab.thashรังสีวิทยาทางการแพทย์-
thailis.controlvocab.thashการฉายรังสี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractรังสีศัลยกรรม (Stereotactic Radiosurgery) และ เทคนิคการฉายรังสีรักษาร่วมพิกัด (Stereotactic Radiation Therapy) เป็นเทคนิคการรักษาด้วยลำรังสีขนาดเล็กจากหลายทิศทางที่ใช้ในการรักษารอยโรคในสมอง โดยเครื่องเร่งอนุภาคแบบแขนรูปตัวซี (C-arm based linear accelerator, C-arm linac) ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับเทคนิคนี้ เนื่องจากสามารถปรับความเข้มของลำรังสีให้เข้ารูปกับรอยโรคด้วยกำบังรังสีหลายแบบ และกำบังรังสีแบบซี่ (Multi-leaf collimator, MLC) เป็นที่นิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตาม MLC นี้ยังมีขนาดความกว้างหลายขนาด ซึ่งอาจส่งผลต่อการกระจายปริมาณรังสีที่ส่งไปยังรอยโรคเป้าหมาย โดยเฉพาะในรอยโรคที่มีขนาดเล็ก ดังนั้น การศึกษาแบบย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบข้อจำกัดของ MLC ที่มีขนาดใหญ่ของเครื่องเร่งอนุภาคแบบ C-arm Linac ต่อปริมาตรเป้าหมายสำหรับการวางแผน (Planning target volume, PTV) ขนาดต่างๆ ในเทคนิคการฉายรังสีร่วมพิกัดในรอยโรคสมอง ผ่านพารามิเตอร์ตัวแปรเชิงรังสีคณิตและการวิเคราะห์อัตราผ่านค่าแกมมา (Gamma Passing Rate, GPR) โดยค่า GPR สามารถวัดได้จากการประกันคุณภาพแผนการรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายจำนวน 69 แผนรังสีรักษา ผ่านอุปกรณ์วัดรังสีแบบเรียงแถว 2 มิติ (SRS MapCHECK®) และวิเคราะห์ร่วมกับพารามิเตอร์ตัวแปรเชิงรังสีคณิต ประกอบไปด้วย ค่าดัชนีความเข้ารูป (Conformity index, CI) และ ค่าดัชนีความลาดชันของปริมาณรังสี (Gradient index, GI) รวมไปถึงวิเคราะห์ความซับซ้อนของแผนการรักษา เพื่อประเมินหาความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างกันของตัวแปรต่างๆ การศึกษานี้ พบว่า PTV มีขนาดในช่วง 0.34 – 30.42 ลบ.ซม. เฉลี่ยอยู่ที่ 8.69 ± 8.38 cm3 (ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ค่าเฉลี่ยของ CIICRU และ CIPaddick เท่ากับ 1.29 ± 0.17 และ 0.77 ± 0.10 สำหรับสูตรทาง International Commission of Radiation Units and Measurements (ICRU) และ Paddick ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย GI เท่ากับ 5.24 ± 2.18 และค่าความซับซ้อนของแผนรังสีรักษาด้วยการคำนวณจากหน่วยนับวัดรังสี (Monitor unit) และการคำนวณความเบี่ยงเบนของจำนวนโฟตอน (Standard deviation of photon) ได้เป็นค่า Modulation Factor (MF) และ Fluence Map Variation (FMV) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38 ± 0.87 และ เท่ากับ 0.10 ± 0.03 ตามลำดับ จากการศึกษา พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างขนาดของ PTV และ CIICRU (r = -0.676 , p < 0.001) CIPaddick (r = 0.670, p < 0.001) GI (r = -0.913, p < 0.001) MF (r = 0.363, p = 0.002) และ FMV (r = 0.444, p < 0.001) สำหรับค่า GPR ด้วยเกณฑ์ 2%/2 มม. พบว่ามีค่าเฉลี่ย 92.42 ± 3.74 และ 96.38 ± 3.24 สำหรับการวัดแบบปริมาณรังสีสมบูรณ์ และปริมาณรังสีสัมพัทธ์ ตามลำดับ สำหรับเกณฑ์ 2%/1 มม. พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.03 ± 6.69 และ 89.64 ± 7.26 สำหรับการวัดแบบปริมาณรังสีสมบูรณ์ และปริมาณรังสีสัมพัทธ์ ตามลำดับเช่นกัน ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่าง GPR ค่า MF และ FMV ค่าขีดจำกัดความเชื่อมั่น (CL) ของ GPR ที่เกณฑ์ 2%/2mm อยู่ที่ 85.09% และ 90.03% ในขณะที่ค่า CL ของ GPR ที่เกณฑ์ 2%/1mm อยู่ที่ 68.92% และ 75.41% สำหรับการวัดแบบปริมาณรังสีสมบูรณ์ และปริมาณรังสีสัมพัทธ์ ตามลำดับ จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า MLC ขนาดใหญ่ไม่มีข้อจำกัดในเทคนิคการฉายรังสีร่วมพิกัด แต่ส่งผลกระทบต่อค่าดัชนีความเข้ารูป (CI) และค่าดัชนีความลาดชันของปริมาณรังสี (GI) ที่ลดลงใน PTV โดยเฉพาะใน PTV ที่มีปริมาตรเป้าหมายน้อยกว่า 5 ลบ.ซม. และค่าดัชนีจะได้รับการปรับปรุงที่ดีขึ้นเมื่อปริมาตร PTV มีขนาดเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม PTV มีขนาดเพิ่มขึ้นจะแปรผันตรงกับความซับซ้อนของแผนการรักษาที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อค่า GPR และค่าเฉลี่ยของ GPR ในเกณฑ์ 2%/1 มม. มีค่าต่ำกว่า เกณฑ์ 2%/2 มม. กรณีนี้อาจมีผลกระทบสำหรับการขยายขอบของ PTV ที่มีระยะน้อยกว่า 2 มม. ซึ่งสิ่งนี้สามารถยืนยันได้ด้วยค่าขีดจำกัดความเชื่อมั่นของ GPR ในเกณฑ์ 2%/2 มม. มีค่ามากกว่าร้อยละ 90 ในปริมาณรังสีสัมพัทธ์en_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650731009-AKANIT CHAIYAPONG.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.