Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79981
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorChadarat Ampasavate-
dc.contributor.advisorSiriporn Okonogi-
dc.contributor.advisorSongyot Anuchapreeda-
dc.contributor.authorRungsinee Phongpradisten_US
dc.date.accessioned2024-08-20T09:59:30Z-
dc.date.available2024-08-20T09:59:30Z-
dc.date.issued2012-03-16-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79981-
dc.description.abstractLeukemia is the malignant disease of blood-forming in bone marrow characterized by an abnormal increasing of immature blood cells. The advance therapeutics of leukemia are endeavoring for improved the efficacy and specificity of treatments. Active targeting carrier is becoming such one candidate for leukemia therapeutic by targeting molecular markers differentially expressed on cancerous cells. Thus, the targeting marker present as an important factor for the development of active targeting carriers. The aim of this thesis is to develop the specific drug deliver system for leukemic cells. Here, lymphocyte function-associated antigen-1 (LFA-1) was used as the targeting receptor for this system due to the differential expression on various types of leukemia cells. The role and expression of LFA-1 on leukemic cells and the possibility of using this integrin as a target included where cIBR, a cyclic peptide derived from a binding site of LFA-1, was conjugated to the surface of polymeric nanoparticles and used as a targeting ligand. PLGA nanoparticles were prepared by solvent displacement method. The method of conjugation was provided by carbodiimide reaction. Four different types of leukemic cell lines (Molt3, Molt-4, HL-60, and U937) were investigated the expression of LFA-1 and the degree of cellular uptake. Molt-3 cells showed the highest level of LFA-1 on their membranes when compare to the other cell lines. In comparison of the cellular uptake of untargeted naopaticles (NPs) and cIBR-conjugated nanoparticles (cIBR-NPs), the results presented that cIBR-NPs showed the greater degree of uptake when compared to untargeted NPs, indicated the targeting properties of cIBR-NPS. The cellular uptakes of cIBR-NPs by Molt-3 cells were also showed the highest degree of uptake, significantly. These studies revealed a correlation of LFA-1 expression level on leukemic cell lines and binding and internalization of cIBR-NPs suggesting a differential binding and internalization of cIBRNPs to leukemic cells overexpressing LFA-1. Due to the expression of LFA-1 on cancer cell diverges from the physiological condition, thus it is the attractive point to investigate the cellular binding of cIBR-NPs to LFA-1 on the leukemic cell line and PBMC, a normal leukocyte, to prove the selectivity of this system in the condition that consist of normal leukocyte and leukmic cell line lead to the safety profile of cIBR-NPs. LFA-1 on the PBMCs, Mixed PBMC-Molt-3 cells and Molt-3 were determined the expression and were used as the targeted receptor. The expressions of LFA-1 on Molt-3, from flow cytometry and Western blot, possessed the highest level whereas PBMCs showed the lowest level. The kinetic binding profiles of cIBR-NPs were obtained by flow cytometry. The degree of cellular uptake presented a similar trend with the level of LFA-1 indicating a correlation with the level of expression and degree of uptake via LFA-1. the co9nformation change of LFA-1 had a slight effect on the function of cellular binding of cIBR-NPs. Take the advantage from LFA-1/ICAM-1 interaction, cIBR peptide derived from the ICAM-1 was also utilized as the targeting moiety for paclitaxel loaded nanoparticles for direct targeting to LFA-1 expressing cancer cells. The two different methods of preparation, solvent displacement and emulsification evaporation, were employed in this thesis to provide the optimal method of paclitaxel-loaded nanoparticles’ preparation. The three different sequences of conjugation were employed to compare the effectiveness of each method in the terms of physicochemical properties, the density of peptides, drug entrapment effiency, cellular uptake and cytotoxicity. The developed formulation and conjugation techniques given small particle size with narrow size distribution, negatively charge and high degree of uptake were discussed. Overall the results demonstrated that cIBR-NPs enhanced cellular uptake and improved the selectivity of drug carriers to LFA-1 on the leukemia cells, which related with the order of LFA-1 expression. Nanoparticles conjugated with a cyclic peptide against an accessible molecular marker of disease hold promise as a selective drug delivery system for leukemia treatment.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleDevelopment of peptide conjugated nanoparticles as drug delivery system for specific targeting to Leukemia cell linesen_US
dc.title.alternativeการพัฒนาเปปไทด์คอนจูเกเตดนาโนพาร์ทิเคิลเพื่อเป็นระบบนำส่งยาเข้าสู่เป้าหมายจำเพาะที่เป็นเซลล์สายพันธุ์มะเร็งเม็ดเลือดขาวen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashDrug targeting-
thailis.controlvocab.thashPeptide-
thailis.controlvocab.thashNanoparticles-
thailis.controlvocab.thashLeukemia -- Cytodiagnosis-
thailis.controlvocab.thashCancer cells-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractมะเร็งเม็ดเลือดขาวคือมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์เม็ดเลือดซึ่งพบการเพิ่มจำนวนมากขึ้นของเม็ดเลือดที่มี ลักษณะผิดปกติที่เป็นเซลล์มะเร็ง ในปัจจุบันการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยการให้ยาเคมีบำบัดเป็น วิธีการที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่นิยม แต่ข้อจำกัดในการรักษาดังกล่าวนั้นเกิดจากผลของเคมีบำบัดต่อเซลล์ปกตินำมาซึ่งผลข้างเคียงอันร้ายแรงและนำไปสู่การปฏิเสธในการรักษาของผู้ป่วย การพัฒนาการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นจึงพยายามที่จะพัฒนาในทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและเพิ่มความจำเพาะเจาะจงในการรักษาต่อเซลล์มะเร็งเพื่อแก้ไขข้อจำกัดในการรักษาที่เกิดขึ้น ระบบนำส่งยาสู่เป้าหมายจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการพัฒนาระบบนำส่งยาในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยอาศัยการแสดงออกของโมเลกุลบนผิวเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดที่มีระดับแตกต่างจากเซลล์ปกติเป็นตัวเพิ่มความจำเพาะเจาะจงในการนำส่งระบบนำส่งยา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าระดับการแสดงออกของโมเลกุล ดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบนำส่งยาสู่เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้คือการพัฒนาระบบนำส่งยาที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยอาศัยโปรตีน lymphocytefunction-associated antigen-1 (LFA-1) ที่มีการแสดงออกบนผิวเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นเป้าหมายในการนำส่งยา ทั้งนี้เนื่องจากมีการแสดงออกของโปรตีน LFA-1 นั้นแตกต่างออกไปบนผิวเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่แตกต่างชนิดกัน ดังนั้นระบบนำส่งยาที่จำเพาะเจาะจงต่อโปรตีน LFA-1 จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการใช้เปปไทด์ cIBR ซึ่งเป็นเปปไทด์ที่สังเคราะห์จากส่วนที่ใช้จับกับโปรตีน LFA-1 มาคอนจูเกตบนผิวของโนพาร์ทิเคิล (cIBR-NPs) เพื่อเพิ่มความจำเพาะเจาะจงในการนำส่งของระบบนำส่งยาเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเพาะเลี้ยงทั้งสี่ชนิดได้แก่ Molt-3, Molt-4, HL-60 และ U937 ได้ถูกเลือกเป็นตัวแทนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ ซึ่งผลการศึกษาการแสดงออกของโปรตีน LFA-1 บนผิวเซลล์มะเร็งทั้งสี่ชนิดนั้นมีระดับการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไปโดยในการศึกษานั้นพบว่า เซลล์ Molt-3 ซึ่งเป็นตัวแทนของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมโฟไซต์ มีการแสดงออกของโปรตีน LFA-1 สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์มะเร็งแบบเพาะเลี้ยงที่เหลือ เมื่อเปรียบเทียบการนำส่งของระบบนำส่งยาที่มีตัวนำเป้าหมาย cIBR-NPs กับแบบที่ไม่มีตัวนำเป้าหมาย NPs พบว่า cIBR-NPs สามารถถูกนำเข้าเซลล์ได้มากกว่าระบบนำส่งยาที่มี่เป้าหมาย NPs อย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นถึงความจำเพาะเจาะจงของระบบนำส่งยา cIBR-NPs ต่อโปรตีน LFA-1 บนผิวเซลล์มะเร็งแบบเพาะเลี้ยงทั้งสี่ชนิดที่ใช้ในการศึกษา เมื่อพิจารนาความสามารถในการถูกนำเข้าของระบบนำส่งยา cIBR-NPs โดยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเพาะเลี้ยงทั้งสี่ชนิดพบว่า cIBR-NPs ถูกนำเข้าโดยเซลล์ Molt-3 มากที่สุดเมื่อเทียบกับเซลล์อีกสามชนิดที่เหลือ พิจารณาผลการศึกษาทั้งในหัวข้อการแสดงออกของโปรตีนและความสามารถในการนำเข้าของระบบนำส่งยา cIBR-NPs ผ่านทาง LFA-1 บนผิวเซลล์ได้แสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับการแสดงออกของ LFA-1 กับความสามารถในการนำเข้าของระบบนำส่งยา cIBR-NPs กล่าวคือเซลล์ที่มีระดับการแสดงออกของ LFA-1 สูงจะมีความสามารถในการนำเข้าระบบนำส่งยา cIBR-NPs ที่เพิ่มมากขึ้น บ่งบอกถึงความแตกต่างในการนำเข้าของระบบนำส่งยาต่อระดับบนผิวเซลล์ เนื่องจากระดับการแสดงออกของ LFA-1 บนผิวเซลล์มะเร็งนั้นมีการแสดงออกที่แตกต่างจากสภาวะที่ปกติ จากความแตกต่างนี้จึงนำมาซึ่งการศึกษาการนำส่งของระบบนำส่งยา cIBR-NPs ระหว่าง LFA-1 บนผิวเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว Molt-3 กับเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติชนิด PBMC เพื่อพิสูจน์ความสามารถในการเลือกจับของระบบนำส่งยา cIBR-NPs ในสภาวะที่มี่เซลล์เม็ดขาวปกติ นำมาซึ่งคุณสมบัติทางด้านความปลอดภัยของระบบนำส่งยา cIBR-NPs ต่อเซลล์ปกติหากมีการบรรจุยาต้านมะเร็งในระบบนำส่งยา cIBR-NPs ในการศึกษานี้เซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ PBMC, เซลล์ผสมระหว่างเซลล์ PBMC และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเพาะเลี้ยง Molt-3 และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเพาะเลี้ยงชนิด Molt-3 ได้ถูกนำมาศึกษาการแสดงออกของ โดยวิธี flow cytometry และยืนยันผลด้วย Western blotting ซึ่งพบว่า Molt-3 มีการแสดงออกของ LFA-1 สูงที่สุดจากผลจากศึกษาทั้งสองวิธีในขณะที่ PBMC นั้นมีการแสดงออกของ LFA-1 ในระดับต่ำสุดจากทั้งสองการศึกษา เมื่อพิจารณาความสามารถในการถูกนำเข้าของระบบนำส่งยา cIBR-NPs โดยเซลล์ทั้งสามชนิดพบว่า Molt-3 มีความสามารถในการนำเข้าระบบนำส่ง cIBR-NPs สูงสุดในทุกช่วงเวลาของการทดลอง ซึ่งสอดคล้องกับระดับการแสดงออกของ LFA-1 บนผิวเซลล์ยังผลถึงความสามารถในการเลือกจับของระบบนำส่งยา cIBR-NPs ต่อระดับการแสดงออกของ LFA-1 ในส่วนผลของ PMA ต่อการจับและการนำเข้าของ cIBR-NPs พบว่า PMA มีผลกระทบไม่มากต่อการนำเข้าของระบบนำส่งยา แสดงให้เห็นถึงการจับของ cIBR-NPs สามารถเกิดขึ้นได้แม้ขาดตัวกระตุ้นการจับกันระหว่างโปรตีน LFA-1 กับเปปไทด์ cIBR ในขั้นสุดท้ายนั้นระบบนำส่งยา cIBR-NPs ได้ถูกบรรจุยาต้านมะเร็ง paclitaxel ลงไปในระบบนำส่งยา เพื่อศึกษาผลของยา paclitaxel ในระบบนำส่งต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเพาะเลี้ยง ในการศึกษานี้ได้มีการพิจารณาถึงวิธีการเตรียมระบบนำส่งยา และลำดับการคอนจูเกตเปปไทด์กับอนุภาค โดยพิจารณาจากขนาดและประจุของอนุภาค, ความหนาแน่นของเปปไทด์บนผิวนาโนพาร์ทิเคิล, ประสิทธิภาพในการกักเก็บตัวยามะเร็ง paclitaxel, การปลดปล่อยตัวยา, ความสามารถในการนำส่งของระบบนำส่งยา cIBR-NPs และพิษของยา paclitaxel ในระบบนำส่งยา cIBR-NPs จากแต่ละวิธีการเตรียมและลำดับการคอนจูเกตต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเพาะเลี้ยง Molt-3 นำมาซึ่งวิธีการเตรียมและลำดับการคอนจุเกตที่เหมาะสมที่สุดในวิทยานิพนธ์นี้ จากผลการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเปปไทด์ cIBR สามารถเพิ่มความสามารถในการนำส่งของระบบนำส่งยาผ่านทางโปรตีน LFA-1 ได้อย่างจำเพาะเจาะจงโดยสัมพันธ์กับระดับการแสดงออกของโปรตีน LFA-1 บนผิวเซลล์ นำมาซึ่งทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาระบบนำส่งยาที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีการแสดงออกของโปรตีน LFA-1 โดยผ่านทางระบบนำส่งยานาโนพาร์ทิเคิลที่มีการดัดแปลงผิวของอนุภาคด้วยเปปไทด์ที่สามารถจับกับโปรตีนที่แสดงออกอย่างเด่นชัดบนผิวเซลล์เป้าหมายen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
501051010 รังษินี พงษ์ประดิษฐ.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.