Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79960
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะมาศ ใจไฝ่-
dc.contributor.authorกานต์ ปุญสิริen_US
dc.date.accessioned2024-08-10T15:46:29Z-
dc.date.available2024-08-10T15:46:29Z-
dc.date.issued2024-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79960-
dc.description.abstractThis thesis aimed to achieve three objectives: 1) to examine contemporary debates on language and reality, 2) to explore Tran Duc Thao’s concept of language origin, and 3) to analyze the issue of language and reality through the lens of Tran Duc Thao’s concept of language origin. This research is documentary research and is presented through analytical descriptions. The research revealed differing opinions within contemporary debates regarding issues related to language and reality. This study concentrated on two issues: the conditions of linguistic signification, and the meanings of words and sentences. For the first issue, three perspectives emerged: the externalist view, the internalist view, and a perspective that rejected both external and internal factors in signification. Regarding the second issue, four perspectives were identified: an emphasis on sentence meaning, an emphasis on word meaning, an emphasis on both elements, and a rejection of both elements. These differing viewpoints on each issue highlighted the contradictions present in contemporary discussions on language and reality. As for Thao’s concept of the origin of language, this concept suggested that language emerged as part of human evolution, influenced by interactions with social and environmental circumstances within a materialist dialectic framework. This process initially occurred before the emergence of consciousness, which then arose from the use of the first signs. Thao’s conception offered a holistic view on the conditions of linguistic signification, asserting that interaction with social and environmental contexts is a necessary condition for language, and thus, signification depends on both internal and external factors. Additionally, Thao’s view presented an evolutionary perspective on language, positing that the meanings of words and sentences evolved due to specific conditions and purposes, with both words and sentences possessing their own significative power. Critical reflection on contemporary debates on language and reality, through Thao’s conception, suggested a new alternative approach: reconciling different opinions within a holistic framework that demonstrates the coevolution of language, humans, and the physical world.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleภาษาและความจริงในข้อถกเถียงร่วมสมัย: การสะท้อนคิดผ่านแนวคิดรากเหง้าภาษาของเจิ่นดึ๊กถ่าวen_US
dc.title.alternativeLanguage and reality in contemporary debates: critical reflection from Tran Duc Thao's concept of language originen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความขัดแย้ง (ปรัชญา)-
thailis.controlvocab.thashปรัชญา-
thailis.controlvocab.thashอรรถศาสตร์ (ปรัชญา)-
thailis.controlvocab.thashภาษา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัญหาเรื่องภาษาและความจริงในข้อถกเถียงร่วมสมัย, 2) เพื่อศึกษาแนวคิดรากเหง้าภาษาของเจิ่นดึ๊กถ่าว และ 3) เพื่อวิเคราะห์ข้อถกเถียงร่วมสมัยเรื่องภาษาและความจริงผ่านแนวคิดเรื่องรากเหง้าภาษาในปรัชญาของเจิ่นดึ๊กถ่าว งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสารและนำเสนอโดยรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในข้อถกเถียงร่วมสมัยปรากฏข้อเสนอต่อภาษาและความจริงที่ขัดแย้งกันโดยการวิจัยครั้งนี้กล่าวถึงข้อขัดแย้งต่อปัญหาสองปัญหา ปัญหาแรกคือปัญหาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความหมาย ปรากฏทรรศนะต่อสามแบบ ได้แก่ทรรศนะที่เชื่อว่าความหมายขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก, ทรรศนะที่เชื่อว่าความหมายขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน, และทรรศนะที่ปฏิเสธทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน อีกปัญหาคือปัญหาเรื่องคำและประโยค ปรากฏทรรศนะต่อปัญหานี้สี่แบบ ได้แก่ ทรรศนะที่ให้ความสำคัญกับประโยค, ทรรศนะที่ให้ความสำคัญกับคำ, ทรรศนะที่ให้ความสำคัญทั้งต่อคำและประโยค, และทรรศนะที่ไม่ความสำคัญต่อคำและประโยค ทรรศนะที่ขัดแย้งกันต่อปัญหาข้างต้นแสดงให้เห็นถึงทางเลือกต่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและความจริงที่ไม่ลงรอยกัน ส่วนแนวคิดรากเหง้าภาษาของเจิ่นดึ๊กถ่าวเสนอว่าการก่อรูปของภาษาเป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพตามแนวคิดวัตถุนิยมวิภาษวิธี กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นแรกสุดก่อนการมีสำนึก จากนั้นการใช้สัญญะทางภาษาตัวแรกจึงก่อให้เกิดสำนึกตามมาภายหลัง ข้อเสนอของถ่าวจึงแสดงให้เห็นถึงท่าทีแบบองค์รวมต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความหมาย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้ภาษาขึ้น ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในจึงส่งผลต่อความหมายทั้งคู่ นอกจากนี้ ข้อเสนอของถ่าวยังมีมุมมองเชิงวิวัฒนาการต่อภาษา ทั้งคำและประโยคจึงจะต้องเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการเพื่อตอบสนองต่อเหตุปัจจัยและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นทั้งสององค์ประกอบจึงต่างมีพลังในการสื่อความหมายทั้งสิ้น การสะท้อนคิดต่อข้อถกเถียงร่วมสมัยต่อภาษาและความจริงผ่านแนวคิดรากเหง้าภาษาจึงแสดงให้เห็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจต่อการอธิบายความสัมพันธ์ภาษาและ ความจริงด้วยการประนีประนอมข้อเสนอทั้งหลายเข้าไว้ด้วยกันผ่านกรอบแนวคิดแบบองค์รวมที่แสดงให้เห็นวิวัฒนาการร่วมระหว่างภาษา มนุษย์ และโลกทางกายภาพen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620131014-กานต์ ปุญสิริ.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.