Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79825
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำผึ้ง อินทะเนตร-
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ ทองสมนึกen_US
dc.date.accessioned2024-07-19T10:08:47Z-
dc.date.available2024-07-19T10:08:47Z-
dc.date.issued2024-05-27-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79825-
dc.description.abstractThis research aimed 1) to study characteristics and effect size of research studies that develop students’ soft skills. 2) to group the learning management methods of teachers who develop students’ soft skills. 3) To study the size of influence of research classified according to learning management methods in different groups that affect the development of students' soft skills. The study sample included 185 paper from graduate level theses published during 1981-2020. The effect size of research studies was calculated by using meta-analysis proposed by Glass. Data collected were characteristics of research studies and research results in the form of an effect size. Instruments used for data collection were research characteristics recording form and research quality evaluation form. Descriptive statistics were used for data analysis, including One-way ANOVA, One-way ANCOVA, analysis of the differences of the mean pairwise effect size (Post-Hoc Comparison) based on Bonferroni test, and multiple regression analysis The research findings were: 1) Effect size of research studies on student soft skills development. From a total of 185 studies, The major of researchers were female (80.54%). Most publications occurred between 2006-2010 (42.70%). The institutions producing the research were primarily in the central region (51.35%) and were mostly public/state universities (57.84%) with a focus on curriculum and instruction/learning management (53.51%). The studies aimed at education and development (69.73%) with the population/sample being mainly middle school students (37.30%). The type of research hypothesis was directional (56.76%), and data sources were mostly from samples (91.89%). The number of sample groups used in the research was primarily one group (61.62%) with simple random sampling (36.76%). The soft skills studied included thinking and problem-solving skills (38.38%) with a learning method of collaborative learning (31.89%). The duration of learning sessions was between 7-12 hours (34.59%), and the subject taught was social studies, religion, and culture (32.43%). The objectives of the learning plans included cognitive, psychomotor, and affective domains (45.41%). Group division was mostly by convenience (53.85%), with three types of learning management (50.27%), and more than two types of multimedia used (61.62%). Learning resources were within the classroom (46.09%), and there was information learning and management in the classroom (52.43%). Knowledge was applied (65.41%) with learning assessments through post-tests, worksheet checks, and behavior evaluations (57.84%). Post-teaching records were maintained (51.89%), and the tools used for data collection were mostly tests (81.03%). The quality of the tools was assessed through difficulty index, discrimination index, validity, and reliability (58.38%). The experimental design was primarily pre-experimental (66.49%). Basic statistics used in presenting results were mean and standard deviation (78.38%), and hypothesis testing was done using t-tests (92.43%) at a significance level of .05 (45.41%). The quality of most research was moderate (50.81%), and the average effect size (d) of all studies was 3.403, indicating that teachers' learning management methods significantly influenced students' soft skills. The distribution of effect size values was right-skewed (Sk=3.560), suggesting that most effect sizes were higher than the average. 2) The synthesis of methods for teachers' learning management that affect students' soft skills found that there are 12 types of learning activities. When grouped using latent class analysis, statistics and member numbers identified three distinct groups. Each latent group has the following unique characteristics: Latent Group 1: This group includes 63 studies, accounting for 34.054%, and is named "Classroom Interaction Group Focused on Positive Reinforcement." Latent Group 2: This group includes 87 studies, accounting for 47.027%, and is named "Interaction Group Focused on Problem-Solving Processes Linked to Real Life." Latent Group 3: This group includes 35 studies and is named "Collaborative Interaction Group Focused on Integrating Morality and Ethics." 3) The results of calculating the average effect size of research studies and the number of studies for each aspect of soft skills found the following: Communication and Human Relations Skills: Learning management using simulations/role-playing had the highest effect size (d = 9.167). Followed using media, technology, and innovation (d = 4.906) and Integrated approaches (d = 3.991), Teamwork and Leadership: Focus on using media, technology, and innovation (d = 4.958) Collaborative learning (d = 4.192) Knowledge-building/inquiry-based learning (d = 3.780), Thinking and Problem-Solving: Focus on using media, technology, and innovation (d = 4.331) Collaborative learning (d = 4.142) Questioning/coaching (d = 4.065), Work Ethics and Professionalism: Integrated approaches (d = 7.133) Collaborative learning (\bar{\mathrm{d\ }} = 4.302) Using activity sets/exercises (d = 3.655), Lifelong Learning and Information Management: (d = 3.771) Collaborative learning Theoretical/conceptual approaches (\bar{\mathrm{d\ }} = 2.587) Project-based/problem-solving approaches (d = 2.332)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อซอร์ปสกิลล์ของนักเรียนen_US
dc.title.alternativeA Meta-analysis of researches on teacher’s learning management methods affecting students’ soft skillsen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashการวิเคราะห์อภิมาน-
thailis.controlvocab.thashการเรียนรู้-
thailis.controlvocab.thashกิจกรรมการเรียนการสอน-
thailis.controlvocab.thashระบบการเรียนการสอน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะและค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่พัฒนาซอร์ปสกิลล์ของนักเรียน 2) เพื่อจัดกลุ่มวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่พัฒนาซอร์ปสกิลล์ของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลของงานวิจัยจำแนกตามวิธีการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มที่ต่างกัน ตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาที่พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2524 -2563 จำนวน 185 เรื่อง โดยคำนวณค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์อภิมานด้วยวิธีการของกลาส (Glass) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ เป็นข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยและผลการวิจัยที่อยู่ในรูปค่าขนาดอิทธิพล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA) การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลรายคู่ทำการทดสอบภายหลัง (Post–Hoc Comparison) ด้วยวิธีการของ Bonferroni การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะและค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่พัฒนาซอร์ปสกิลล์ของนักเรียน จากงานวิจัยทั้งหมด 185 เรื่อง นักวิจัยที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (80.54%) มีการพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ช่วงปี พ.ศ. 2549-2553 (42.70%) สถาบันที่ผลิตงานวิจัยอยู่ในภาคกลาง (51.35%) และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ/ในกำกับของรัฐ (57.84%) และ สาขาหลักสูตรและการสอน/การจัดการเรียนรู้ (53.51%) วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและพัฒนา (69.73%) ระดับการศึกษาของประชากร/ตัวอย่างระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (37.30%) ประเภทสมมติฐานของงานวิจัยแบบมีทิศทาง (56.76%) แหล่งข้อมูลมาจากกลุ่มตัวอย่าง (91.89%) จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 1 กลุ่ม (61.62%) การได้มาซึ่งตัวอย่างมาจากการสุ่มอย่างง่าย (36.76%) ซอร์ปสกิลล์มีการศึกษาทักษะการคิดและการแก้ปัญหา (38.38%) วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกัน (31.89%) ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ใช้ระยะเวลาระหว่าง 7-12 ชั่วโมง (34.59%) รายวิชาที่จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (32.43%) จุดประสงค์การเรียนรู้ของแผนวัดทั้งพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย (45.41%) การแบ่งกลุ่มมีการแบ่งกลุ่มตามอัธยาศัย (53.85%) มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 3 อย่าง (50.27%) สื่อผสมผสานมากกว่า 2 ชนิด (61.62%) มีการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน (46.09%) มีการเรียนรู้และจัดการสารสนเทศในชั้นเรียน (52.43%) มีการนำความรู้ไปใช้ (65.41%) วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ใช้การทดสอบหลังเรียน ตรวจใบงาน และประเมินพฤติกรรม (57.84%) มีการบันทึกหลังการสอน (51.89%) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยใช้แบบวัด (81.03%) การหาคุณภาพเครื่องมือหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ความตรง และความเที่ยงครบทั้ง 4 วิธี (58.38%) แบบแผนการทดลองขั้นต้น (66.49%) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (78.38%) และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ในการทดสอบ (92.43%) ระดับนัยสำคัญ .05 (45.41%) ค่าคุณภาพของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (50.81%) และมีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล (d) ของงานวิจัยทั้งหมด เท่ากับ 3.403 หมายความว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูส่งผลต่อซอร์ปสกิลล์ของนักเรียนโดยลักษณะการแจกแจงค่าขนาดอิทธิพลมีแนวโน้มเบ้ขวา (Sk=3.560) แสดงว่าค่าขนาดอิทธิพลส่วนใหญ่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของข้อมูล 2) ผลการสังเคราะห์สรุปวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อซอร์ปสกิลล์ของนักเรียน พบว่ามีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 12 รูปแบบ เมื่อนำมาจัดกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝง พบว่า ค่าสถิติและจำนวนสมาชิกจากการจำแนกกลุ่มที่แตกต่างกันจำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มแฝงมีลักษณะเด่นเฉพาะดังต่อไปนี้ กลุ่มแฝงที่ 1 มีจำนวนงานวิจัยกลุ่มนี้ 63 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 34.054 มีชื่อว่า “กลุ่มปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในชั้นเรียนเน้นการเสริมแรงทางบวก” กลุ่มแฝงที่ 2 มีจำนวนงานวิจัยกลุ่มนี้ 87 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 47.027 มีชื่อว่า “กลุ่มปฏิสัมพันธ์เน้นกระบวนการคิดแก้ปัญหาเชื่อมโยงกับชีวิตจริง” กลุ่มแฝงที่ 3 จำนวนงานวิจัยกลุ่มนี้ 35 เรื่อง มีชื่อว่า “กลุ่มปฏิสัมพันธ์ร่วมเน้นสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม” 3) ผลการหาค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของงานวิจัย และจำนวนงานวิจัยของซอร์ปสกิลล์แต่ละด้าน พบว่า ซอร์ปสกิลล์การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ มีค่าขนาดอิทธิพลของวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบใช้สถานการณ์จำลอง/บทบาทสมมติมากที่สุด (̅d = 9.167) รองลงมา แบบเน้นการใช้สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (d = 4.906) และแบบบูรณาการ (d = 3.991) การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ แบบเน้นการใช้สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (d = 4.958) แบบเรียนรู้ร่วมกัน (d = 4.192) แบบเน้นการสร้างความรู้/สืบเสาะหาความรู้ (d = 3.780) การคิดและการแก้ปัญหา แบบเน้นการใช้สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (d = 4.331) แบบเรียนรู้ร่วมกัน (d = 4.142) แบบใช้คำถาม/การโค้ช (d = 4.065) จริยธรรมในการทำงานและความเป็นมืออาชีพ แบบบูรณาการ (d = 7.133) แบบเรียนรู้ร่วมกัน (d = 4.302) แบบใช้ชุดกิจกรรม/ใช้แบบฝึก (d = 3.655) การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการจัดการข้อมูลสารสนเทศ แบบเรียนรู้ร่วมกัน (d = 3.771) แบบเน้นทฤษฎี/ใช้แนวคิด (d = 2.587) แบบโครงงาน/คิดแก้ปัญหา (d = 2.332)en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620232009-พัชราภรณ์ ทองสมนึก.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.