Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79727
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชราวรรณ ศีลธรรมพิทักษ์-
dc.contributor.advisorพิสัยศิษฏ์ ชัยจรีนนท์-
dc.contributor.authorนนท์นที ฉลองเกิ้อกูลen_US
dc.date.accessioned2024-07-13T08:08:02Z-
dc.date.available2024-07-13T08:08:02Z-
dc.date.issued2024-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79727-
dc.description.abstractObjectives: The purpose of this study was to compare bond strength between resin cement and sulfonated PEEK (SPEEK) after various surface cleaning techniques. Materials and Methods: One hundred and seventy-four sulfonated PEEKs were cleaned with five different techniques; deionized water, sonicated deionized water, 6%wt sodium hydroxide (NaOH), pure acetone and 10% Cocamido propyl betain (CAPB). Untreated PEEK was used as a control. Surface roughness, surface morphology and EDS analysis were assessed. The residual sulfuric acid was measured using Ion chromatography technique. RelyX U200 cement was bonded to every group; stored in 37°C for 24 hrs. SBS testing was performed using the universal testing machine. SBS data was statistically analyzed using One way ANOVA and Tukey’s post hoc test. Results: Sonicated Deionized water exhibited the highest SBS value however there was no significant difference to other groups. Acetone was the most effective cleaning technique to eliminate residual sulfuric acid on sulfonated PEEK. Conclusion: Pure acetone, sonicated water, 6% NaOH, and 10% CAPB could reduce the residual sulfuric acid from the sulfonated PEEK surface without affecting surface roughness, surface morphology, or SBS, between resin cement and sulfonated PEEK. Keywords: Sulfonated PEEK, surface cleaning, shear bond strength, residual sulfuric acid, polyetheretherketoneen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของวิธีการล้างพื้นผิวต่างๆ ต่อความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์กับซัลโฟเนตพีอีอีเคen_US
dc.title.alternativeEffect of various surface cleaning techniques on shear bond strength between resin cement and sulfonated PEEKen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเรซินทางทันตกรรม-
thailis.controlvocab.thashทันตวัสดุ-
thailis.controlvocab.thashซีเมนต์ทางทันตกรรม-
thailis.controlvocab.thashการยึดติดทางทันตกรรม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของวิธีการล้างพื้นผิวต่าง ๆ ภายหลังการปรับสภาพพื้นผิวด้วยกรดซัลฟูริกต่อความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์กับซัลโฟเนตพีอีอีเค วัสดุและวิธีการ: ชิ้นงานซัลโฟเนตพีอีอีเคจำนวน 174 ชิ้น ถูงแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ตามวิธีล้างพื้นผิวต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ แช่ด้วยน้ำปราศจาคไอออน สั่นด้วยน้ำปราศจาคไอออนภายใต้เครื่องอัลตราโซนิก แช่ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก แช่ด้วยอะซิโตนบริสุทธิ์ และ แช่ด้วยสารละลายโคคาไมโดโพรพิวบีเทน ร้อยละ 10 (CAPB) พีอีอีเคที่ไม่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวถูกใช้เป็นกลุ่มควบคุมในการทดสอบ หลังจากนั้นทุกกลุ่มจะได้รับการสุ่มเพื่อนำไปศึกษาความขรุขระผิว ตรวจสอบลักษณะของพื้นผิวระดับจุลภาคผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ร่วมกับวิเคราะห์ธาตุส่วนประกอบบนพื้นผิว และตรวจสอบปริมาณกรดซัลฟูริคหลงเหลือด้วยวิธีไอออนโครมาโทกราฟี (Ion chromatography) จากนั้นชิ้นงานที่เหลือกลุ่มละ 10 ชิ้นจะถูกนำไปยึดกับติดกับเรซินซีเมนต์เพื่อทดสอบค่าความแข็งแรงยึดเฉือนและศึกษาความล้มเหลวในการยึดติด ร่วมกับตรวจสอบลักษณะกายภาพในแนวตัดขวางระดับจุลภาคของการยึดติดด้วยวิธีหักด้วยความเย็น(cryofracture) ผลการศึกษาถูกทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยสถิติวิเคราะห์ความความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ร่วมกับการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มของตูกี (Tukey’s post hoc test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p < 0.05) ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มทดสอบที่สั่นด้วยน้ำปราศจาคไอออนภายใต้เครื่องอัตราโซนิกมีค่าความแข็งแรงยึดเฉือนสูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยทางสิถิติกับซัลโฟเนตพีอีอีเคกลุ่มอื่นๆ (p> 0.05) และการแช่ด้วยอะซิโตนบริสุทธิ์เป็นวิธีที่สามารถกำจัดกรดซัลฟูริกที่หลงเหลือบน ซัลโฟเนตพีอีอีเคได้ดีที่สุด โดยปริมาณกรดซัลฟูริคหลงเหลืออยู่น้อยที่สุด (p < 0.05) สรุปผลการศึกษา: การล้างด้วยอะซิโตนบริสุทธิ์ น้ำปราศจาคไอออนภายใต้เครื่องอัตราโซนิก สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และสารละลายโคคาไมโดโพรพิวบีเทน สามารถลดปริมารกรด ซัลฟูริกหลงเหลือบนพื้นผิวซัลโฟเนตพีอีอีเคได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์ กับ ซัลโฟเนตพีอีอีเค ความขรุขระผิว และลักษณะของพื้นผิวระดับจุลภาค คำสำคัญ: ซัลโฟเนตพีอีอีเค พอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตน วิธีการล้างพื้นผิว ความแข็งแรงยึดเฉือน พีอีอีเคen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620931042-นนท์นที ฉลองเกื้อกูล.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.