Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79708
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณวิทย์ อ่องแสวงชัย-
dc.contributor.authorธัชพล ใจคำen_US
dc.date.accessioned2024-07-12T00:54:25Z-
dc.date.available2024-07-12T00:54:25Z-
dc.date.issued2024-05-20-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79708-
dc.description.abstractThis research aims to clarify the formation and transformation of outer areas of the City Wall, Chiang Mai City from 1296 until the present, based on urban morphological approach by analyzing old maps and data from extensive field surveys. All collected data were mapped to explain the characteristics of these outer areas especially the development of road structure and distribution of urban elements. The study found that urbanization of the study areas began from the north side due to the warring conditions in the south of the city. Trade was a significant factor that catalyzed expansion of the city to the east by using the Ping River as a means for conveying goods. Urban elements on the east side thus were tied to the river and intertwined with the multi-ethnic people who came to trade forming multiple elements in the townscape of this commercial area, such as shophouses, markets and livings houses. On the other hand, the south side was developed from artisan communities associated with handicrafts, where vernacular houses scattering in the area are the main urban element making disorder pattern of urban structure to the present day. The west side was historically designated as a reserved area for forest and irrigation, therefore when the land was put into use, the well-organized urban structure was easily planned into the area due to the freedom to introduce new urban patterns. The area was soon developed to be a hub of educational facilities and government offices, following by new economic district in last several decades. The modern urban layout pattern on the west side thus resulted from the allocation of land plots for constructing large public buildings and facilities, separately surrounded by fences before the advent of orderly grid block pattern in the following period. The outer area of the city wall is constantly superimposed by the new development of the city from time to time, but upon newness, the frame of the original urban structure and urban elements that are the fundamental of the urban form still has been passed down to the present day.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการก่อรูปสัณฐานและองค์ประกอบเมืองของพื้นที่รอบนอกกำแพงเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeMorphological study of outer area of Chiang Mai city wall and its urban elementsen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashกำแพงเมือง -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashสถาปัตยกรรม-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาเมือง -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพื้นที่รอบนอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1839 จนถึงปัจจุบัน โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงสัณฐานวิทยาเมืองจากการวิเคราะห์เอกสารแผนที่เก่าและข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามด้วยการสร้างแผนที่แสดงพัฒนาการเพื่ออธิบายคุณลักษณะเฉพาะของพื้นที่ศึกษา โดยเฉพาะพัฒนาการของโครงสร้างและการกระจายตัวขององค์ประกอบเมือง ผลการศึกษาพบว่าการขยายตัวของเมืองเริ่มจากด้านทิศเหนืออันเป็นผลลัพธ์จากสภาวะสงครามทางตอนใต้ของเมือง จนกระทั่งบทบาททางการค้าจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เมืองเกิดการขยายตัวไปทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้าของเมืองที่หันออกสู่แม่น้ำ การจัดระเบียบองค์ประกอบของเมืองจึงยึดโยงกับแม่น้ำ และสัมพันธ์กับผู้คนหลากชาติพันธุ์ที่เข้ามาค้าขาย จนเกิดรูปแบบของสถาปัตยกรรมเพื่อการค้าและการอยู่อาศัยไปพร้อมๆ กัน เช่น เรือนค้า ห้องแถว และตึกแถวหลากหลายประเภท แตกต่างกับด้านทิศใต้ ที่ในอดีตพัฒนาขึ้นมาจากชุมชนที่เกี่ยวข้องกับช่างฝีมือ เรือนพักอาศัยพื้นถิ่นจึงเป็นองค์ประกอบหลักของการอยู่อาศัยที่ตั้งกระจัดกระจายไปตามตำแหน่งต่างๆ ภายในชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างของเมืองที่ไม่เป็นระเบียบตามมา ในขณะที่การจัดระเบียบพื้นที่เมืองสามารถสังเกตเห็นได้จากด้านทิศตะวันตก ที่ในอดีตถูกกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนและจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝาย ต่อมาเมื่อเกิดการเข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ จึงมีอิสระในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้มากกว่าด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการนำไปพัฒนาเป็นย่านสถานศึกษา สถานราชการ และเขตเศรษฐกิจใหม่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบผังเมืองสมัยใหม่ทางด้านทิศตะวันตกจึงเป็นผลมาจากการจัดสรรที่ดินสำหรับสร้างอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของเมืองที่แยกไปตามแนวรั้ว จนทำให้เกิดบล็อกของเมืองที่เป็นระเบียบตามมา พื้นที่รอบนอกกำแพงเมืองถึงแม้จะถูกทำให้ใหม่อยู่เสมอจากการพัฒนาเมืองในแต่ละช่วงเวลา แต่ก็เป็นความใหม่ที่อยู่ภายใต้กรอบของโครงสร้างและองค์ประกอบดั้งเดิมของเมืองที่ยังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันen_US
Appears in Collections:ARC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631731002-ธัชพล ใจคำ.pdf18.47 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.