Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกันยารัตน์ คอวนิช-
dc.contributor.authorจุรีวรรณ โพธิ์ศรีลาภen_US
dc.date.accessioned2024-07-06T09:21:00Z-
dc.date.available2024-07-06T09:21:00Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79631-
dc.description.abstractAs Thailand undergoes a demographic shift towards an aging society, Mae Mo District in Lampang Province has also entered this phase, resulting in an increasing dependency among the older population. The importance of oral health in relation to the overall well-being of dependent older individuals cannot be overstated. This study aimed to investigate the perspectives on oral health care among two key stakeholder groups: medical personnel at the primary care center in Mae Moh Hospital and caregivers in the long-term elderly care system in Mae Moh Subdistrict, Lampang Province. Using a qualitative research approach, semi-structured one-on-one interviews were conducted with a total of 24 participants. These participants were categorized into three groups: medical personnel (n=10), caregivers who completed a comprehensive 70-hour elderly care training course (n=9) using snowball technic selection, and family caregivers (n=5) who were specifically chosen for their insights. Transcriptions of all interviews were analyzed using content analysis, resulting in inductive conclusions. The study unveiled three fundamental themes that resonated across all participant groups 1.The Significance of Oral Health: Across the board, participants recognized that oral health played a vital role in the overall health of dependent older individuals, underlining its importance. 2. The confined nature of the oral cavity and the need for active patient cooperation. 3.Barriers to oral health care: participants identified several impediments to effective oral health care, including a lack of knowledge regarding oral care, an inadequate work system that failed to prioritize oral health, and limited access to essential equipment and resources. Understanding these diverse perspectives is essential for crafting a robust care system tailored to the oral health needs of dependent older individuals. This research provides a foundational understanding to integrate oral health care into primary care, thereby enhancing the efficacy of long-term care systems for the dependent older population and ultimately elevating their quality of life in the years to come.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: การศึกษาเชิงคุณภาพen_US
dc.title.alternativeThe Perspective of health professionals and caregivers on oral health care in dependent older adults: a qualitative studyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดูแลทันตสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashบุคลากรทางการแพทย์-
thailis.controlvocab.thashปาก -- การดูแลและสุขวิทยา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในปัจจุบันประเด็นสถานการณ์ด้านประชากรที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทยทำให้มีผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงสูงขึ้น รวมถึงอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ และเนื่องจากสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายโดยรวมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลผู้สูงอายุ นับได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุกลุ่มนี้ การศึกษานี้ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาถึงมุมมองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลแม่เมาะ รวมถึงผู้ดูแลผู้สูงอายุในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อช่วยให้ให้เกิดความเข้าใจถึงมุมมองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ เพื่อเป็นพื้นฐานในการบูรณาการการดูแลสุขภาพช่องปากเข้าสู่การดูแลในระดับปฐมภูมิต่อไป โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบตัวต่อตัวจากผู้ให้สัมภาษณ์ทั้ง 24 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลแม่เมาะทั้งหมด จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง จำนวน 9 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบลูกโซ่ (snowball technic) และกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในครอบครัวจำนวน 5 คน (จากจำนวนผู้สูงอายุติดเตียงตำบลแม่เมาะที่ยังมีชีวิตอยู่) ทุกการสัมภาษณ์ถูกถอดแบบคำต่อคำ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย จากผลการศึกษาพบว่าทั้งสามกลุ่มมีมุมมองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุแบ่งเป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆได้แก่ 1.มุมมองว่าสุขภาพช่องปากมีความสำคัญกับสุขภาพของผู้ป่วยโดยทั้ง 3 กลุ่ม เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากว่ามีผลกับสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2.มุมมองต่อธรรมชาติของการดูแลสุขภาพช่องปากว่าเป็นบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก เป็นพื้นที่ปิดและต้องการความร่วมมือจากผู้ป่วย 3.มุมมองต่ออุปสรรคต่างๆที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น การขาดองค์ความรู้ ระบบงานที่ไม่เน้นในเรื่องของการดูแลช่องปาก การขาดแคลนอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งการทำความเข้าใจในมุมมองต่างๆเหล่านี้อาจนำไปสู่การพัฒนาระบบงานการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อขับเคลื่อนระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงกับบริการปฐมภูมิโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพช่องปาก อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630931046จุรีวรรณ โพธิ์ศรีลาภ.pdf721.15 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.