Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79612
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ อินทนนท์-
dc.contributor.authorปัณฐ์ธนิต ใจทนen_US
dc.date.accessioned2024-07-04T01:19:27Z-
dc.date.available2024-07-04T01:19:27Z-
dc.date.issued2567-02-14-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79612-
dc.description.abstractThe purpose of this research aims to analyze the agency of Crossdresser’s in Thailand through perspective of Hannah Arendt within the theoretical framework of private space and public space. This research is a qualitative research. Researched through a books, articles, and research on agency, private and public space from the perspective of Hannah Arendt and research on crossdressing and interviewed 20 Thai crossdressers. The interview form used in the research was an in-dept interview consisting of a general information, life history, crossdressing, personal identity, social identity and Then, Hannah Arendt's philosophical ideas were used to analyze and explain the phenomenon of crossdressing. The research found that the agency of the crossdressers in the study group was their ability to express themselves through a body dressed as a woman and this body becoming a new identity. which has life and the ability to live in both areas. Within the private space, the new self has the ability to act freely. Within the public space, the new identity is unable to function truly independently amid obstacles through social relations that block the ability to express itself through dressing. This causes crossdressers to express themselves in a conciliatory way towards the situation in various ways. So that dressing in public space is possible and fulfills one's own happiness without harming others. However, a new identity that dresses as a woman is a new life. That is the result of learning the difference in conditions between true masculinity in the original body and femininity from clothing, women's situation and the people who interact with her as a woman. The results are consistent with Arendt's views because Arendt suggested that self-identification and rebirth occur within a public space where individuals present themselves to each other and learn otherness from themselves. However, research has also found that cross dressers can still express themselves within their private spaces.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleเอเจนซี่ของครอสเดรสประเทศไทยผ่านทัศนะของฮันนาห์ อาเรนดท์en_US
dc.title.alternativeThai cross-dresser's agency through Hannah Arendt perspectiveen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเสื้อผ้าและการแต่งกาย-
thailis.controlvocab.thashเสื้อผ้าและการแต่งกาย -- แง่สัญลักษณ์-
thailis.controlvocab.thashเสื้อผ้าสตรี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เอเจนซี่ของครอสเดรสประเทศไทยผ่านทัศนะของฮันนาห์ อาเรนดท์ ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยผ่านการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเอเจนซี่ พื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะในทัศนะของฮันนาห์ อาเรนดท์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับครอสเดรส และสัมภาษณ์ครอสเดรสหญิงไทย จำนวน 20 คน โดยแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept interview) ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ประวัติชีวิตโดยสังเขป การแต่งครอสเดรส ตัวตนส่วนตัวและตัวตนทางสังคม จากนั้นนำแนวคิดเกี่ยวกับเอเจนซี่ของ ฮันน่าห์ อาเรนดท์มาวิเคราะห์ประกอบการอธิบาย ผลการวิจัยพบว่าเอเจนซี่ของครอสเดรสกลุ่มศึกษาคือความสามารถในการแสดงตัวตนผ่านร่างที่แต่งเป็นหญิงและร่างนี้กลายเป็นตัวตนใหม่ ซึ่งมีชีวิตและมีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ในทั้งสองพื้นที่โดยภายในพื้นที่ส่วนตัวตัวตนใหม่มีความสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างเสรี ส่วนภายในพื้นที่สาธารณะตัวตนใหม่ดำเนินการได้อย่างไม่เป็นอิสระจริงท่ามกลางอุปสรรคผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมที่มาปิดกั้นความสามารถในการแสดงออกผ่านการแต่งเป็นหญิง ทำให้ ครอสเดรสเลือกแสดงออกอย่างประนีประนอมต่อสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยวิธีที่หลากหลายเพื่อให้การแต่งเป็นหญิงในพื้นที่สาธารณะเป็นไปได้และเติมเต็มความสุขส่วนตนได้โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งนี้ตัวตนใหม่ที่แต่งหญิงคือชีวิตใหม่ นั้นเป็นผลจากการเรียนรู้ความแตกต่างของสภาวะระหว่างความเป็นชายแท้ในร่างดั้งเดิมกับความเป็นผู้หญิงจากเสื้อผ้า สถานการณ์ของผู้หญิง และผู้คนที่ปะทะสังสรรค์กับเธอในฐานะที่เธอคือผู้หญิง ซึ่งผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับทัศนะของอาเรนดท์เนื่องจากอาเรนดท์ได้เสนอว่าการแสดงตัวตนและการเกิดใหม่ในโลกเกิดขึ้นได้ภายในพื้นที่สาธารณะที่ซึ่งปัจเจกบุคคลนำเสนอต่อกันและต้องศึกษาเรียนรู้ความเป็นอื่นจากตนเอง อย่างไรก็ตามงานวิจัยยังพบว่าภายในพื้นที่ส่วนตัวของครอสเดรสยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนได้อีกเช่นเดียวกันen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640131003 ปัณฐ์ธนิต ใจทน.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.