Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79548
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรินทร์ นำเจริญ-
dc.contributor.authorหทัยชนก สมมิตรen_US
dc.date.accessioned2024-06-21T10:09:31Z-
dc.date.available2024-06-21T10:09:31Z-
dc.date.issued2024-03-19-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79548-
dc.description.abstractResearch on “Ethics of Using Simulation Visuals On Air on Television News Program” is a quality research study. The objectives of the research are: 1. To study the factors in selecting news topics that affect the ethics of using graphic simulations in presenting television news through in-depth interviews with 4 news workers, including news editors and producers from 2 programs: Thairath News Show (Thairath TV) and Thub To Khao. (Amarin TV) and 2. To create guidelines for developing an ethical framework for using graphic simulations in appropriate television news presentations through in-depth interviews with 8 experts from 4 sample groups and focus groups and 10 media recipients. The results of the study found that Factors in selecting news topics that affect the ethics of using graphic simulations in television news presentations include factors within the organization, factors outside the organization and news value factors. Factors within the organization and factors outside the organization, the level of influence on news issue selection can be classified into 3 levels: very effective, moderately effective, and low effective. With Thairath News Show (Thairath TV), factors that have a great effect on the selection of news topics that affect the ethics of using graphic simulations are internal management factors, technology factors, professional ability factors, business and competitor factors, and audience demand factors. As for the factors that have a moderate effect on the selection of news topics that affect the ethics of using graphic simulations, are factors of events and the current situation. While factors that have little effect on the selection of news topics that affect the ethics of using graphic simulations is political factors. In comparison, with Thub To Khao news program (Amarin TV), factors that have a great impact on the selection of news topics that affect the ethics of using graphic simulations are internal management factors, technology factors, professional ability factors, competitor factors, and The needs of the recipient. While Factors that have a moderate effect on the selection of news topics for creating simulation graphics are current events and situations. And lastly, factors that have little effect on the selection of news topics that affect the ethics of using graphic simulations are political factors and business factors. Another factor affecting the selection of news topics that affects the ethics of using graphic simulations is the news value factor. The results of the study found that Principles of news value used as criteria for selecting news issues that affect the ethics of using graphic simulations of events. It will be divided into principles of news value that both programs use in common, consequence, suspense, human interest, conflict, immediacy of timeliness and proximity or nearness. As for the news value of oddity or unusualness, only Thairath News Show who use as a criterion for selecting news. Whilst the principles of news value that both programs did not use as criteria for selecting news in using graphics to prominence, sex, and progress. Ethical issues in using graphical simulations, the results of the research found that there were 5 items: accuracy, information source, objectivity, human rights, and individual rights. The issue on which experts and the public have the most consistent opinions is human rights, followed by information sources. For ethical guidelines for using graphic simulations in appropriate television news presentations. From the study, there were findings. “Model of ethical practices for creating graphic simulations of events in television news presentations” which is divided into 3 steps, Consisting of 1. The process of selecting news topics. The principles of ethics are public interest, trustworthiness of the source of information, 2. Steps in producing graphic simulations of events. The principles of ethics are accuracy in every aspect, objectivity, respect for human rights and respect for personal rights and 3. Presentation process in television programs. The principles of ethics is respect for human righten_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleจริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์en_US
dc.title.alternativeEthics of using simulation visuals on air on television news programen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashข่าวโทรทัศน์ -- แบบจำลอง-
thailis.controlvocab.thashการสื่อข่าวและการเขียนข่าว-
thailis.controlvocab.thashสถานีโทรทัศน์ -- ไทย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง “จริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์” เป็นงานวิจัยคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยในการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมในการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานข่าว จำนวน 4 คนประกอบด้วย บรรณาธิการข่าวและโปรดิวเซอร์ จาก 2 รายการคือ ไทยรัฐนิวส์โชว์ (ไทยรัฐทีวี) และทุบโต๊ะข่าว (อมรินทร์ทีวี) และ2. เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนากรอบจริยธรรมในการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ที่เหมาะสม ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน จาก 4 กลุ่มตัวอย่างและสนทนากลุ่ม ประชาชนผู้รับสื่อ จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยในการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมในการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ ประกอบด้วย ปัจจัยภายในองค์กร, ปัจจัยภายนอกองค์กร และปัจจัยด้านคุณค่าข่าว โดยปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร สามารถจัดระดับการมีผลต่อการคัดเลือกประเด็นข่าว ได้ 3 ระดับ คือ มีผลมาก, มีผลปานกลางและมีผลน้อย โดยรายการไทยรัฐนิวส์โชว์ (ไทยรัฐทีวี) ปัจจัยที่มีผลมากต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร, ปัจจัยด้านเทคโนโลยี, ปัจจัยด้านความสามารถทางวิชาชีพ, ปัจจัยด้านธุรกิจและคู่แข่ง, และปัจจัยด้านความต้องการของผู้รับสาร ส่วนปัจจัยที่มีผลปานกลางต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ ได้แก่ ปัจจัยเหตุการณ์และสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนปัจจัยที่มีผลน้อยต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง รายการทุบโต๊ะข่าว (อมรินทร์ทีวี) ปัจจัยที่มีผลมากต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมการใช้กราฟิกจำลอง เหตุการณ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี, ปัจจัยด้านความสามารถทางวิชาชีพ, ปัจจัยเหตุการณ์และสถานการณ์ปัจจุบัน, ปัจจัยด้านคู่แข่ง, ปัจจัยด้านกฎหมาย และปัจจัยด้านความต้องการของผู้รับสาร ส่วนปัจจัยที่มีผลปานกลางต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวในการทำกราฟิกจำลองเหตุการณ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร ส่วนปัจจัยที่มีผลน้อยต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวในการทำกราฟิกจำลองเหตุการณ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง และปัจจัยด้านธุรกิจ อีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ นั่นก็คือ ปัจจัยด้านคุณค่าข่าว ผลการศึกษาพบว่า หลักคุณค่าข่าวที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกประเด็นข่าวที่ส่งผลต่อจริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ จะแบ่งเป็นหลักคุณค่าข่าวที่ทั้งสองรายการใช้เหมือนกัน ประกอบด้วย ผลกระทบ, ความลึกลับมีเงื่อนงำ, ปุถุชนสนใจ, ความขัดแย้ง, ความสดและทันต่อเหตุการณ์และความใกล้ชิด ส่วนคุณค่าข่าวด้านความแปลก จะมีเพียงไทยรัฐนิวส์โชว์ที่นำมาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกข่าว และหลักคุณค่าข่าวที่ทั้งสองรายการไม่ได้นำมาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกข่าวในการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ ประกอบด้วย ความสำคัญหรือความเด่น, เพศ และความก้าวหน้า ปัญหาทางจริยธรรมในการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ ผลการวิจัยพบว่า มี 5 ข้อ คือ ความถูกต้อง, แหล่งข้อมูล, ความเที่ยงธรรม, สิทธิมนุษยชน และสิทธิส่วนบุคคล โดยปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนผู้รับสื่อมีความเห็นสอดคล้องกันมากที่สุดคือ สิทธิมนุษยชน รองลงมาคือ แหล่งข้อมูล สำหรับแนวทางจริยธรรมในการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ที่เหมาะสม จากการศึกษาได้ข้อค้นพบ “แบบจำลองแนวทางปฎิบัติจริยธรรมสำหรับการทำกราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์” โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.ขั้นตอนการคัดเลือกประเด็นข่าว โดยมีหลักจริยธรรมคือ ประโยชน์สาธารณะความน่าเชื่อถือแหล่งข้อมูล 2.ขั้นตอนการผลิตกราฟิกจำลองเหตุการณ์ โดยมีหลักจริยธรรมคือ ความถูกต้องรอบด้าน, ความเที่ยงธรรม, เคารพสิทธิมนุษยชนและการเคารพสิทธิส่วนบุคคล และ 3.ขั้นตอนการนำเสนอในรายการโทรทัศน์ โดยมีหลักจริยธรรมคือ การเคารพสิทธิมนุษยชนen_US
Appears in Collections:MASSCOMM: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621831006 หทัยชนก สมมิตร.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.