Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79515
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรารัตน์ บุญเจริญ-
dc.contributor.authorภาณุมาศ ปิวศิลป์ศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2024-06-18T10:21:26Z-
dc.date.available2024-06-18T10:21:26Z-
dc.date.issued2566-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79515-
dc.description.abstractObesity is one cause of sexual dysfunction. It induces erectile dysfunction and reduces semen quality. The roots of Eurycoma longifolia and seeds of Mucuna pruriens are used to promote sexual performance according to fork wisdom. However, there are few scientific research confirming their sexual promoting properties, especially in the form of herbal formulas mixed with plant extracts that have lipid-lowering efficacies. Therefore, this research investigated the effects of herbal formulas from the extracts of the roots of E. longifolia and the seeds of M. pruriens with plants that have lipid-lowering efficacy, such as stems of Albizia procera and Tinospora crispa and barks of Diospyros rhodocalyx in vitro and vivo models. For in vitro assays, we determined the penile erection-promoting effects of the aqueous and ethanolic extracts from the roots of E. longifolia and the seeds of M. pruriens by relaxing effects on corpus cavernosal smooth muscle, lipid-lowering effects by the inhibition of pancreatic lipase of the aqueous and ethanolic extracts from A. procera, T. crispa and D. rhodocalyx. We also determined the antioxidants and antioxidant activities in the aqueous and ethanolic extracts of the five medicinal plants. From the in vitro results, we found that the aqueous and ethanolic extracts from the roots of E. longifolia and A. procera, the aqueous extracts from the barks of D. rhodocalyx, seeds of M. pruriens and stems of T. crispa exhibited the best potentcy in relaxing corpus cavernosal smooth muscle, inhibiting pancreatic lipase and providing antioxidants. Therefore, these six extracts were used to prepare two herbal formulas. Formula 1 consisted of the ethanolic extracts from E. longifolia and A. procera and the aqueous extract of D. rhodocalyx, whereas formula 2 was composed of the aqueous extracts from E. longifolia, M. pruriens and T. crispa. Then, these two herbal formulas were used to test their enhancing sexual efficiency in obesity-induced male rats. Male rats were divided into seven groups. Groups 1-3 were normal rats and received normal diet, while groups 4-7 were induced to obesity by a high-fat diet for 2 months. Then, group 1 received distilled water (NDC), whereas group 2 and 3 received formula 1 (ND+F1) and formula 2 (ND+F1) at a dose of 120 mg/kg, respectively. Groups 4-7 received distilled water (HFC), formula 1 (HF+F1) and formula 2 (HF+F2) at a dose of 120 mg/kg, and clomiphene citrate (HF+CC) at 0.03 mg/kg, respectively. The oral treatment was done for 30 days. The results showed that the herbal formulas 1 and 2 could significantly (p<0.05) reduce courtship behavior and mount latency in obesity-induced rats compared to those of HFC groups. Moreover, formulas 1 and 2 could significantly (p<0.05) increase mount frequency in obesity-induced rats compared to those of HFC rats. However, the two herbal formulas did not reduce intercopulatory interval in obesity-induced rats. Furthermore, the two herbal formulas did not promote sexual behaviors in normal rats, whereas clomiphene citrate could restore sexual behaviors in obesity-induced rats by significant elevating (p<0.05) mount frequency compared to the HFC group. In addition, the herbal formulas markedly restored male reproductive functions of obesity-induced rats by increasing the levels of testosterone, testicular weight, sperm concentration, sperm viability, progressive movement of sperm, and normal sperm morphology. These two herbal formulas decreased estrogenic level and the number of immotile sperm compared the those of HFC rats. Nevertheless, the two formulas did not alter acrosome reaction compared to the NDC and HFC groups. Histopathological investigations in testicular, epididymal, seminal and prostatic tissues supported the above results. The two formulas and clomiphene citrate could restore the damages in these tissues of obesity-induced rats. They also reduced the amount of collagen fibers in the corpus cavernosum of obesity-induced rats. Moreover, the herbal formulas could reduce the levels total cholesterol, triglyceride, low-density lipoprotein and high-density lipoprotein in blood of obesity-induced rats compared to the HFC groups. The herbal formulas also ameliorated oxidative stress in reproductive tissues of obesity-induced rats by elevating superoxide dismutase activity in prostate gland as well as increasing catalase activity and glutathione level in epididymal tissues and serum and control the level of malondialdehyde in reproductive tissues. Safety evaluation of the herbal formula indicated that the two herbal formulas were safe in the experimental rats. They did not alter liver and kidney functions. Furthermore, these two formulas could restore the damages in hepatic and renal tissues of obesity-induced rats. From the results, it can be concluded that Thai herbal formulas developed from M. pruriens, E. longifolia, A. procera, D. rhodocalyx and T. crispa have potential as new phytotherapeutic agents for the enhancement of male sexual performance, especially in obesity induced sexual dysfunction.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาสูตรตำรับสมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศของหนูเพศผู้ที่ถูกชักนำให้อยู่ในภาวะอ้วนen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Thai herbal formulas for enhancing sexual efficiency of obesity-induced male ratsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashบุคคลน้ำหนักเกิน-
thailis.controlvocab.thashการรักษาด้วยสมุนไพร-
thailis.controlvocab.thashโรคอ้วน-
thailis.controlvocab.thashภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย โดยชักนำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และลดคุณภาพของน้ำเชื้ออสุจิ โดยรากปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia) และเมล็ดหมามุ่ย (Mucuna pruriens) เป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศตามภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันสรรพคุณในการส่งเสริมสมรรถภาพของพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด อยู่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของตำรับสมุนไพรที่ผสมกับสารสกัดจากพืชที่มีสรรพคุณลดไขมัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ทำการตรวจสอบฤทธิ์ส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศของสูตรตำรับสมุนไพรจากสารสกัดรากปลาไหลเผือกและเมล็ดหมามุ่ยกับพืชที่มีฤทธิ์ลดไขมัน ได้แก่ ลำต้นทิ้งถ่อน (Albizia procera) เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa) และเปลือกต้นตะโกนา (Diospyros rhodocalyx) ทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง สำหรับการตรวจสอบในหลอดทดลองได้ทำการตรวจสอบฤทธิ์ส่งเสริมการแข็งตัวขององคชาตจากฤทธิ์ คลายกล้ามเนื้อเรียบคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม (corpus cavernosum) ของสารสกัดน้ำและเอทานอลจากรากปลาไหลเผือกและเมล็ดหมาหมุ่ย ฤทธิ์ยับยั้งไขมันโดยทดสอบการยับยั้งเอนไซม์ pancreatic lipase ของสารสกัดน้ำและเอทานอลจากลำต้นทิ้งถ่อน เถาบอระเพ็ด และเปลือกต้นตะโกนา และตรวจสอบปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำและเอทานอลของสมุนไพร 5 ชนิด จากการตรวจสอบ พบว่าสารสกัดน้ำและเอทานอลของรากปลาไหลเผือกและลำต้นทิ้งถ่อน สารสกัดน้ำของเปลือกตะโกนา เมล็ดหมาหมุ่ย และเถาบอระเพ็ด มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการคลายกล้ามเนื้อเรียบ corpus cavernosum ยับยั้งเอนไซม์ pancreatic lipase และต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ดังนั้น จึงนำสารสกัดทั้ง 6 ชนิดนี้สร้างเป็นตำรับสมุนไพร 2 สูตร โดยสูตรตำรับสมุนไพรสูตร 1 ประกอบด้วยสารสกัดเอทานอลของรากปลาไหลเผือกและลำต้นทิ้งถ่อน และสารสกัดน้ำของเปลือกต้นตะโกนา ส่วนตำรับสมุนไพรสูตร 2 ประกอบด้วยสารสกัดน้ำของรากปลาไหลเผือก เมล็ดเมล็ดหมามุ่ย และเถาบอระเพ็ด จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพในการส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศของสูตรตำรับสมุนไพรในหนูเพศผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน โดยได้แบ่งหนูทดลองเพศผู้ออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มที่ 1-3 เป็นกลุ่มหนูปกติและได้รับอาหารปกติ ส่วนกลุ่มที่ 4-7 จะถูกชักนำให้อยู่ในภาวะอ้วนด้วยไขมันสูงเป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นกลุ่มที่ 1 จะได้รับน้ำกลั่น (NDC) ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับสูตรตำรับสมุนไพรสูตร 1 (ND+F1) และ 2 (ND+F2) ขนาด 120 mg/kg ตามลำดับ กลุ่มที่ 4-7 จะได้รับน้ำกลั่น (HFC) สูตรตำรับสมุนไพรสูตร 1 (HF+F1) และ 2 (HF+F2) ขนาด 120 mg/kg และยา clomiphene citrate (HF+CC) ขนาด 0.03 mg/kg ตามลำดับ ทำการให้สารทางปากนาน 30 วัน ผลการทดสอบพบว่า ตำรับสมุนไพรสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 มีผลลดระยะเวลาเกี้ยวพาราสี และเพิ่มระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการขึ้นคร่อมตัวเมียครั้งแรก ในหนูที่ชักนำให้อยู่ในภาวะอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับหนูกลุ่ม HFC นอกจากนี้ตำรับสมุนไพรสูตร 1 และ 2 ยังสามารถเพิ่มความถี่ในการขึ้นคร่อมตัวเมียในหนูที่ถูกชักนำอยู่ในภาวะอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่ม HFC อย่างไรก็ตามตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรไม่ได้มีผลลดระยะเวลาพักระหว่างการเข้าผสมพันธุ์ครั้งแรกกับครั้งถัดไปในหนูที่ถูกชักนำอยู่ในภาวะอ้วนได้ นอกจากนี้ตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรยังไม่มีผลส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศในหนูปกติอีกด้วย ในขณะที่ยา clomiphene citrate สามารถฟื้นฟูพฤติกรรมทางเพศในหนูที่ถูกชักนำอยู่ในภาวะอ้วนได้โดยการเพิ่มความถี่ในการขึ้นคร่อมตัวเมียได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม HFC นอกจากนี้ตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรยังช่วยฟื้นฟูการทางานของระบบสืบพันธุ์เพศชายของหนูอ้วนอย่างเห็นได้ชัด โดยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน น้ำหนักของอัณฑะ ความเข้มข้นของอสุจิ อัตรามีชีวิตรอดของอสุจิ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของอสุจิ และเพิ่มจำนวนอสุจิที่มีรูปร่างปกติได้ อีกทั้งสูตรตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรยังสามารถลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และจำนวนอสุจิที่ไม่เคลื่อนที่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่ม HFC อย่างไรก็ตามตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการเกิดปฏิกิริยาอะโครโซม (acrosome reaction) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม NDC และ HFC จากการตรวจสอบจุลพยาธิวิทยาในเนื้อเยื่ออัณฑะ หลอดเก็บอสุจิ ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ และต่อมลูกหมาก พบว่าตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรและยา clomiphene citrate สามารถฟื้นฟูความเสียหายในเนื้อเยื่ออวัยวะสืบพันธุ์ของหนูที่ถูกชักนำให้อยู่ในภาวะอ้วนได้ อีกทั้งยังลดปริมาณเส้นใยคอลลาเจนในกล้ามเนื้อเรียบ corpus cavernosum นอกจากนี้สูตรตำรับสมุนไพรยังแสดงฤทธิ์ในการลดระดับของ total cholesterol, triglyceride, low-density lipoprotein และ high-density lipoprotein ในหนูที่ถูกชักนำให้อยู่ในภาวะอ้วนได้เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่ม HFC นอกจากนี้สูตรตำรับสมุนไพรยังช่วยลดความเครียด ออกซิเดชั่นในเนื้อเยื่ออวัยวะสืบพันธุ์ของหนูที่ถูกชักนำให้อยู่ในภาวะอ้วนได้โดยการเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ superoxide dismutase ในต่อมลูกหมาก เช่นเดียวกับการเพิ่มการทางานของ catalase และระดับ glutathione ในเนื้อเยื่อหลอดเก็บอสุจิและซีรั่ม อีกทั้งยังควบคุมระดับของ malondialdehyde ในเนื้อเยื่ออวัยวะสืบพันธุ์ การตรวจสอบความปลอดภัยของสูตรตำรับสมุนไพรพบว่า สูตรตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรมีความปลอดภัยในหนูทดลอง โดยไม่มีผลเปลี่ยนแปลงดัชนีที่บ่งชี้การทำงานของตับและไต นอกจากนี้สูตรตำรับสมุนไพรทั้งสองสูตรยังสามารถฟื้นฟูความเสียหายในเนื้อเยื่อตับและไตของหนูที่ถูกชักนำให้อยู่ในภาวะอ้วนได้ จากผลการวิจัยจึงสรุปได้ว่าสูตรสมุนไพรไทยที่พัฒนามาจากเมล็ดหมามุ่ย รากปลาไหลเผือก ลำต้นทิ้งถ่อน เถาบอระเพ็ด และเปลือกต้นตะโกนามีศักยภาพเป็นสารพฤกษบาบัดในการส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่มีสาเหตุมาจากภาวะอ้วนen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640531048 ภาณุมาศ ปิวศิลป์ศักดิ์.pdf14.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.