Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79509
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorNongyao Nawarat-
dc.contributor.advisorPrasit Leepreecha-
dc.contributor.advisorPisith Nasee-
dc.contributor.authorWanida Lertvorapreechaen_US
dc.date.accessioned2024-06-17T17:06:04Z-
dc.date.available2024-06-17T17:06:04Z-
dc.date.issued2023-01-31-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79509-
dc.description.abstractGlobal Citizenship Education (GCE) and Multicultural Education (ME) have gained significant attention over the past several decades, both in Thailand and globally. However, there have been few studies conducted on education systems in a diverse context of the Thailand and Myanmar border which is a space where ambivalence of ethnic and linguistic identity among children and youth is prevalent. Emergencies, whether from conflict or otherwise, have had significant negative impacts on cultivating border/ cross-border citizenship and recognizing cultural diversity. Accordingly, the main purpose of this dissertation study was to 1) explore how GCE and ME are reflected in teaching and learning at migrant learning schools on the Thailand/Myanmar border by analyzing the Myanmar non-formal primary education (NFPE) curriculum materials and teachers' pedagogy. Also, 2) to understand the extent to which the curricula and the pedagogical practices of migrant learning centers (MLCs) cultivate citizenship or global citizenship and foster multicultural understanding. A qualitative methodology was employed in this study and the data were collected from documents, interviews and observations. This research used a purposive sampling technique to select the target groups which included the two migrant learning centers located in Mae Sot, Tak Province. Field work took place for two months (June-August 2020). The analysis revealed that the Myanmar NFPE curriculum materials were more oriented towards nationalism and the most common GCE representations in the curriculum were health and life skills health topics which were found to be more relevant to the specific needs in places affected by emergencies. Exploring the dimensions of critical pedagogy, findings showed that teachers' background as being ethnically marginalized, having cross-border experiences and cultural differences from the cultural nationalism had a significant impact on interpreting the curriculum and pedagogical practices in MLCs. A central implication is raising awareness through a dialogical approach should be reflected in a multicultural education. Cultivating global citizenship in the context of the Thailand and Myanmar border means four distinct goals: 1) GC as having survival skills, 2) GC as having freedom, 3) GC as building a home in a new country, and 4) GC as holding on to their identity. Despite that, the finding indicated that teachers’ pedagogy generally deemphasized critical discussions in a restrictive social political context and that most likely created citizenship dilemmas. Having a non-national citizenship recognized by any nation state can be painful for migrant students whose life circumstances took them away from their country of origin . This research suggests that the government sector and civil society on the border should collectively be involved in determining curriculum policy direction and teachers’ development programs. This is in order to cultivate global citizenship and promote multicultural understanding which can shed a light on the connection between the sense of belonging to the global community and citizenship that is relevant to the diverse context of the border. Moreover, further comparative study should be done in the context of Myanmar and other places affected by conflicts. Keywords: Global Citizenship Education (GCE), Multicultural Education (ME), Curriculum, Migration, Education on the Thailand/Myanmar Borderen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleCultivating global citizenship in Migrant Learning Centers on Thailand-Myanmar bordersen_US
dc.title.alternativeการบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติชายแดนไทย-เมียนมาen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshWorld citizenship-
thailis.controlvocab.lcshCultural pluralism-
thailis.controlvocab.lcshTransnational education-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาความเป็นพลเมืองโลกและพหุวัฒนธรรมศึกษาเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจทั้งในประเทศไทยและนานาชาติมาหลายทศวรรษ ทว่าไม่ค่อยมีงานศึกษาในประเด็นข้างต้นอย่างเป็นระบบในพื้นที่การศึกษา ในบริบทชายแดนไทยและเมียนมาซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและกำกวมในเชิงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์สัญชาติและภาษาของเด็กและเยาวชน รวมทั้งมีความเสี่ยงจากสภาวะความขัดแย้งทางการเมืองและผลกระทบอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการได้รับการบ่มเพาะความเป็นพลเมืองชายแดน/ข้ามแดน รวมทั้งการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ 1) เพื่อเผยให้เห็นแนวคิดการศึกษาความเป็นพลเมืองโลกและแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาผ่านการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษานอกระบบของประเทศเมียนมา (NFPE) และศาสตร์การสอนของครูในศูนย์การเรียนสำหรับเด็กนักเรียนข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนไทยและเมียนมา และ 2) เพื่อศึกษาการบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกและการสร้างความตระหนักรู้พหุวัฒนธรรมผ่านหลักสูตรและปฏิบัติการสอนในศูนย์การเรียนสำหรับเด็กนักเรียนข้ามชาติ การศึกษานี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต การวิจัยใช้เทคนิคแบบเจาะจงเลือกกลุ่มเป้าหมายประกบอด้วยศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 2 ศูนย์ ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การเก็บข้อมูลภาคสนามใช้ระยะเวลา จำนวน 2 เดือน (มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ. 2563) ผลการวิจัยมีข้อค้นพบสำคัญ คือ 1. หลักสูตรการศึกษานอกระบบของประเทศเมียนมายังเน้นถึงความเป็นชาตินิยม แต่มีประเด็นที่ปรากฎถึงความใส่ใจการบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกในหัวข้อสุขภาพและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากสภาวะฉุกเฉิน งานศึกษาในมิติศาสตร์การสอนเชิงวิพากษ์? ชี้ว่าภูมิหลังของครูในมิติชาติพันธ์ชายขอบ ประสบการณ์ลื่นไหลข้ามแดนและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากวัฒนธรรมรัฐชาติเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการตีความเนื้อหาหลักสูตรและปฏิบัติการสอนของครูในศูนย์การเรียนรู้ การสร้างความตระหนักรู้ผ่านศาสตร์การสอนแบบสนทนาใคร่ครวญทางพหุวัฒนธรรมศึกษา 2. การบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา มีเป้าหมายสำคัญและคุณลักษณะเฉพาะ ได้แก่ หนึ่ง ความเป็นพลเมืองที่มีทักษะของการมีชีวิตรอด สองความเป็นพลเมืองที่มีอิสรภาพ สามความเป็นพลเมืองที่ปรับตัวเข้าสู่ถิ่นฐานใหม่ และ สี่ความเป็นพลเมืองที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตนเอง อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบของการศึกษาชี้ว่า การสอนของครูโดยภาพรวมมักลดทอนและจำกัดการถกเถียงเชิงวิพากษ์ในบริบททางการเมืองและสังคมที่มีแนวโน้มสร้างความเจ็บปวด สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และการไม่มีสถานะพลเมืองของรัฐชาติใด ๆ ของผู้เรียนอันเนื่องมาจากการพลัดพรากจากถิ่นฐานบ้านเกิด การวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอว่า รัฐและภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนควรมีการกำหนดนโยบาย หลักสูตร และการพัฒนาครูร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างการบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกและสร้างความตระหนักรู้ทางพหุวัฒนธรรมที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงจิตสำนึกร่วมต่อการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโลกและความเป็นพลเมืองโลกที่มีความเหมาะสมกับความหลากหลายในบริบทพื้นที่ชายแดน นอกจากนี้ควรมีการศึกษาวิจัยในเชิงเปรียบเทียบในบริบทพื้นที่ประเทศเมียนมาและพื้นที่ความขัดแย้งอื่น ๆ คำสำคัญ: การศึกษาความเป็นพลเมืองโลก พหุวัฒนธรรมศึกษา หลักสูตร การอพยพ การศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600252004 วนิดา เลิศวรปรีชา.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.