Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79488
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์ | - |
dc.contributor.author | ขวัญพร ไวว่อง | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-06-06T00:40:28Z | - |
dc.date.available | 2024-06-06T00:40:28Z | - |
dc.date.issued | 2024-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79488 | - |
dc.description.abstract | A Study on the Communication Campaign in Solving Haze Problem of Chiang Mai Breathe Council aimed to explain the communication process of the Chiang Mai Breathe Council’s campaign to solve the haze problem. This was qualitative research. The data was collected from in-depth interviews with 5 personnel of Chiang Mai Breathe Council, including the president, vice president, campaign and academic staff, campaign and publicity staff, and communication staff, and the study of documents related to campaign communication information including information on Facebook pages and websites in the period 2021 - 2023. The research results showed that the communication process for the Chiang Mai Breathe Council’s campaign to solve the haze problem consisted of 3 steps: assessing the needs, goals, and ability to respond to the target group. It was found that the target audience was determined first which included the general public, the government sector, and network partners. Then there was the assessment of the target group which was divided into 2 levels: 1) The general public level which was an evaluation of the response from the Chiang Mai Breathe Council’s communication channels. 2) Government level and network partners which were assessed by discussion or meeting. For setting a campaign plan and creating media in a step-by-step manner, it was found that the planning was divided into 3 phases: a long-term plan is a plan that did not have a time limit but required long-term communication, a medium-term plan was a plan with a period of 2 years and a short-term plan with a period of not more than 1 year. The process of setting campaign plans and creating media in a step-by-step manner also consisted of 3 steps as follows: 1) Setting communication objectives for the campaign, including communication to reduce PM2.5 dust and haze problems, creating perception, understanding, and awareness which leading to behavior change and creating participation in solving problems in being a medium for coordinating collaboration with all sectors. 2) Designing strategies and producing campaign media consisting of dissemination channels or media used in the campaign including personal media, mass media, special media, activity media, and new media. Presentation formats included emphatic presentations, presentations with messages appropriate to the target group, presentations with a reliable message, presentations with messages in a variety of formats, and presentations through a variety of media as well as persuasive characteristics, including the use of reasoned messages related to feelings and persuasion using emotional points. Campaign evaluation was an evaluation for achieving communication objectives for the campaign which consisted of 1) Pre-campaign evaluation. It was an assessment of readiness in terms of those responsible for the project or plan, defining and planning activities including the budget. 2) Evaluation during the campaign. It was an area visit to survey the area for activities and prepare various related documents including media production to distribute on the Chiang Mai Breathe Council’s communication channels. In addition, there were meetings to report on the progress of activities or plans to understand the problems and obstacles that arose and find ways to solve the problem. 3) Evaluation after the campaign. It was an evaluation to know the results that arose from the operations that had passed. By measuring the feedback of personnel in the organization or the public in the communication channels of the Chiang Mai Breathe Council. 4) Future communication trends. It was to focus on communication on the sustainable solution of the dust and haze problem, increasing communication channels, communication on forest fire management, and focusing on the target group of farmers | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสภาลมหายใจเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Communication campaign in solving dust of Breath Council Chiang Mai | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ฝุ่น -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ฝุ่น -- การกำจัด | - |
thailis.controlvocab.thash | การควบคุมฝุ่น -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | มลพิษทางอากาศ -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่องการสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสภาลมหายใจเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสภาลมหายใจเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากบุคลากรของสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้แก่ ประธาน รองประธาน เจ้าหน้าที่รณรงค์และวิชาการ เจ้าหน้าที่รณรงค์และเผยแพร่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร จำนวน 5 ท่าน และการศึกษาจากแหล่งข้อมูลประเภทเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ รวมถึงข้อมูลในเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2566 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสภาลมหายใจเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน คือ การประเมินความต้องการ เป้าประสงค์ และความสามารถในการตอบสนองของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า มีการกำหนดผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งได้แก่ กลุ่มประชาชนทั่วไป ภาครัฐ และภาคีเครือข่าย จากนั้นคือ การประเมินกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับประชาชนทั่วไป เป็นการประเมินผลการตอบกลับจากช่องทางการสื่อสารของสภาลมหายใจเชียงใหม่ 2) ระดับภาครัฐและภาคีเครือข่าย เป็นการประเมินโดยการพูดคุยหรือการประชุม การกำหนดแผนการรณรงค์และสร้างสื่ออย่างมีขั้นตอน พบว่า มีลักษณะการวางแผนโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะยาวเป็นแผนที่ไม่ได้มีการกำหนดเวลาแต่ต้องการสื่อสารในระยะยาว แผนระยะกลางเป็นแผนที่มีกำหนดระยะเวลา 2 ปี และแผนระยะสั้นซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ ในขั้นตอนการกำหนดแผนการรณรงค์และสร้างสื่ออย่างมีขั้นตอน ยังประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ ได้แก่ การสื่อสารเพื่อลดปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 การสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักรู้ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การเป็นสื่อกลางในการประสานการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน 2) การออกแบบกลยุทธ์และการผลิตสื่อรณรงค์ ซึ่งประกอบไปด้วย ช่องทางการเผยแพร่หรือสื่อที่ใช้ในการรณรงค์ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อกิจกรรม และสื่อใหม่ อีกทั้งรูปแบบการนำเสนอ ได้แก่ การนำเสนอแบบการเน้นย้ำ การนำเสนอด้วยสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอด้วยสารที่น่าเชื่อถือ การนำเสนอสารในรูปแบบที่หลากหลาย และการนำเสนอผ่านสื่อที่หลากหลาย ตลอดจนลักษณะการโน้มน้าวใจ ได้แก่ การใช้สารที่เป็นเหตุผล สารที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก และการโน้มน้าวด้วยจุดจูงใจโดยใช้อารมณ์ การประเมินผลการรณรงค์ เป็นการประเมินเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ ซึ่งประกอบด้วย 1) การประเมินผลก่อนการรณรงค์ เป็นการประเมินความพร้อมในด้านผู้รับผิดชอบโครงการหรือแผนงาน การกำหนดและวางแผนกิจกรรม รวมถึงงบประมาณ 2) การประเมินผลระหว่างการรณรงค์ เป็นการลงพื้นที่เพื่อสำรวจพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม และจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ในช่องทางการสื่อสารของสภาลมหายใจเชียงใหม่ อีกทั้งการประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการทำกิจกรรมหรือแผนงาน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น พร้อมหาแนวทางในการแก้ไข 3) การประเมินผลหลังการรณรงค์ เป็นการประเมินเพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยการวัดจากผลตอบกลับของบุคลากรในองค์กรหรือจากสาธารณะในช่องทางการสื่อสารของสภาลมหายใจเชียงใหม่ 4) ตัวแบบการสื่อสารในอนาคต คือ เน้นการสื่อสารเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืน การเพิ่มช่องทางการสื่อสารโดยเน้นที่สื่อใหม่ การสื่อสารเรื่องของการจัดการไฟป่า และการเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเกษตรกร | en_US |
Appears in Collections: | MASSCOMM: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621831001 KHWANPORN WAIWONG.pdf | 13.92 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.