Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79468
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กันยารัตน์ คอวนิช | - |
dc.contributor.advisor | นฤมนัส คอวนิช | - |
dc.contributor.author | ทองปักษ์ นิลพันธุ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-05-14T01:00:29Z | - |
dc.date.available | 2024-05-14T01:00:29Z | - |
dc.date.issued | 2024-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79468 | - |
dc.description.abstract | Older people often experience oral health problems more frequently than other age groups, particularly with regard to tooth loss, which can significantly impact chewing efficiency and quality of life. Therefore, maintaining oral health and having access to dental services are crucial. However, it is often observed that the older adults face challenges in accessing dental services, especially in remote areas, due to travel difficulties and reliance on relatives for transportation. Health Promotion Hospitals, which are healthcare facilities located near one's residence, play a vital role in catering to the needs of the elderly. Unfortunately, many Health Promotion Hospitals in remote areas lack dental nurses, leading to a shortage of oral health services, such as in Pangmapha Health Promotion Hospital in the Pangmapha District of Mae Hong Son Province. Hence, this study aimed to 1) Investigate the model of dental services for older adults in Pangmapha Health Promotion Hospitals lacking dental nurses in remote areas and 2) Explore the components of dental services for the elderly in Pangmapha Health Promotion Hospitals lacking dental nurses in remote areas. This descriptive research utilized focus group discussions among stakeholders in remote areas across three Health Promotion Hospitals in the Pangmapha District, Mae Hong Son Province, along with the Delphi technique research. The aim was to gather consensus opinions from experts with knowledge or experience in the fields of geriatrics and dentistry, including public health officials from Health Promotion Hospitals, community health service centers in the Pangmapha District, Mae Hong Son Province, as well as officials working on policy in the District Health Office, District Hospital, and Provincial Public Health Office. Additionally, input was sought from a group of experts both within and outside the Mae Hong Son province. The results of this research study indicated that the model of dental services for the older adults in Health Promotion Hospitals lacking a dental nurse in remote areas should begin with fostering a positive attitude towards oral health care among the older themselves, with support from their families and communities. Establishing mobile dental service units in the area could be beneficial, potentially integrating these units with efforts targeting Non-Communicable Diseases (NCDs). In cases where this integration is not feasible, officials and village health volunteers in the area should develop management guidelines and provide appropriate information to the older before they visit the hospital to receive services. These initiatives aim to achieve the overarching health goal in the area, which is to enhance the quality of life for the older people. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | en_US |
dc.subject | Pangmapha Health Promotion Hospitals | en_US |
dc.subject | Older Adults | en_US |
dc.title | รูปแบบการให้บริการทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน | en_US |
dc.title.alternative | Dental services model for older adults of Pangmapha Health Promotion Hospitals in Pangmapha District, Mae Hong Son Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ผู้สูงอายุ -- การดูแลทันตสุขภาพ -- แม่ฮ่องสอน | - |
thailis.controlvocab.thash | ฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล -- แม่ฮ่องสอน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ผู้สูงอายุมักพบปัญหาโรคในช่องปากมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องการสูญเสียฟัน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและคุณภาพชีวิต การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การเข้าถึงบริการทางทันตกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมักพบว่าผู้สูงอายุขาดการเข้าถึงบริการทันตกรรมอยู่เสมอโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล เนื่องจากปัญหาการเดินทาง การเคลื่อนไหวลำบาก และการพึ่งพาญาติมาส่ง ดังนั้น รพ.สต.ซึ่งเป็นสถานบริการสุขภาพใกล้บ้านจึงมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม รพ.สต.ในพื้นที่ห่างไกลมักไม่มีทันตาภิบาลประจำในพื้นที่ จึงทำให้ขาดการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพช่องปาก ดังเช่น รพ.สต. ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุใน รพ.สต. ที่ไม่มีทันตาภิบาลบนพื้นที่ห่างไกล และ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการให้บริการทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในรพ.สต. ที่ไม่มีทันตาภิบาลบนพื้นที่ห่างไกล งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) ในกลุ่มประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ห่างไกลใน 3 รพ.สต. ในเขตอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับการใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ในการรวบรวมข้อคิดเห็นที่เป็นฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการทำงานด้านผู้สูงอายุและทันตกรรม ในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ รพ.สต. สสช.ในเขตอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานด้านนโยบายใน สสอ. รพช. สสจ. และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งภายในและนอกจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า รูปแบบการให้บริการทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุใน รพ.สต. ที่ไม่มีทันตาภิบาลบนพื้นที่ห่างไกล ควรเริ่มต้นจากการมีทัศนคติที่ดีต่อดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองของผู้สูงอายุ โดยมีครอบครัวและชุมชนคอยสนับสนุน มีการออกหน่วยให้บริการทันตกรรมในพื้นที่ โดยอาจผสานการออกหน่วยบริการร่วมไปกับงานโรคไม่ติดต่อ (Non Communicable Disease: NCDs) หากไม่สามารถออกหน่วยในพื้นที่ได้ เจ้าหน้าที่และอสม.ในพื้นที่ ควรมีแนวทางการจัดการ ให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุก่อนเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาล นำไปสู่เป้าหมายทางสุขภาพที่ต้องการในพื้นที่คือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ | en_US |
Appears in Collections: | DENT: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620931047 นายทองปักษ์ นิลพันธุ์.pdf | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.