Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79466
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรวรรธ ทรายใจ | - |
dc.contributor.advisor | ณพล หงสกุลวสุ | - |
dc.contributor.author | นันท์ณภัส ถาวงค์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-05-14T00:40:20Z | - |
dc.date.available | 2024-05-14T00:40:20Z | - |
dc.date.issued | 2024-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79466 | - |
dc.description.abstract | This research aims to investigate the environmental Kuznets curve hypothesis from the relationship among carbon emissions, international crude oil prices, total factor productivity (TFP), research and development (R&D), and international trade balance in the US. The data was collected in term of annual time series data from 1970 to 2021. We analyze by using the Autoregressive distributed lag (ARDL) model and employ the Impulse Response Function to uncover the short-term dynamic relationships. Lastly, we conduct Granger Causality Tests to investigate the lead and lag variables. The study results reveal a two-way relationship between carbon emissions and TFP, and identified oil prices as causes of carbon emissions, while carbon emissions influenced trade balance. In the short-term, the impact of all variables has minimal effect on carbon emissions. Changes in TFP and R&D influenced by carbon emissions had persistent negative effects, while oil prices and trade balance had modest, long-term positive impacts on emission volatility. In the long term, the effect on carbon emission from all variables is bigger than the effect in short-term, especially the effect of TFP. However, oil price doesn’t have a significant impact on carbon emission and carbon emission has minimal effects on TFP and R&D but significantly impacted trade balances. Therefore, the economic growth of the United States using total factor productivity as an indicator demonstrates the acceptation of the Environmental Kuznets Curve (EKC) hypothesis. These findings emphasize increasing in TFP and investment in R&D are crucial for mitigating emissions and highlight the importance of enhancing total factor productivity and investing in research and development to mitigate carbon emissions in the long run. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การตรวจสอบสมมติฐานเส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์: หลักฐานเชิงประจักษ์จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ราคาน้ำมันโลก ผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม การวิจัยและพัฒนา และดุลการค้าระหว่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา | en_US |
dc.title.alternative | Investigating the environmental Kuznets curve hypothesis: Empirical study on the relationships among carbon emissions, international crude oil prices, total factor productivity, research and development, and international trade balance in US | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | สิ่งแวดล้อม -- สหรัฐอเมริกา | - |
thailis.controlvocab.thash | คาร์บอน -- สหรัฐอเมริกา | - |
thailis.controlvocab.thash | ปิโตรเลียม -- สหรัฐอเมริกา | - |
thailis.controlvocab.thash | ปัจจัยการผลิต -- สหรัฐอเมริกา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อตรวจสอบสมมติฐานเส้นโค้งด้านสิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์ จากความสัมพันธ์ระหว่างการปล่อยคาร์บอน ราคาน้ำมันโลก ผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม (ทีเอฟพี) การวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) และดุลการค้าระหว่างประเทศในสหรัฐอเมริกา ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลอง Autoregressive distributed lag (ARDL) และใช้ Impulse Response Function เพื่อช่วยขยายให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงพลวัตในระยะสั้น พร้อมทั้งใช้ Granger Causality เพื่อช่วยตรวจสอบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กัน (lead and lag variables) โดยใช้อนุกรมเวลาประจำปีตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2021 เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์สองทางระหว่างการปล่อยคาร์บอนและทีเอฟพี นอกจากนั้นยังพบว่า ราคาน้ำมันโลกเป็นตัวกำหนดการปล่อยคาร์บอน ในขณะที่การปล่อยคาร์บอนนั้นเป็นตัวกำหนดดุลการค้าระหว่างประเทศ ในระยะสั้น ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจทั้งหมดต่อการปล่อยคาร์บอนยังมีขนาดเล็ก ส่วนการเปลี่ยนแปลงในทีเอฟพีและอาร์แอนด์ดีที่ได้รับอิทธิพลจากการปล่อยคาร์บอนมีผลกระทบเชิงลบอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาน้ำมันโลกและดุลการค้าระหว่างประเทศมีผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวเล็กน้อยต่อความผันผวนของการปล่อยคาร์บอน นอกจากนี้ ในระยะยาวพบว่า ผลกระทบต่อการปล่อยคาร์บอนจากตัวแปรทั้งหมดมีขนาดมากกว่าผลกระทบในระยะสั้น โดยเฉพาะผลกระทบของ ทีเอฟพี อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันโลกกลับไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการปล่อยคาร์บอน และการปล่อยคาร์บอนยังมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อเอฟพีและอาร์แอนด์ดี แต่กลับส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อดุลการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น จากการที่ค่าพารามิเตอร์ของทีเอฟพีในระยะยาวส่งผลกระทบทางลบต่อการปล่อยคาร์บอนมากกว่าในระยะสั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาโดยใช้ผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมเป็นตัวบ่งชี้จึงแสดงให้เห็นถึงการยอมรับสมมติฐานเส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์การค้นพบนี้เน้นย้ำให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม และการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และรักษาสภาพแวดล้อมในระยะยาว | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
651631003_Nunnapat_Tawong.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.