Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79400
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชาลินี สุวรรณยศ | - |
dc.contributor.advisor | หรรษา เศรษฐบุปผา | - |
dc.contributor.author | ศิริพร ธรรมราช | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-01-12T02:41:13Z | - |
dc.date.available | 2024-01-12T02:41:13Z | - |
dc.date.issued | 2566-11-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79400 | - |
dc.description.abstract | Alcohol dependence can be caused by physical, cognitive, and behavioral abnormalities which impact people’s work life in society. Therefore, reducing or stopping drinking is important for this group of patients. The purpose of this study was to examine the effectiveness of implementing the brief version of the Phonelink program among persons with alcohol dependence in Nabuo sub-district health-promoting hospital, Udon Thani province, during January to March 2023. The 36 participants were purposively selected and included 16 persons with alcohol dependence, 16 relatives or caregivers of persons with alcohol dependence, and 4 healthcare team members who worked at Nabua sub-district health promoting hospital and implemented the program. The instruments used in this study were: 1) the brief version of the Phonelink program (Sethabouppha, Rasamisuwiwat, and Thepprasong, 2015); 2) a demographic data questionnaire for participants; 3) the Alcohol Use Disorders Identifications test; 4) the Timeline Follow Back; 5) the readmission data record form in the hospital database system (Nabua sub-district health promoting hospital); 6) the Opinion of Persons with Alcohol Disorders questionnaire; 7) the Opinion of Caregivers of Persons with Alcohol Disorders questionnaire; and 8) the Opinion of Health Care Team Members questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics. The results of this study revealed that: 1. After one month of attending the brief version of the Phonelink program, the persons with alcohol dependence decreased their heavy drinking days from 12.12 days to 7.31 days, and stopped drinking days increased from 9.5 days to 13.5 days. 2. After one month of undergoing the brief version of the Phonelink program, 14 of the persons with alcohol dependence reduced their drinking behavior, and none of them were re-admitted to the hospital. 3. All healthcare personnel were satisfied with use of the brief version of the Phonelink program for persons with alcohol dependence and agreed with all dimensions of perception that the program benefits their practice, the persons with alcohol dependence, and those persons’ relatives. The program was appropriate for practice in the organization, and there was overall satisfaction with the program as implementation. 4. All persons with alcohol dependence who attended the brief version of the Phonelink program were satisfied with all aspects and felt that this program benefited them in reducing or stopping their drinking; satisfaction with the program was at the highest level. 5. All relatives of caregivers of persons with alcohol dependence who received the brief version of the Phonelink program were satisfied with receiving the program in all aspects including benefits for themselves, benefits for the persons with alcohol dependence whom they were taking care of, and convenience in receiving care; satisfaction with the program was at the high to highest level. The study findings indicated that all persons with alcohol dependence undergoing this brief version of the Phonelink program could change their alcohol-drinking behavior in a positive direction, both in reduction of heavy drinking days and hospital re-admission rates. Therefore, the implementation of the brief version of the Phonelink program should be expanded in the public health care system. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | โปรแกรมโทรถามตามเยี่ยม | en_US |
dc.subject | โรคติดสุรา | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้นในผู้ที่เป็นโรคติดสุรา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาบัว จังหวัดอุดรธานี | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of implementing the brief version of the Phonelink program among persons with alcohol dependence, Nabuo Sub-district Health Promoting Hospital, Udon Thani Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาบัว | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ติดสุรา -- การดูแล | - |
thailis.controlvocab.thash | บริการทางการแพทย์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ติดสุรา -- อุดรธานี | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ผู้ที่เป็นโรคติดสุราก่อให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกาย ความคิดและพฤติกรรมส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตในสังคม การช่วยลดหรือหยุดการดื่มสุราจึงมีความสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้นในผู้ที่เป็นโรคติดสุรา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาบัว จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือน มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ 2566 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 36 คน ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคติดสุรา จำนวน 16 คน ญาติหรือผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคติดสุรา จำนวน 16 คน และทีมดูแลสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาบัว จังหวัดอุดรธานี จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1)โปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้น (หรรษา เศรษฐบุปผา, จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์, และสกาวรัตน์ เทพประสงค์, 2558) 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา 4) การประเมินพฤติกรรมการดื่มสุราโดยติดตามเป็นช่วงเวลา 5) แบบบันทึกข้อมูลการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาบัว 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่เป็นโรคติดสุราในการได้รับโปรแกรม 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของญาติหรือผู้ดูแลของผู้ที่เป็นโรคติดสุราในการได้รับโปรแกรม และ 8) แบบสำรวจความคิดเห็นของทีมดูแลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ภายหลังได้รับโปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้น 1 เดือนผู้ที่เป็นโรคติดสุรามีวันดื่มหนักเฉลี่ยลดลงจาก 12.12 วัน เป็น 7.31 วัน และมีวันหยุดดื่มเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 9.50 วัน เป็น 13.50 วัน 2. ภายหลังสิ้นสุดการได้รับโปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้น 1 เดือน ผู้ที่เป็นโรคติดสุรามีพฤติกรรมการดื่มสุราลดลงจำนวน 14 คน และทุกรายไม่มีการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล 3. ทีมดูแลสุขภาพผู้ใช้โปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้นทุกราย มีความเห็นว่าโปรแกรมมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานต่อผู้ที่เป็นโรคติดสุราและญาติ มีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในหน่วยงาน และมีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการใช้โปรแกรม 4. ผู้ที่เป็นโรคติดสุราที่ได้รับโปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้นทุกราย มีความคิดเห็นว่าโปรแกรมมีประโยชน์ต่อการ ลด ละ เลิกการดื่มสุรา และมีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการใช้โปรแกรมในระดับมากที่สุด 5. ญาติหรือผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคติดสุราที่เข้าร่วมโปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้นทุกราย มีความเห็นว่าโปรแกรมมีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคติดสุราและญาติหรือผู้ดูแล มีความสะดวกต่อตนเองและผู้ที่เป็นโรคติดสุราในความดูแล และมีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการได้รับโปรแกรมในระดับมากถึงมากที่สุด ผลของการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เป็นโรคติดสุราทุกรายที่ได้รับการดูแลด้วยโปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้น สามารถช่วยให้มีพฤติกรรมการดื่มสุราปรับเปลี่ยนในทางที่ดี มีจำนวนวันดื่มหนักลดลง และลดการกลับมารักษาซ้ำภายในโรงพยาบาลได้ และทีมดูแลสุขภาพพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม จึงควรนำโปรแกรมโทรถามตามเยี่ยมฉบับสั้นในผู้ที่เป็นโรคติดสุราไปใช้และขยายผลในระบบบริการสาธารณสุขต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231149 ศิริพร ธรรมราช.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.