Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79398
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ เรืองศรี-
dc.contributor.authorทศพล กรรณิกาen_US
dc.date.accessioned2024-01-11T10:21:47Z-
dc.date.available2024-01-11T10:21:47Z-
dc.date.issued2023-12-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79398-
dc.description.abstractThe political legacy of the Cold War has turned Mae Chaem a space where the Thai state has asserted control over resource management. This includes Evaluation of Mae Chaem Watershed Development Project, the state promotion of cash crop cultivation, the expansion of public utilities, and the permission for the capitalist regime to play a role in resource management. Consequently, it gave rise to popular political movements to address problems such as the management of agricultural yields, household debt, land tenure rights, etc. The case of the Wat Chan pine forest concession dispute opened the curtain on violent conflicts between the state and local residents, propelling the residents of the Mae Chaem watershed and the Wat Chan Pga k’ nyau (Karen) network to form a people's organization called the Hug Muang Chaem Group. While running the campaign against the Wat Chan pine forest concession, the Hug Mueang Chaem Group collaborated with a network of non-governmental organizations (NGOs) in civil society politics. After the Wat Chan pine forest concession campaign, the Hug Muang Chaem Group was incorporated into the civil society network, continuing the work on resource management and environmental issues. The intensifying popular political movement and civil society politics that emerged in the early 1990s continued to play a role until the mid-2010s. In the late 1990s, amid the commemoration of the 700th anniversary of Chiang Mai, the civil society in Chiang Mai borrowed the idea of local wisdom and combined it with the globalization trend after the 1997 economic crisis. This gave rise to Lannaism movement Chiang Mai, or the Lanna Heritage Network, which eventually led to the establishment of Lanna Wisdom School. Influenced by the intellectual activities of the Lanna Wisdom School, interested NGOs also organized events that brought in not only the knowledge but also local sages from Mae Chaem. Even though the Mae Chaem sages were not the only represented group, these events helped feature Mae Chaem as a cultural space, especially to visualize the Western Lanna aesthetics in Mae Chaem as exemplified by the way of life of only few communities in the Mae Chaem watershed. After the 2014 coup d'état, the Pracharat Policy created by the Thai state has become an important instrument for entirely controlling resources and political power. The Pracharat Policy has defined a structure in which power is preserved for those at the top level, which then controls the people and civil society at the bottom level. This means that the state has full power to command via the implementation of the Pracharat Policy, leading to the creation of the Mae Chaem Model (smoke and fire problems) and Mae Chaem Model Plus (land tenure problems, household debt problems). Ultimately, the two Mae Chaem Model projects have implicitly shown that the people and civil society are only tools that those in power use in social action, which has not been successful according to the objectives of the projects. There have also been cases of power reshuffling and power struggle within the operational network of the Pracharat Policy, in which local people were not the driving force in decision-making. The continuity and change of knowledge and knowledge practice of all social groups have led to the political arrangement in the Mae Chaem watershed communities. This is consistent with the hypothesis that the movement of the four social forces has a relationship as a social network, forming new social activities in each period. The construction of the four social forces has made Mae Chaem a political arena through social action. This research shows the continuity of social action that has occurred with the Mae Chaem watershed communities in relation to social structure, economic base, and politics from the local to the national level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประกอบสร้างสังคมแม่แจ่มระหว่าง พ.ศ. 2530 - 2563en_US
dc.title.alternativeConstruction of Mae Chaem Society During 1987-2020en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาทางการเมือง -- แม่แจ่ม (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashวัฒนธรรมทางการเมือง -- แม่แจ่ม (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการเมืองอัตลักษณ์ -- แม่แจ่ม (เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractมรดกทางการเมืองหลังสงครามเย็นทำให้แม่แจ่มเป็นพื้นที่ที่รัฐไทยเข้ามามีอำนาจในการจัดการทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจโดยโครงการของรัฐ การขยายระบบสาธารณูปโภคและเปิดโอกาสให้ระบอบทุนเข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากรด้วย จึงเป็นที่มาของการเคลื่อนไหวของ กระแสการเมืองภาคประชาชน เช่น ปัญหาผลผลิตทางการเกษตร ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ปัญหาสิทธิในที่ดินทำกิน ฯลฯ กรณี ปัญหาสัมปทานป่าสนวัดจันทร์เป็นการเปิดม่านความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐและชาวบ้านในพื้นที่ จนทำให้เกิดปฏิบัติการทางสังคมของชาวบ้านพื้นที่ราบลุ่มน้ำแม่แจ่ม เครือข่ายชาวปกาเกอะญอวัดจันทร์ ก่อตัวเป็นองค์กรภาคประชาชน คือ กลุ่มฮักเมืองแจ๋ม ขณะเดียวกันภายใต้ปฏิบัติการต่อต้านสัมปทานป่าสนวัดจันทร์กลุ่มฮักเมืองแจ๋มร่วมกับเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน ในกระแสการเมืองภาคประชาสังคม หลังเสร็จสิ้นภารกิจค้านสัมปทานป่าสนวัดจันทร์บทบาทของกลุ่มฮักเมืองแจ๋มจึงผนวกเข้ากับเครือข่ายภาคประชาสังคม เคลื่อนไหวประเด็นการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความเข้มข้นของกลุ่มพลังทางสังคมในกระแสการเมืองภาคประชาชนและการเมืองภาคประชาสังคมก่อตัวขึ้นมาในช่วงราวต้นทศวรรษ 2530 และมีบทบาทอย่างต่อเนื่องจนถึงกลางทศวรรษ 2550 ปลายทศวรรษ 2530 ภายใต้บริบทวาระครบรอบเชียงใหม่ 700 ปี ภาคประชาสังคมในเชียงใหม่จึงหยิบยืมชุดความคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสานกับกระแสโลกาภิวัตน์หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 จนก่อตัวเป็นกระแสล้านนานิยมในเชียงใหม่ หรือเป็นที่รู้จักกันในเครือข่ายสืบสานล้านนา จนกระทั่งก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาขึ้น ภายใต้กิจกรรมภูมิปัญญาล้านนาของเครือข่ายโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา กลุ่มนักพัฒนาเอกชนที่สนใจด้านภูมิปัญญาจัดกิจกรรม ผ่านการนำเอาชุดข้อมูล ความรู้ และปราชญ์ชาวบ้าน จากแม่แจ่มเข้าไปเป็นวิทยากร แม้จะกิจกรรมทั้งหมดจะไม่ได้มีปราชญ์ชาวบ้านจากแม่แจ่มเพียงพื้นที่เดียว แต่ปฏิบัติการนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการเผยตัวของแม่แจ่มในฐานะพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการทำให้เห็นภาพแม่แจ่มในทางสุนทรียะล้านนาตะวันตก มีตัวอย่างวิถีชีวิตของกลุ่มชุมชนพื้นที่ราบลุ่มน้ำแม่แจ่มเพียงไม่กี่ชุมชนเป็นภาพแทน ภายหลังรัฐประหาร 2557 นโยบายประชารัฐที่รัฐไทยได้สร้างขึ้น ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมทรัพยากรและอำนาจทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ นโยบายประชารัฐได้กำหนดโครงสร้างให้การควบคุมอำนาจอยู่ที่อำนาจฐานบน ขณะที่ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมอยู่ในฐานล่างสุด ซึ่งหมายความว่ารัฐมีอำนาจเต็มในการสั่งการ ใต้นโยบายประชารัฐจึงเป็นการเผยตัวของกระแสประชารัฐ ในการตั้งโครงการแม่แจ่มโมเดล (ปัญหาหมอกควันและไฟป่า) และแม่แจ่มโมเดลพลัสขึ้น (ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สินครัวเรือน) ท้ายที่สุดแล้วโครงการแม่แจ่มโมเดลทั้งสองโครงการได้เผยให้เห็นโดยนัยว่า ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเป็นเพียงเครื่องมือที่ผู้มีอำนาจเต็มใช้ในปฏิบัติการทางสังคมที่ซึ่งไม่ได้ประสบผลสำเร็จตามสมมติฐานที่โครงการวางไว้ ทั้งยังเกิดกรณีการเล่นแร่แปรธาตุภายในเครือข่ายปฏิบัติการผ่านการช่วงชิงทางอำนาจของประชารัฐ ที่มิได้มีประชาชนในท้องถิ่นเป็นแม่แรงในการตัดสินใจ ความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของความรู้และปฏิบัติการณ์ของความรู้ของกลุ่มทางสังคมทั้งหมดได้ทำให้เกิดการจัดความสัมพันธ์ทางการเมืองของผู้คนในชุมชนลุ่มแม่น้ำแจ่ม ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานว่าด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังทางสังคมทั้งสี่กระแสที่มีความสัมพันธ์เป็นโครงข่ายทางสังคม จนก่อรูปเป็นกิจกรรมทางสังคมใหม่ ๆ ขึ้นมาในแต่ละช่วงเวลา การประกอบสร้างของกลุ่มพลังทางสังคมทั้งสี่กระแสทำให้แม่แจ่มกลายเป็นสนามทางการเมืองผ่านปฏิบัติการทางสังคม โดยวิทยานิพนธ์นี้จะแสดงให้เห็นความต่อเนื่องของปฏิบัติการทางสังคมที่เกิดขึ้นกับชุมชนลุ่มน้ำแม่แจ่มที่สัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคม ฐานเศรษฐกิจ และการเมืองระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620131010-ทศพล กรรณิกา.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.