Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัทรณัฏฐ์ บัณฑิตคุณานนต์-
dc.contributor.authorปัณณธร กิจสนาโยธินen_US
dc.date.accessioned2023-12-07T10:13:23Z-
dc.date.available2023-12-07T10:13:23Z-
dc.date.issued2023-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79268-
dc.description.abstractObjective: This study investigated pulp chamber changes in temperature during high-intensity illumination from light-curing unit and intraoral scanners in extracted lower first premolars with alternating tooth material thickness. Materials and methods: Twenty extracted lower first premolars were included. The pulp tissue was removed by cutting the root off and pulling it out. Three thermocouple probes of type K were attached to the buccal, lingual surface and inserted in the pulp chamber to measure temperature change during 30 seconds of illumination. The tips of LCU and IOSs were positioned 2.00 mm apart from the buccal surface. The signals received from heat of light sources were amplified and recorded using a digital oscilloscope. The cavity was prepared at the buccal surface with a step of 0.50 mm until achieving a final depth of 2.00 mm The depth of the cavity was measured using a digital caliper. All data were compared statistically with two-way repeated measures ANOVA, multiple comparisons, and Pearson’s correlation. Results: The pulpal probe detected the increasing temperature by approximately 6.59±0.65°C for LCU, 1.58±0.19°C for IOS1 and 1.71±0.19°C for IOS2 when illuminated on the buccal surface. When the remaining dentin thickness was decreased from 2.77±0.44 mm to 0.76±0.44 mm, the probe detected an increasing temperature in the pulp chamber up to 8.42±0.93°C for LCU, which was significantly higher than 2.08±0.21°C and 2.45±0.23°C for IOS1 and IOS2. The increase in pulpal temperature had a positive correlation with the light intensity but a negative correlation with the remaining dentin thickness. Conclusion: The high-intensity light illumination from the light-curing unit and intraoral scanners elevated the temperature in the pulp chamber and potentially caused tooth sensitivity.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบนผิวฟันและภายในโพรงเนื้อเยื่อในขณะใช้งานเครื่องสแกนภายในช่องปากและเครื่องฉายแสง: การศึกษานอกกายen_US
dc.title.alternativeThe Temperature change on the tooth surface and in the pulp chamber during using intraoral scanners and light-curing unit: an in vitro studyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเนื้อเยื่อฟัน-
thailis.controlvocab.thashฟัน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในโพรงเนื้อเยื่อใน ระหว่างการใช้เครื่องฉายแสงและเครื่องสแกนภายในช่องปาก บนฟันกรามน้อยล่างซี่ที่หนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงความหนาของเนื้อฟัน วัสดุและวิธีการ: นำฟันกรามน้อยล่างซี่ที่หนึ่งจำนวน 20 ซี่ มาตัดปลายรากและนำเนื้อเยื่อในฟันออก นำสายวัดอุณหภูมิชนิด เค จำนวน 3 สาย ติดบริเวณด้านแก้ม ด้านลิ้น และภายในโพรงเนื้อเยื่อใน เพื่อทำการวัดอุณหภูมิระหว่างการใช้งานเครื่องฉายแสงและเครื่องสแกนภายในช่องปาก เป็นเวลา 30 วินาที ให้ระยะของปลายเครื่องกำเนิดแสงอยู่ห่างจากผิวด้านแก้มของฟัน 2.00 มิลลิเมตร โดยสัญญาณที่ได้จากความร้อนของเครื่องกำเนิดแสงจะถูกขยายและบันทึกผ่านเครื่องแสดงคลื่นไฟฟ้า จากนั้นทำการกรอฟันด้วยความลึก 0.50 มิลลิเมตร โดยวัดความลึกของการกรอตัดฟันจากดิจิตอลเวอร์เนียคาลิปเปอร์ และทดสอบซ้ำจนได้ความลึกของการกรอตัดฟันที่ระยะ 2.00 มิลลิเมตร นำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวนทางสถิติโดยการวัดความแปรปรวนแบบสองทางซ้ำ การเปรียบเทียบพหุคูณ และความสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: เมื่อทำการทดสอบโดยการฉายแสงบนด้านแก้มของซี่ฟันทดสอบ สายวัดอุณหภูมิภายในโพรงเนื้อเยื่อในสามารถตรวจจับอุณหภูมิเมื่อทำการทดสอบด้วยเครื่องฉายแสงมีค่าโดยประมาณที่ 6.59±0.65 องศาเซลเซียส เครื่องสแกนภายในช่องปากชนิดที่ 1 เท่ากับ 1.58±0.19 องศาเซลเซียส และเครื่องสแกนภายในช่องปากชนิดที่ 2 เท่ากับ 1.71±0.19 องศาเซลเซียส เมื่อชั้นความหนาของชั้นเนื้อฟันลดลงจาก 2.77±0.44 มิลลิเมตรจนเหลือ 0.76±0.44 มิลลิเมตร สายวัดอุณหภูมิภายในโพรงเนื้อเยื่อในตรวจจับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิมากถึงกว่า 8.42±0.93 องศาเซลเซียสเมื่อทำการทดสอบด้วยเครื่องฉายแสง ซึ่งมีค่าสูงกว่าการทดสอบด้วยเครื่องสแกนภายในช่องปากชนิดที่ 1 ที่มีค่าเท่ากับ 2.08±0.21 องศาเซลเซียส และเครื่องสแกนภายในช่องปากชนิดที่ 2 ที่มีค่าเท่ากับ 2.45±0.23 องศาเซลเซียส อย่างมีนัยสำคัญ โดยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเข้มแสง และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความหนาของชั้นเนื้อฟันที่หลงเหลือ สรุปผลการศึกษา: แสงที่มีความเข้มสูงจากเครื่องฉายแสงและเครื่องสแกนภายในช่องปากสามารถทำให้อุณหภูมิภายในโพรงเนื้อเยื่อในเพิ่มขึ้นและมีความสามารถที่จะก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้en_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630931018 ปัณณธร กิจสนาโยธิน.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.