Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79265
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฤตินันท์ สมุทร์ทัย-
dc.contributor.authorเมย์ธิชา บุตรเพ็งen_US
dc.date.accessioned2023-12-06T10:32:08Z-
dc.date.available2023-12-06T10:32:08Z-
dc.date.issued2023-09-14-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79265-
dc.description.abstractThe purpose of this study aimed to study characteristic of research Improving students' English reading comprehension skills, for synthesis knowledge associated with learning innovation for improve students' English reading comprehensive skill and for comparing effect size value of research study between group of innovation in learning management that affects students' English reading comprehensive skill. Population in this study includes thesis, dissertation, term paper and independent study from graduate students in universities where the complete version is published (Full Text), and content study about students' English reading comprehension skills and published from 1993 to 2021. Samples used in the study include experimental research published of students from Primary school grade 1 to Secondary school grade 6 in total of 175 paper. Two sets of research tools were research quality assessment and research characteristic. The data was analyzed using descriptive statistics and effect size calculations for research studies, employing Glass's method for Meta Analysis. and analyze the research study characteristics and effect sizes using Meta Regression Analysis with Random Effects and Fixed Effects. The research findings were: 1) Results of the study of research characteristics that are variables regarding researchers and publications. Most of the research was published between the years 2009 to 2022. Most of the researcher’s study at the master’s degree. The institution that produces the most research is Rajabhat University. The field that produces most of the research is the field of curriculum and teaching. Most of the total pages fewer than 200 pages. Results of the study of research characteristics that are variables regarding content and research methods. Most of the objective was studied and compared. Research utilized directional hypotheses. The study sample was purposive, and most were in the middle school level. The sample size used in most studies is between 21 and 30 people. Most of the research was basic experimental research design. The most tools were worksheets, tests, and assessments. The quality of the instrument was found in terms of validity, reliability, discriminatory power, and objectivity. Statistics used in data analysis are mostly percentages, means, and standard deviations. Results of the study of research characteristics that are variables regarding innovation in learning management for students' English reading comprehensive skill, it was found that 4 types were used: 1) Teaching formats using learning concepts/theories (29.71%) 2) Learning management techniques (47.43%) 3) Learning management activities (12.00%) and 4) Learning management teaching instructional media (10.86%). Most of the lesson plans were used 6 to 10. Research duration 1 to 15 hours at most. The effects size of research from 175 research topics. Had effects size value between 0.030 and 9.410 and the average effect size was 3.704. 2) Learning management innovations used to develop English reading comprehension skills of students that used Post-method Pedagogy theories respectively at most. Innovation in learning management techniques used KWL Plus. Innovation in learning management activities used mind mapping, relationship diagram, graphic diagram. Innovation in teaching instrument media used of knowledge enhancement kits, activity kits, skill training kits, skill training exercises. The most education was at the 6th grade level, but no education was found at the 1st and 2nd grade levels. 3) The result of comparing learning innovation that develop to student’s English reading comprehension skills the effect size value of research study between group of learning innovation that affects students' English reading comprehensive skill that can explain the difference in mean of effect size value at the .05 significance level. And when testing the differences in teaching according to the types of learning management innovations, it was found that Innovation in learning management techniques used the Student Teams Achievement Divisions (STAD) show the greatest effect size (=6.136) and used concepts/theories using Top Level Structure show the effect size (=4.847).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนen_US
dc.title.alternativeMeta analysis of research related to development of student's english reading comprehension skillen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการวิเคราะห์อภิมาน-
thailis.controlvocab.thashภาษาอังกฤษ -- การอ่าน-
thailis.controlvocab.thashภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของงานวิจัยด้านการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน 2) สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน และ 3) เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของผลการวิจัยระหว่างประเภทนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือรายงานการค้นคว้าอิสระ ของนิสิต/นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่วิจัยด้านการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่พิมพ์เผยแพร่ฉบับสมบูรณ์ (Full Text) ในช่วงปีพ.ศ.2536 – 2564 และมีคุณภาพของงานวิจัยอยู่ในระดับดี จำนวน 175 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย คำนวณค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยด้วยวิธีการของกลาส (Glass) และวิเคราะห์ลักษณะงานวิจัยและค่าขนาดอิทธิพลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยอภิมานแบบอิทธิพลสุ่ม (Random Effect) และแบบอิทธิพลกำหนด (Fixed Effect) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะของงานวิจัยที่เป็นตัวแปรจัดประเภทด้านผู้วิจัยและการตีพิมพ์ พบว่า งานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในพ.ศ.2552-2564 มากที่สุด ผู้วิจัยส่วนใหญ่ศึกษาในระดับปริญญาโท สถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สาขาที่ผลิตงานวิจัยส่วนใหญ่ คือ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน งานวิจัยมีจำนวนหน้าทั้งหมดน้อยกว่า 200 หน้ามากที่สุด ด้านเนื้อหาและ วิธีวิทยาการวิจัย พบว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบมากที่สุด มีสมมติฐานแบบมีทิศทางเป็นส่วนใหญ่ ศึกษาตัวอย่างแบบเจาะจงและอยู่ในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21 ถึง 30 คน ใช้แบบแผนการวิจัยทดลองเบื้องต้น มากที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบฝึก แบบทดสอบและแบบวัดมากที่สุด มีการหาคุณภาพของเครื่องมือในด้านความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น อำนาจจำแนกและความเป็นปรนัยมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุด ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ พบว่า มีการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนที่ใช้แนวคิด/ทฤษฎีการเรียนรู้ (ร้อยละ 29.71) 2) เทคนิคการจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 47.43) 3) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 12.00) และ 4) สื่อการสอนการจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 10.86) มีการใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 ถึง 10 แผน มากที่สุด มีระยะเวลาในการวิจัย 1 ถึง 15 ชั่วโมง มากที่สุด ค่าขนาดอิทธิพลจากงานวิจัยทั้งหมด 175 เรื่อง คำนวณค่าขนาดอิทธิพลได้ 175 ค่า มีค่าขนาดอิทธิพลระหว่าง 0.030 ถึง 9.410 และค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 3.704 2) องค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน สรุปได้ว่า (1) มีการใช้แนวคิดผสมผสานนวัตกรรม/การจัดการเรียนการสอนแบบยุคหลังระเบียบแบบแผนการสอน 2 นวัตกรรมขึ้นไป (Post-method Pedagogy) มากที่สุด (2) มีการใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus มากที่สุด (3) มีการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แผนผังความคิด/ผังการโยงความสัมพันธ์/แผนผังกราฟิก/แผนที่ความคิดมากที่สุด และ (4) มีการใช้สื่อการสอนการจัดการเรียนรู้เป็นชุดเสริมความรู้/ชุดกิจกรรม/ชุดฝึกทักษะ/แบบฝึกทักษะ/ชุดฝึกอบรม/เอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/แผนการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด โดยมีการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มากที่สุด แต่ไม่พบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 3) ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลระหว่างประเภทนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนของงานวิจัยทั้งหมดแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทดสอบความแตกต่างค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการสอนตามประเภทนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ พบว่า นวัตกรรมประเภทรูปแบบการสอนที่ใช้แนวคิด/ทฤษฎีการเรียนรู้กับนวัตกรรมประเภทเทคนิคการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งยังพบว่า เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD (Student Teams Achievement Divisions) มีค่าขนาดอิทธิพลมากที่สุดเท่ากับ 6.136 รองลงมา คือ รูปแบบการสอนที่ใช้แนวคิด/ทฤษฎีใช้โครงสร้างระดับยอด (Top Level Structure) มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 4.847en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620232012-เมย์ธิชา-บุตรเพ็ง.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.