Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79243
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัชนีกร ทองสุขดี | - |
dc.contributor.author | วิชสุดา มิ่งปรีชา | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-12-04T16:39:35Z | - |
dc.date.available | 2023-12-04T16:39:35Z | - |
dc.date.issued | 2566-08-16 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79243 | - |
dc.description.abstract | The objective of this qualitative research was to investigate the effects of experiential learning management combined with the use of assistive technology to enhance the mobility ability with wheelchairs of a child with multiple disabilities. This case study was obtained through the purposive sampling by aiming at a 9-year-old male student with physical, intellectual disabilities, and cognitive impairments, who was studying at a preparatory level at a Special Education Center in a certain province. The research tools used included 1) an assessment of the ability to move and control the wheelchair of the case study before and after experiential learning according to Dewey’s learning cycle; 2) a survey form for the current condition of the ordinary wheelchair used by the case study; 3) four units of experiential learning activities according to Dewey's learning cycle combined with the use of assistive technology for wheelchair mobility of the case study, and 4) an observation form for student behavior in the experiential learning combined with the use of assistive technology for wheelchair mobility of the case study. The researcher conducted the experiential learning activities combined with the use of assistive technology for a total of 22 times. The data was analyzed using mean, percentage, and description. The research findings revealed that: 1) Modifying the condition of the assistive features of the wheelchair to suit the case study was carried out using the SETT framework for consideration in collaboration with the Individualized Education Plan (IEP) committee to plan the education management, and consider educational media, assistive devices, and other educational aids for the case study. The researcher made adjustments to three components of the wheelchair: 1.1) The seat cushion was changed from plastic canvas to a solid foam cushion to prevent the seat from sagging when sat upon. 1.2) The backrest was changed from plastic canvas to a solid foam cushion to prevent the backrest from collapsing backwards, enabling the case study to sit upright. 1.3) The footrest was changed from a hard plastic sheet to a firm, padded footrest to elevate the height from the original footrest, allowing the case study to fully place the feet on the footrest with legs at a 90-degree angle to the ground. 2) When utilizing the adjusted wheelchair in the experiential learning management process according toDewey’s learning cycle, the case study was able to self-transfer from bed to wheelchair, from wheelchair to bed, from floor to wheelchair, and from wheelchair to floor, scoring a total of 7 points, a quality level of "Good". 3) Upon utilizing the adjusted wheelchair in the experiential learning management process according to Dewey’s learning cycle, the case study was able to navigate the wheelchair on flat ground, an incline, and on varying levels, scoring a total of 14 points, a quality level of "Good". 4) Upon examining the case study's ability to self-move with a wheelchair through experiential learning according to Dewey's learning cycle, it was found that: 4.1) The ability to recognize self-mobility problems had an average score of 12.67, a good quality level. 4.2) The ability to solve self-mobility problems had an average score of 11.67, a very good quality level. 4.3) The ability to engage in practical trials, gain experience, and generate new knowledge had a maximum average score of 9.33 for transferring from a wheelchair to bed, a good quality level, and a minimum average score of 4.33 for transferring from a wheelchair to the floor, a fair quality level. 4.4) The ability to gain experience and apply new knowledge (knowledge transfer) had a highest average score of 6.33 for navigating the wheelchair left and right, a very good quality level, and a lowest average score of 3 for navigating the wheelchair up and down inclines, a fair quality level. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาความสามารถการเคลื่อนย้ายด้วยเก้าอี้รถเข็นของเด็กพิการซ้อน | en_US |
dc.title.alternative | Experiential learning provision with assistive technology to improve ability of wheelchair mobility control of a child with multiple disabilites | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เด็กพิการ -- การดูแล | - |
thailis.controlvocab.thash | เด็กพิการ -- การศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | เก้าอี้รถเข็น | - |
thailis.controlvocab.thash | กายอุปกรณ์เสริม | - |
thailis.controlvocab.thash | เก้าอี้สำหรับคนพิการ | - |
thailis.controlvocab.thash | สิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียน | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เชิงประสบการณ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาความสามารถ การเคลื่อนย้ายด้วยเก้าอี้รถเข็นของเด็กพิการซ้อน กรณีศึกษาเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้เรียนพิการซ้อนมีความบกพร่องสมองพิการ และบกพร่องทางสติปัญญา เพศชาย อายุ 12 ปี ศึกษาในระดับ เตรียมความพร้อม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้วิจัย 1) แบบประเมินความสามารถการเคลื่อนย้ายตนเอง และการบังคับเก้าอี้รถเข็นของกรณีศึกษาก่อน-หลัง การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ตามวงจรการเรียนรู้ของ Dewey 2) แบบสำรวจสภาพเก้าอี้รถเข็นแบบธรรมดาที่มีการใช้งานอยู่ของกรณีศึกษา 3) หน่วยจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ตามวงจรการเรียนรู้ของ Dewey ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายด้วยเก้าอี้รถเข็นของกรณีศึกษา จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมกรณีศึกษาขณะเรียนการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายด้วยเก้าอี้รถเข็นของกรณีศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวนทั้งสิ้น 22 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การปรับสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกเก้าอี้รถเข็นให้เหมาะสมกับกรณีศึกษาโดยใช้กรอบงาน SETT ในการพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อวางแผน การจัดการศึกษา และพิจารณาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับกรณีศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการปรับส่วนประกอบของเก้าอี้รถเข็น 3 ส่วนได้แก่ 1.1) การปรับเบาะที่นั่งจากผ้าใบพลาสติกเป็นเบาะบุฟองน้ำแบบแข็งเพื่อเมื่อนั่งแล้วเบาะไม่ยุบตัว 1.2) การปรับพนักพิงหลังจากผ้าใบพลาสติกเป็นเบาะบุฟองน้ำแบบแข็งเพื่อเมื่อนั่งพิงเบาะไม่หย่อนไปทางด้านหลังทำให้กรณีศึกษานั่งได้หลังตรงขึ้น 1.3) การปรับที่วางเท้าจากแผ่นพลาสติกแบบแข็งเป็นที่วางเท้าแบบเบาะบุนวมแข็งเพื่อเพิ่มความสูงจากที่วางเท้าเดิมให้กรณีศึกษาสามารถวางเท้าได้เต็มเท้า และขาวางตั้งฉากกับพื้น 90 องศา 2) เมื่อใช้เก้าอี้รถเข็นที่ปรับแล้วในกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ตามวงจรการเรียนรู้ของ Dewey กรณีศึกษาสามารถเคลื่อนย้ายตนเองจากเตียงไปยังเก้าอี้รถเข็น เคลื่อนย้ายตนเองจากเก้าอี้รถเข็นไปเตียง เคลื่อนย้ายตนเองจากพื้นไปเก้าอี้รถเข็น และเคลื่อนย้ายตนเองจากเก้าอี้รถเข็นไปพื้น มีคะแนนรวมเท่ากับ 7 คุณภาพระดับ ดี 3) เมื่อใช้เก้าอี้รถเข็นที่ปรับแล้วในกระบวนจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ตามวงจรการเรียนรู้ของ Dewey กรณีศึกษาสามารถในการบังคับเก้าอี้รถเข็นในทางราบ ทางลาดเอียง และทางต่างระดับหลังมีคะแนนเท่ากับ 14 คุณภาพระดับ ดี 4) เมื่อพิจารณาความสามารถของกรณีศึกษาในการเคลื่อนย้ายตนเองด้วยเก้าอี้รถเข็นผ่านการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ตามวงจรการเรียนรู้ของ Dewey พบว่า 4.1) ความสามารถในการรับรู้ปัญหาการเคลื่อนย้ายตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.67 ระดับคุณภาพ ดี 4.2) ความสามารถในการแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.67 ระดับคุณภาพ ดีมาก 4.3) ความสามารถในการทดลองปฏิบัติ เกิดประสบการณ์และความรู้ใหม่ มีคะแนนเฉลี่ย การเคลื่อนย้ายตนเองจากเก้าอี้รถเข็นไปเตียงอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 9.33 ระดับคุณภาพ ดี และคะแนนเฉลี่ยการเคลื่อนย้ายตนเองจากเก้าอี้รถเข็นไปพื้นต่ำที่สุดเท่ากับ 4.33 ระดับคุณภาพ พอใช้ 4.4) ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ (การถ่ายโอนความรู้) มีคะแนนเฉลี่ยการบังคับเก้าอี้รถเข็นไปทางด้านซ้ายและขวาสูงที่สุดเท่ากับ 6.33 ระดับคุณภาพ ดีมาก และมีคะแนนเฉลี่ยการบังคับเก้าอี้รถเข็นขึ้นลงทางลาดต่ำที่สุดเท่ากับ 3 ระดับคุณภาพ พอใช้ | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
๖๑๐๒๓๒๐๓๙ วิชสุดา มิ่งปรีชา.pdf | 14.29 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.