Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79158
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนกพร แสนเพชร-
dc.contributor.authorทัศนีย์ ติ๊บกวางen_US
dc.date.accessioned2023-11-09T01:10:17Z-
dc.date.available2023-11-09T01:10:17Z-
dc.date.issued2565-03-17-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79158-
dc.description.abstractUrolithiasis is the third ranked prevalent disorder in the urinary system which affects health and the quality of life in world populations. Senna siamea, Gomphrena celosioides, Plantago major, Houttuynia cordata, Pseudelephantopus spicatus and Tribulus terrestris have traditionally been used to treat urolithiasis. However, there is no scientific research on these plants to determine their properties with neither as a single extract nor a formula. Thus, the objectives of this research are to evaluate the in vitro and in vivo anti-urolithiasis of these plants and to develop herbal formulas for treating urolithiasis. Each plant species was extracted with water or methanol to obtain eight extracts. These eight plant extracts were tested with four in vitro analyses; phytochemical analysis, anti-urolithiasis, anti-contraction of bladder smooth muscle, and antioxidant activities. The results of the in vitro experiment showed that all plant extracts exhibited a concentration-dependent inhibitory effect on crystal formation by reducing the number and size of calcium oxalate monohydrate crystals produced in artificial urine and these extracts effected on the morphology of calcium oxalate crystals, caused the cracks, adsorbed and coated the crystal surface to reduce an ability of aggregation and growth of crystals. The extracts could also relax the bladder smooth muscle and exhibit high antioxidant capacity. It is possible that saponins, flavonoids and phenolics found in these extracts are responsible for all tested activities. From the results of in vitro experiments, six extracts, aqueous extract of S. siamea and methanolic extracts of P. spicatus, T. terrestris, S. siamea, G. celosioides and H. cordata were selected to develop three formulas. All three formulas were then tested for acute toxicity before assessment for their anti-urolithiasis activity in the ethylene glycol-induced urolithiasis model. It was found that all three formulas showed potent anti-urolithiasis activities. Formulas 1 and 2 significantly decrease blood urea nitrogen level of the caliculi induced rats and all three formulas (50 mg./kg.) could reduce the level of urine crystals. The histopathological observations also supported the biochemical evidence of their anti-urolithiasis activities. The decrease of crystal deposition in renal tissues and the urinary bladder was clearly seen. In addition, all three formulas were able to restore the levels of superoxide dismutase, catalase and reduced glutathione in the kidneys. Moreover, the level of malondialdehyde decreased in the calculi-induced rats that were treated with formulas 1 and 2. The results from this study indicated the anti-urolithic property of all three formulas developed from Thai plant extracts. Inhibition of calcium oxalate stone formation, urinary smooth muscle relaxation and anti-oxidation are the proposed mechanisms underlying the anti-urolithic property of these formulas.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาสูตรตำหรับยาสมุนไพรไทยสำหรับการรักษาภาวะนิ่วทางเดินปัสสาวะen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Thai herbal formulas for treatment of urolithiasisen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashนิ่วทางเดินปัสสาวะ-
thailis.controlvocab.thashนิ่ว-
thailis.controlvocab.thashนิ่วกระเพาะปัสสาวะ-
thailis.controlvocab.thashทางเดินปัสสาวะ -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะนิ่วทางเดินปัสสาวะเป็นความผิดปกติที่พบบ่อยเป็นอันดับสามของการเจ็บป่วยในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก ขี้เหล็ก บานไม่รู้โรยป่าผักกาดน้ำ พลูคาว โด่ไม่รู้ล้ม และโคกกระสุน ถูกนำมาใช้ในการรักษานิ่วตามภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามพืชดังกล่าวยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันการออกฤทธิ์เมื่อใช้ในรูปสมุนไพรเดี่ยวและสูตรตำรับยาสมุนไพร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการทดสอบฤทธิ์ต้านนิ่วในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองพร้อมทั้งพัฒนาสูตรตำรับยาสมุนไพร ไทยสำหรับรักษาภาวะนิ่วทางเดินปัสสาวะขึ้น โดยใช้พืชดังกล่าวข้างต้น พืชแต่ละชนิดจะถูกสกัดด้วยน้ำหรือเมทานอลได้สารสกัดทั้งหมด 8 ชนิด และสารสกัดทั้ง 8 ชนิดจะถูกนำมาทดสอบในหลอดทดลองเพื่อประเมินโดยสี่วิธีการ ได้แก่ การตรวจสอบสารสำคัญ ประเมินฤทธิ์ต้านกระบวนการเกิดนิ่ว ฤทธิ์ด้านการหดตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ และฤทธิ์ต้นอนุมูลอิสระ ผลการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าทุกสารสกัดสามารถยับยั้งกระบวนการเกิดผลึกได้โดยขึ้นกับความเข้มข้น โดยสามารถลดจำนวนและขนาดของผลึกแคลเซียม ออกซาเลต โมโนไฮเดรต ในปัสสาวะเทียม สารสกัดยังส่งผลต่อสัณฐานวิทยาของผลึกโดยทำให้ผลึกแตกหัก จับและเคลือบพื้นผิวของผลึกส่งผลลดการร่วมกลุ่มและการเพิ่มขนาดของผลึกแคลเซียม ออกซาเลต สารสกัดสามารถคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ และมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง ทั้งนี้เป็นไปได้ว่าสาร saponins, favonoids และ phenolics ซึ่งพบในสารสกัดเป็นสารออกฤทธิ์ต่อกิจกรรมดังกล่าวเหล่านี้ จากผลการทดสอบในหลอดทดลองทั้งหมดคัดเลือก 6 สารสกัด ได้แก่ สารสกัดน้ำของขี้เหล็ก สารสกัดเมทานอลของโด่ไม่รู้ล้ม โคกกระสุน ขี้เหล็ก บานไม่รู้โรยป้า และคาวตอง มาพัฒนาเป็นสูตรตำรับสามตำรับ และนำทั้งสามตำรับไปประเมินความเป็นพิษเฉียบพลันก่อนนำไปประเมินฤทธิ์ยับยั้งนิ่วในสัตว์ทดลองที่ถูกชักนำให้เกิดนิ่วด้วยเอทิลีนไกลคอล จากการศึกษาพบว่าสูตรตำรับทั้งสามสูตรแสดงฤทธิ์ในการต้านนิ่ว โดยสูตรตำรับ 1 และ 2 สามารถลดระดับ blood urea nitrogen ในหนูที่ถูกชักนำให้เกิดนิ่วได้อย่างมีนัยสำคัญ และทั้งสามตำรับ (50 มก./กก.) ยังสามารถลดระดับผลึกแคลเซียม ออกซาเลตในปัสสาวะของหนูได้ การศึกษาพยาธิวิทยายังสอดคล้องกับการวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีของการยับยั้งนิ่วทางเดินปัสสาวะ โดยพบการลดลงของการสะสมผลึกในเนื้อเยื่อไตและกระเพาะปัสสาวะได้อย่างชัดเจนนอกจากนี้ทั้ง 3 สูตรตำรับยังสามารถฟื้นฟูระดับของ superoxide dismutase, catalase และ reduced glutathione ในไตได้ ยิ่งไปกว่านั้นระดับของ malondialdehyde ยังลดลงในหนูที่ถูกชักนำให้เกิดนิ่วและได้รับการรักษาด้วยสูตรตำรับ 1 และ 2 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นฤทธิ์ยับยั้งนิ่วของ 3 สูตรตำรับที่พัฒนาขึ้นมาจากสารสกัดสมุนไพรไทย โดยการยับยั้งกระบวนการเกิดผลึก การคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ และการต้านอนุมูลอิสระ เป็นกลไกที่สูตรตำรับเหล่านี้ใช้ในการแสดงฤทธิ์ต้านนิ่วทางเดินปัสสาวะen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610531072 ทัศนีย์ ติ๊บกวาง.pdf15.66 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.