Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79118
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะนารถ จาติเกตุ-
dc.contributor.authorภูวิวัฒน์ แสนสุทธวิจิตรen_US
dc.date.accessioned2023-10-28T10:37:25Z-
dc.date.available2023-10-28T10:37:25Z-
dc.date.issued2564-10-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79118-
dc.description.abstractThere are different behaviors of denture wearing among older adults who use dentures under the Royal Denture Prosthesis Project. However, the impact on quality of life or any factors affecting denture wearing has never been assessed. Therefore, the purposes of this study were to develop and test the validity and reliability of the Thai version of the Dental Impact Profile by Strauss and Hunt and the Denture Assessment Tool by Ahmed et al. which were translated according to the translation guidelines of Beaton et al., then use the developed tools to assess the relationship of the independent variables (demographic and denture patients behavior factors) and the dependent variables ( the denture valuation in terms of the impact of dentures, satisfaction with the absence of teeth, and satisfaction of the denture function on quality of life). The samples were 215 Thai people aged 60 years old and over who received the dentures in Pak Chom District, Loei Province from October 2005 to September 2019. The interview data were collected from February 2021 to April 2021 by the village health volunteers interviewed the samples and the team of dentists examined their oral conditions. The tools were tested for content validity using content validity index, construct validity using know-group technique, and Cronbach's alpha coefficient for determining the internal consistency. The data were analyzed as the general data using descriptive statistics and found the relationship between the independent variables and the dependent variables using analytical statistics including Chi-square test, Fisher's exact test, Man-Whitney U test, and the Kruskal-Wallis test at a 95% confidence level. The results revealed that the Thai version of the Dental Impact Profile and the Denture Assessment Tool had the content validity index of 0.96 and 0.97, respectively. For construct validity, they were found all items had good structural integrity (p-value<0.05), except the kissing questions (p-value=0.192). Cronbach's alpha coefficient for determining the internal consistency was 0.97 and 0.92 , respectively. The results of the relationship analysis revealed that: 1. Age, education level, monthly income, personality traits, having a pair of natural teeth, and type of dentures were associated with the impact of denture on romance. Having a pair of natural teeth was associated with the impact of denture on eating and social relationships. Personality traits were associated with the impact of denture on social relationships and denture patients wearing behavior was associated with the impact of denture on all dimensions of quality of life. 2. Sex and denture patients wearing behavior were associated with an agreement level of the impact on all aspects of the absence of teeth. Also, the education level was associated with the agreement level of the impact on all aspects of the absence of teeth except speech. 3. Sex was associated with the agreement level of denture function on esthetics. The education level was associated with the agreement level of denture function on comfort. Number of natural teeth and type of dentures were associated with the agreement level of denture function on mastication. Denture patients wearing behavior was associated with the agreement level on all aspects of the denture function except comfort. This result of the study indicated that both tools were suitable for evaluating Thai older adults. Some demographic factors and denture wearing behavior of the older adults were associated with the denture valuation in terms of the impact of dentures, satisfaction with the absence of teeth and denture function on quality of life. The findings of this study can be applied for appropriate dental treatment planning and matching to the needs and expectations of each patient.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโครงการฟันเทียมพระราชทานen_US
dc.titleการพัฒนาและใช้แบบประเมินผลกระทบของฟันที่สะท้อนคุณภาพชีวิตและแบบประเมินความพึงพอใจหน้าที่ของฟันเทียม รูปแบบภาษาไทย เพื่อประเมินผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทานen_US
dc.title.alternativeDevelopment and use of the Thai version of the dental impact profile and the denture satisfaction assessment tool to assess Thai older adults under Royal Dental Prosthesis Projecten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashฟันปลอม-
thailis.controlvocab.thashทันตกรรมประดิษฐ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้สูงอายุที่ใช้งานฟันเทียมภายใต้โครงการฟันเทียมพระราชทาน มีพฤติกรรมการใส่ฟันเทียมใน รูปแบบแตกต่างกันไป แต่ยังไม่เคยมีการประเมินผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือการค้นหาปัจจัยที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการใส่ฟันเทียม ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบความ เที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินผลกระทบของฟันที่สะท้อนคุณภาพชีวิตของ Strauss และ Hunt และแบบประเมินความพึงพอใจหน้าที่ของฟันเทียมของ Ahmed และคณะ รูปแบบภาษาไทย โดยแปลภาษาตามแนวทางการแปลของ Beaton และคณะ และนำแบบประเมินที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ไปใช้ในการประเมินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการใส่ ฟันเทียม กับการให้คุณค่าของฟันเทียมในแง่ของผลกระทบของฟันเทียม ความพึงพอใจต่อการไม่มี ฟัน และความพึงพอใจหน้ที่ของฟันเทียมต่อคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการใส่ฟันเทียมพระราชทาน จากโรงพยาบาลปากชม จังหวัดเลย ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2548 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2562 จำนวน 215 คน ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ถึงเมษายน พ.ศ.2564 โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้สัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล และทีมทันตแพทย์สำรวจสภาวะช่องปากของกลุ่มตัวอย่าง แบบประเมินจะนำมาทำการทดสอบความ เที่ยงตรงของแบบประเมิน โดยใช้ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตรงตามโครงสร้างโดย วิธีการตรวจสอบจากกลุ่มที่แตกต่างกัน การทดสอบความเชื่อมั่นโดยการทดสอบความสอดคล้อง ภายในด้วยการใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์แยกเป็นข้อมูล ทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามด้วยสถิติเชิง วิเคราะห์ต่าง ๆ ได้แก่ การทดสอบไค-สแควร์ การทคสอบของฟิชเชอร์ การทดสอบแมน-วิทนีย์ยู และ การทดสอบครัสคาล-วัลลิส ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินผลกระทบของฟันที่สะท้อนคุณภาพชีวิตและแบบประเมิน ความพึงพอใจหน้าที่ของฟันเทียม รูปแบบภาษาไทย มีคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาที่ดี มีค วาม เที่ยงตรงโดยใช้ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ ความเที่ยงตรง ตาม โครงสร้างพบว่าทุกข้อมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างที่ดี (p-value < 0.05) ยกเว้น ข้อคำถามเรื่อง การจูบหรือหอมแก้ม ( p-value = 0.125) และความสอดคล้องภายในมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคเท่ากับ 0.97 และ 0.92 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า 1.อายุ ระดับ การศึกษา รายได้ต่อเดือน ลักษณะบุคลิกภาพ การมีหรือไม่มีคู่สบฟันธรรมชาติ และประเภทฟันเทียม มีความสัมพันธ์กับผลกระทบของฟันเทียมต่อความรักใคร่ การมีหรือไม่มีคู่สบฟันธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับผลกระทบของฟันเทียมต่อการรับประทานอาหารและความสัมพันธ์ทางสังคม ลักษณะบุคลิกภาพมีความความสัมพันธ์กับผลกระทบของฟันเทียมต่อความสัมพันธ์ทางสังคม และ พฤติกรรมการใส่ฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับผลกระทบของฟันเทียมต่อทุกมิติของคุณภาพชีวิต 2. เพศ และพฤติกรรมการใส่ฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นผลกระทบต่อการไม่มีฟันในทุก ค้าน และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับกับระดับความคิดเห็นผลกระทบต่อการไม่มีฟันในทุก ด้านยกเว้นการออกเสียงพูด 3.เพศมีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นห น้าที่ของฟันเทียมต่อความ สวยงาม ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นหน้าที่ของฟันเทียมต่อความสบาย จำนวนฟันธรรมชาติที่เหลือในช่องปากและประเภทฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็น หน้าที่ของฟันเทียมต่อการบคเคี้ยว และพฤติกรรมการใส่ฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับระดับความ คิดเห็นหน้าที่ของฟันเทียมต่อทุกด้าน ยกเว้นความสบาย การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แบบประเมินทั้ง สองเหมาะสมนำมาใช้ประเมินผู้สูงอายุไทย และปัจจัยด้านประชากรศาสตร์บางประการและ พฤติกรรมการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการให้คุณค่าต่อฟันเทียม ความพึงพอใจเมื่อ ไม่มีฟัน และความพึงพอใจหน้าที่ของฟันเทียมต่อคุณภาพชีวิต ผลการศึกษานี้สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อให้การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมสามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวัง ของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสมen_US
Appears in Collections:DENT: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.