Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79100
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ | - |
dc.contributor.author | ณัฏฐ์พิมล ปิ่นไชยธนา | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-26T00:42:08Z | - |
dc.date.available | 2023-10-26T00:42:08Z | - |
dc.date.issued | 2023-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79100 | - |
dc.description.abstract | Infertility is a common problem among couples nowadays. It is an effects couples in many ways, especially psychologically. In the medical field fertility assistance is the treatment to achieve pregnancy. In Vitro Fertilization is one of the accepted methods as it can solve the underlying natural problems that hinder. However, the pregnancy success rate is not very high so increasing the success rate is necessary. This quantitative research aimed to study the discriminant analysis of psychological factors influencing the success of pregnant infertile women receiving in vitro fertilization in Chiang Mai. The sample consisted of 320 infertile women treated with In vitro fertilization in the Chiang Mai Infertility Center. July-November 2022. The research instruments consisted of a questionnaire of general information, pregnancy results questionnaire, hope scale, self-regulation scale, trust in the treatment provider scale and marital relationship scale. The last four instruments’ Cronbach’s alpha coefficients were 0.91, 0.90, 0.92 and 0.94, respectively. Descriptive statistics and discriminant analysis stepwise method, Wilk's lambda was used to analyze the data. The results show revealed that marital relationship (X4) was the best that can distinguish between successful and unsuccessful pregnancies in infertile woman groups. It can predict groups at an accuracy of 58.8%. The discriminant function for raw scores is Y' = -11.755+2.082X4, and for standard deviation is Z'Y = 1.0ZX4. The results of this study can be used as a guideline to develop the IVF treatment process to increase pregnancy success rates in the further. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากที่รับการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Discriminant analysis of psychological factors influencing the success of pregnancy of infertile women receiving in vitro fertilization at Infertility Center, Chiang Mai | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ภาวะไร้บุตร | - |
thailis.controlvocab.thash | การเป็นหมัน | - |
thailis.controlvocab.thash | ทารกในหลอดแก้ว | - |
thailis.controlvocab.thash | การให้คำปรึกษาครอบครัว | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบมากในคู่สมรสปัจจุบันและเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคู่สมรสในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะด้านจิตใจ การช่วยเหลือผู้มีบุตรยากในทางการแพทย์คือการรักษาเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ การทำเด็กหลอดแก้วเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ได้แต่อย่างไรก็ตามอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ยังไม่ได้สูงมากนัก ดังนั้นการเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความหวัง การกำกับตนเอง ความไว้วางใจต่อผู้ให้การรักษา และสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของผู้มีบุตรยากที่รับการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว และวิเคราะห์จำแนกปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากที่รับการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงมีบุตรยากที่เข้ารักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วในศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจังหวัดเชียงใหม่ เดือน กรกฎาคม- พฤศจิกายน 2565 จำนวน 320 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามผลการตั้งครรภ์ แบบประเมินความหวัง แบบประเมินการกำกับตนเอง แบบประเมินความไว้วางใจต่อผู้ให้การรักษา และแบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ 0.91, 0.90, 0.92 และ 0.94 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์จำแนกปัจจัย แบบขั้นตอน โดยวิธี วิลค์ แลมบ์ดา ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่ดีที่สุดในการจำแนกกลุ่มผู้มีบุตรยากที่ตั้งครรภ์สำเร็จและกลุ่มที่ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จคือ สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส (X4) สามารถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 58.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้สมการจำแนกในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ Y/ = -11.755+2.082X4 และ Z/Y = 1.0ZX4 ผลการศึกษาศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนากระบวนการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์ต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620132008-Natphimon Pinchaithana.pdf | Thesis | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.