Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79064
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรุณา รักษวิณ-
dc.contributor.authorกัญญาวีร์ บุญปัญญาen_US
dc.date.accessioned2023-10-15T08:05:23Z-
dc.date.available2023-10-15T08:05:23Z-
dc.date.issued2566-07-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79064-
dc.description.abstractAccidents at the railway crossing intersection in the Mueang Nga area pose significant risks to the lives of the local population and the assets of government agencies in Thailand. This thesis aims to address this issue through the design of a safe and efficient railway crossing intersection in the Mueang Nga area of Lamphun Province. The research investigates the technical and operational requirements, urban and architectural design principles, and land use planning aspects of the railway crossing intersection. The study adopts a comprehensive research methodology, incorporating design principles and quality standards derived from Melbourne, Australia's Urban Design Framework - Measures and Qualitative Benchmarks. The data collection process includes surveys of the intersection's physical characteristics and traffic volume. Analysis techniques based on AASHTO and VicRoads guidelines evaluate the railway crossing, corner, and junction aspects. The study area is further analyzed using a standardized design approach, considering the railway track elevation, dimensions, column spacing, proportions, and perspectives. The study results demonstrate that the T.M. values obtained from the Mueang Nga railway crossing intersection survey exceeded the safety threshold of 100,000, affirming the urgent need for a grade-separated crossing at this location. Based on theoretical analyses and discussions, the research proposes design solutions that align with Melbourne, Australia's elevated railway track design standards, considering ten critical criteria. The objective is to enhance safety, efficiency, and visual integration at the railway crossing intersection to mitigate accidents and ensure seamless traffic flow. The recommendations from this research are expected to contribute to government agencies' efforts to create a safer and more livable environment. The proposed design solutions hold the potential for developing high-value areas, benefiting both residents and visitors. The emphasis on safety measures and improved efficiency at the railway crossing intersection is crucial in reducing accidents and enhancing the overall transportation system. This thesis offers insights into the design of railway crossing intersections, explicitly focusing on ensuring public safety and accessibility in local communities. Integrating these research findings into the design of main road networks, coupled with the conducted study, can significantly enhance road users' safety and potentially reduce future accidents.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectRailway crossingen_US
dc.subjectGrade-separated crossingen_US
dc.subjectRailway Intersection evaluationen_US
dc.subjectการประเมินทางแยกen_US
dc.subjectปัญหาการจราจรen_US
dc.subjectทางข้ามแยกจุดตัดทางรถไฟen_US
dc.subjectจุดตัดทางรถไฟen_US
dc.titleแนวทางการออกแบบทางข้ามแยกจุดตัดทางรถไฟเหมืองง่า จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeDesign guidelines of Mueang Nga railroad crossing, Lamphun Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashทางรถไฟ -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashทางรถไฟ -- การออกแบบ-
thailis.controlvocab.thashรางรถไฟ-
thailis.controlvocab.thashจราจร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเกิดอุบัติเหตุ บริเวณทางข้ามแยกจุดตัดทางรถไฟเหมืองง่า เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนในพื้นที่และทรัพย์สินของหน่วยงานราชการในประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อออกแบบจุดตัดทางรถไฟแยกเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยการสำรวจจุดตัด ตรวจสอบค่า T.M. บริเวณจุดตัดรถไฟแยกเหมืองง่า และนำเสนอแนวทางการออกแบบทางข้ามแยกทางรถไฟที่เหมาะสมในพื้นที่จุดตัดรถไฟเหมืองง่า ตำบลเหมืองง่า จังหวัดลำพูน การวิจัยฉบับนี้ใช้หลักการออกแบบตามหลักมาตรการและเกณฑ์มาตรฐานเชิงคุณภาพที่เกี่ยว ข้องกับการออกแบบรางรถไฟแบบยกระดับของเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย (Urban Design Framework - Measures And Qualitative Benchmarks) ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและข้อมูลปริมาณจราจร ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดตัดรถไฟ การประเมินจุดตัด ทางร่วม ทางแยกของ ถนนและรถไฟของ AASHTO และVICROADS โดยทำการวิเคราะห์พื้นที่ศึกษาด้วยหลักการวิเคราะห์มุมมองในการออกแบบ แบบมาตรฐานทางรถไฟยกระดับ ขนาดและระยะช่วงเสา สัดส่วนและมุมมอง จากวิธีการศึกษา ผ่านการคำนวณตามข้อตกลงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับกรมทางหลวง พบว่าค่า T.M. ที่ได้จากการสำรวจบริเวณจุดตัดรถไฟเหมืองง่า มีค่าเกินกว่า 100,000 ซึ่งเป็นการยืนยันข้อมูลว่า มีความจำเป็นที่ต้องสร้างทางต่างระดับในพื้นที่จุดตัดรถไฟจุดนี้ จากนั้น นำมาสู่การวิเคราะห์ทฤษฎีผ่านการวิเคราะห์และคัดเลือกเกณฑ์มาตรการและคุณภาพเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบรางรถไฟแบบยกระดับของเมืองเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย ทั้งหมด 10 หลักเกณฑ์ โดยมีการอภิปรายผลตามกรวยการมอง เพื่อวิเคราะห์กรอบการมองเห็นรางรถไฟยกระดับ ซึ่งมีโอกาสเกินขอบเขตการมองเห็นตามระนาบแนวนอน ทั้งหมด 3 มุมมอง แนวทางการออกแบบจุดตัดทางรถไฟที่ได้จากการศึกษาวิจัย จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐ เพิ่มความมีชีวิตชีวา ช่วยพัฒนาพื้นที่ให้มีศักยภาพและมีมูลค่าที่สูงขึ้น รวมถึงส่งผลดีต่อผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือน โดยมุ่งเน้นไปยังการเสริมสร้างความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพของจุดตัดทางรถไฟ ด้วยการลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ให้ลดลงได้ ข้อสรุปและการเสนอแนะแนวทางการออกแบบทางข้ามแยกจุดตัดทางรถไฟ มีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ ความปลอดภัยในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะของประชาชนในชุมชน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบถนนสายหลัก หากมีการศึกษาเพื่อออกแบบเส้นทางการสัญจรของถนนประกอบกันกับการศึกษาวิจัยฉบับนี้ อาจช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้เส้นทางในการสัญจรและเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตen_US
Appears in Collections:ARC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6417310004 KANYAWEE BOONPANYA.pdf13.64 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.