Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78954
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorTipawan Thungmhungmee-
dc.contributor.advisorChalongdej Kupanumat-
dc.contributor.advisorLipikorn Makaew-
dc.contributor.authorPesol Usavaporamitchaien_US
dc.date.accessioned2023-10-07T03:50:20Z-
dc.date.available2023-10-07T03:50:20Z-
dc.date.issued2023-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78954-
dc.description.abstractTung Lanna originated from surreal tales and Buddhist beliefs about defilements, karma, retribution, merit, and sin. Formation is the local wisdom used in rituals connected with the human spirit. There are many forms, shapes, sizes, colors, patterns, materials, including the symbols of animals representing the year of birth. or instead of greed, anger, delusion, and mindfulness, such as crocodiles, centipedes, mermaids, turtles, etc., I have adopted a multi-sensory approach arising from external media connected to the 6 internal senses: eyes, ears, nose, tongue, body and mind, combined with beliefs about karma in Buddhism. It has hidden in the meaning of Tung Lanna leading to access to a different feeling of aesthetics, beauty and value from the legend of Tung Lanna in a new way. In the thesis titled From senses to a state of mind: New imagery from beliefs of Tung Lanna. The objective is to study the myths and legends to create a new image from the Tung Lanna beliefs to be able to really touch. in the form of installation art and interaction art using the method of studying the history content and form of Tung Lanna. Study of surreal myths and beliefs about karma in Buddhism by reviewing the literature and go to an unstructured interview repository with local artisans or Sala. Study the art form of installation art and interaction art. Study of multi-sensory approaches affecting human perception to bring all of collected data to analyze and synthesize it into a prototype sketch and used to create art exhibitions that emphasize the use of local materials with modern ready-made materials. The results of the study on the historical background, content, and forms of Tung Lanna region, along with the culture of Chiang Mai, reveal their connection to the genuine narratives and moral beliefs within Buddhist teachings. Beyond the conventional rituals associated with Tung, there lies a matter of transformation and the juxtaposition of opposing dualistic concepts. This separation and transformation are evident in the various forms of Tung that continue to be categorized based on ritual usage and serve as distinct cultural symbols for effective cultural communication. These forms have consistently adapted and evolved through the creative fusion and reinterpretation by innovators. In terms of legends and moral beliefs, the researcher linked the underlying beliefs of Tung to core Buddhist principles such as karma, merit, sin, and virtuous deeds. These beliefs are connected to the spiritual well-being of human beings and serve as inspiration for artistic creation. The creative process unveils a methodology involving the study of historical patterns, legends, karma, Buddhist mental states, semiotic theories, sensory perceptions, artistic arrangement, and interaction. These elements combine to create new symbolism and imagery from Tung. The resulting artistic outputs include two sets: "The Spirit of Protection" and " The Whirlpool of Animals within the Mind." These works engage viewers in participation and offer an opportunity for profound experiences and insights. The study also finds a connection between Lanna cultural heritage and contemporary global perspectives, achieved through the presentation of Tung art to stimulate imagination and foster understanding.This process leads to the acquisition of three primary types of knowledge: 1)The principles of studying and transforming the original meaning into new interpretations. 2) The principles of artistic creation to stimulate viewer imagination through sensory experiences, impacting mental states and emotions. 3) The principles of creating new perspectives and understanding through viewer participation, interaction, and questioning of Lanna cultural beliefs and concepts.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleFrom senses to a state of mind: new imagery from beliefs of Tung Lannaen_US
dc.title.alternativeผัสสะสู่สภาพวะจิต: จินตภาพใหม่จากคติความเชื่อตุงล้านนาen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshBelief and doubt-
thailis.controlvocab.lcshKarma-
thailis.controlvocab.lcshTung Lanna-
thailis.controlvocab.lcshBuddhism-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractตุงล้านนา มีที่มาจากเรื่องเล่าเหนือจริงและคติความเชื่อทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับ กิเลส กรรม วิบาก อานิสงส์ผลบุญและบาป ก่อเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในพิธีกรรมเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณมนุษย์ มีหลากหลายรูปแบบ รูปทรง ขนาด สี ลวดลาย วัสดุ รวมถึงสัญลักษณ์ของสัตว์แทนปีเกิด หรือแทนความโลภ โกรธ หลง สติ เช่น จระเข้ ตะขาบ นางมัจฉา เต่า เป็นต้น ผู้ศึกษาจึงนำแนวทางพหุประสาทสัมผัส ที่เกิดจากสื่อภายนอกเชื่อมต่อกับอายตนะภายในทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผสมผสานกับคติความเชื่อเรื่องกรรมในพุทธศาสนา ที่แฝงความหมายอยู่ภายในตุงล้านนา นำไปสู่การเข้าถึงความรู้สึกที่แตกต่างของสุนทรียะความงามและคุณค่าจากตำนานเรื่องเล่าจากตุงล้านนาในรูปแบบใหม่ ในดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ผัสสะสู่สภาวะจิต: จินตภาพใหม่จากคติความเชื่อตุงล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำนานเรื่องเล่าตุงล้านนา และคติความเชื่อเรื่องกรรมในพุทธศาสนา นำมาสร้างสรรค์จินตภาพใหม่ให้สัมผัสได้จริง ในรูปแบบศิลปะจัดวางและศิลปะปฏิสัมพันธ์ ใช้วิธีการศึกษาโดยทบทวนวรรณกรรม และลงพื้นที่เก็บข้อมูลสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับช่างพื้นบ้านหรือสล่า ศึกษารูปแบบงานศิลปะจัดวางและศิลปะปฏิสัมพันธ์ ศึกษาแนวทางพหุประสาทสัมผัสที่มีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ออกมาเป็นภาพร่างต้นแบบ และนำไปสร้างสรรค์ผลงานจัดแสดงนิทรรศการศิลปะที่เน้นการใช้วัสดุพื้นบ้านร่วมกับวัสดุสำเร็จรูปสมัยใหม่ ผลของการศึกษาประวัติความเป็นมา เนื้อหา และรูปแบบของตุงล้านนา ที่เกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องเล่าเหนือจริงและคติความเชื่อเรื่องกรรมในพุทธศาสนาพบว่า สิ่งที่นอกเหนือไปจากพิธีกรรมของตุงล้านนา คือประเด็นการเปลี่ยนแปลงของตุงล้านนา และหลักคิดแบบคู่ตรงข้าม การแบ่งแยก โดยในด้านรูปแบบตุงล้านนายังคงแยกประเภทการใช้งานตามพิธีกรรมและใช้เป็นสัญลักษณ์ประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน ซึ่งยังมีการปรับตัวและเปลี่ยนรูปแบบไปตามผู้ประดิษฐ์คิดค้นผสมผสานใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ในด้านตำนานคติความเชื่อ ผู้ศึกษาทำการเชื่อมโยงฐานความเชื่อตุงล้านนากับหลักพุทธศาสนาเรื่อง ภพภูมิ บุญ บาป กุศลกรรม อกุศลกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณของมนุษย์ มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ผลของการสร้างสรรค์พบว่า แนวทางการเชื่อมโยงและสร้างจินตภาพใหม่จากตุงล้านนา เกิดจากการศึกษารูปแบบประวัติความเป็นมาตุงล้านนา + ตำนานเรื่องเล่า + กรรมและสภาวะจิตในหลักพุทธศาสนา + ทฤษฎีสัญวิทยาและพหุประสาทสัมผัส + ศิลปะจัดวางและศิลปะปฏิสัมพันธ์ = การสร้างสัญญะและสุนทรียภาพใหม่จากกุศลกรรม อกุศลกรรม ได้ผลงานศิลปะจัดวาง 2 ชุด คือ ดวงจิตแห่งการปกป้อง และวังวนสรรพสัตว์ในจิตใจ สามารถพาผู้ชมเข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งกับผลงานศิลปะได้ และค้นพบแนวทางการเชื่อมต่อรากวัฒนธรรมล้านนากับความเป็นสากลแบบร่วมสมัย โดยใช้ผลงานศิลปะเปิดพื้นที่ให้รับรู้ความจริงและกระตุ้นจินตนาการ ทำให้กลุ่มผู้ชมผลงานทั้ง 2 ชุด ได้รับประสบการณ์ และหลักองค์ความรู้จากผลงานศิลปะตุงล้านนาในเชิงคุณค่า 3 องค์ความรู้ คือ 1) หลักการศึกษาและนำความหมายเดิมแปรค่าไปสู่การสร้างความหมายใหม่ 2) หลักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อกระตุ้นจินตนาการให้แก่ผู้ชมผ่านผัสสะทั้ง 6 ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่มีผลต่อสภาวะจิตและอารมณ์ความรู้สึก สงบ สบาย เพลิดเพลิน มีสติ ผ่อนคลาย อึดอัด หรือกระตุ้นเร้าได้มากยิ่งขึ้น 3) หลักการสร้างสุนทรีภาพใหม่จากตุงล้านนา เพื่อให้ผู้ชมผลงานเกิดการมีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์ ทำให้เกิดความสนใจ เข้าใจ ไม่เข้าใจ และเกิดการตั้งคำถามต่อแนวคิดคติความเชื่อของตุงล้านนาในมิติที่หลากหลายมากขึ้นen_US
Appears in Collections:FINEARTS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610352009 Pesol Usavaporamitchai.pdfDissertation Title From Senses to a State of Mind: New Imagery from Beliefs of Tung Lanna12.65 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.