Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิสิต พันธมิตร-
dc.contributor.authorรวิวรรณ สุวรรณวัฒนะen_US
dc.date.accessioned2023-10-03T10:44:20Z-
dc.date.available2023-10-03T10:44:20Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78913-
dc.description.abstractThis study aims to determine the economic cost of cleft lip and cleft palate patients aged 0 to 15 admitted to Maharaj ChiangMai Hospital in Chiang Mai Province. This research is a quantitative study with 100 participants via questionnaires. The study utilized the following statistics: frequency, percentage, minimum value, maximum value, and average. Results of the survey of general information of patients and relatives, direct costs, and indirect costs found (1) The majority of patients had cleft lip and palate. The average cost of attending a public school is 5,381.00 baht per person per year, whereas a private school costs 17,500.00 baht per person per year. Most of the patients' family work 5–6 days a week as general laborers with an average monthly income of 15,781 baht. (2) Direct medical costs. Patients will have an average additional expense of 9,182.00 baht for every visit. The minimal cost is 0 baht per time since patients have entered the Beautiful Smile, Beautiful Voice Project supported by the government; therefore, patients do not have to pay any fees. (3) Non-medical direct costs. The average travel expenses are 1,024.00 baht per time. The average accommodation cost is 524.00 baht per time, and the average eating cost is 563.00 baht per time on a trip for medical treatment. (4) Indirect costs. Admission to the outpatient department, the patient incurred an opportunity cost in education on average equal to 61.02 baht per person each day of patients studying in public schools and 187.06 baht per person per day of patients studying in private schools with an average value equal to 124.04 baht per person per day. The patient's relatives will lose income from absence on average equal to 322.95 baht per person daily. The educational opportunity cost of ward patients in government schools patients can calculate as 77.44 baht per case per time, and patients studying in private schools with a value of 283.56 baht per patient per visit. The average value is 180.50 baht per patient for every visit to the inpatient department. Family income loss due to absenteeism averaged 3,490.39 baht per person per time in the inpatient department. The economic cost of working-age patients with cleft lip and cleft palate admitted to Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Chiang Mai province, found that the overall economic cost of working-age patients tends to increase when the patients can work. In addition, the estimation of the total economic cost of cleft lip and cleft palate patients in Thailand tends to increase. Patients with cleft lip and cleft palate aged 15 years that can work will make the average of the entire cost of 1 patient equal to 14,006,440.84 baht or 36,808,926,528 baht per cleft palate patient nationwide if the patient receives treatment and enters working age. Thailand will have more income and may create more value for the country. The government supports patients to have access to therapy comprehensively and can increase hospitals in each province to give complete care in all stages of treatment, thus minimizing patient travel.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนen_US
dc.title.alternativeAn Economic cost of cleft lip and cleft palate repair in North Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashปากแหว่ง -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashเพดานโหว่ -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashการแพทย์ -- ต้นทุน-
thailis.controlvocab.thashต้นทุนการผลิต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อประเมินต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยภาะวะปากแหว่งเพดานโหว่ ช่วงอายุ 0-15 ปีที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามสำหรับประชากร 100 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ต้นทุนทางตรงของผู้ป่วยและญาติ และต้นทุนทางอ้อม พบว่า (1) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นปากแหว่งและเพดานโหว่มากที่สุด เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 5,381.00 บาทต่อรายต่อปีและโรงเรียนเอกชนเฉลี่ยเท่ากับ 17,500.00 บาทต่อรายต่อปี ญาติของผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ทำงาน 5-6 วันต่อสัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 15,781 บาทต่อเดือน (2) ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ผู้ป่วยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเฉลี่ยที่ 9,182.00 บาทต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายต่ำสุดเท่ากับ 0 บาทต่อครั้ง เพราะผู้ป่วยได้เข้าโครงการยิ้มสวยเสียงใสที่รัฐบาลสนับสนุนจึงทำให้ผู้ป่วยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ (3) ต้นทุนทางตรงทางไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ พบค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเดินทาง 1,024.00 บาทต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายที่พักเฉลี่ย 524.00 บาทต่อครั้ง และค่าใช้จ่ายทางด้านอาหารเฉลี่ยที่ 563.00 บาทต่อครั้ง ในการเดินทางไปรับการรรักษา (4) ต้นทุนทางอ้อม ในการเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกผู้ป่วยเกิดค่าเสียโอกาสทางด้านการศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 61.02 บาทต่อรายต่อวันของผู้ป่วยที่ศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล และ 187.06 บาทต่อรายต่อวันของผู้ป่วยที่ศึกษาในโรงเรียนเอกชน โดยคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 124.04 บาทต่อรายต่อวัน และญาติผู้ป่วยจะเกิดการสูญเสียรายได้จากการขาดงานเฉลี่ยเท่ากับ 322.95 บาทต่อรายต่อวัน ค่าเสียโอกาสทางด้านการศึกษาของผู้ป่วยแผนกในผู้ป่วยที่ศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลสามารถคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 77.44 บาทต่อรายต่อครั้ง และผู้ป่วยที่ศึกษาในโรงเรียนเอกชนคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 283.56 บาทต่อรายต่อครั้ง จะมีมูลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 180.50 บาทต่อรายต่อครั้งของการเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน การสูญเสียรายได้ของญาติเนื่องจากการขาดงานเฉลี่ยเท่ากับ 3,490.39 บาทต่อรายต่อครั้งในการรักษาแผนกใน ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์วัยทำงานของผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แนวโน้มต้นทุนรวมทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยที่มีช่วงอายุของวัยทำงานจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อผู้ป่วยสามารถประกอบอาชีพได้ นอกนั้นการประมาณค่าต้นทุนรวมทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ช่วงอายุ 15 ปี ที่สามารถทำงานได้จะทำให้ค่าเฉลี่ยของต้นทุนรวมผู้ป่วย 1 คน เท่ากับ 14,006,440.84 บาท หรือ 36,808,926,528 บาทต่อผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ทั้งประเทศ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาและได้เข้าสู่วัยทำงานจะทำให้ประเทศไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถสร้างมูลค่าให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นได้ รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง สามารถเพิ่มโรงพยาบาลในแต่ละจังหวัดให้มีการรักษาที่ครบทุกขั้นตอนในการรักษาก็จะสามารถลดการเดินทางของผู้ป่วยได้en_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601631017-รวิวรรณ สุวรรณวัฒนะ.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.