Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78879
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกวลิน คุณาศักดากุล-
dc.contributor.authorวิศิษฐ์ เจริญอึ๊งen_US
dc.contributor.otherปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล-
dc.date.accessioned2023-09-16T12:30:02Z-
dc.date.available2023-09-16T12:30:02Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78879-
dc.description.abstractPotato late blight has a very high impact on yield in both quality and quantity of tomato producing in Thailand. Fungal pathogen, Phytophthora infestans that has long life period to survive in soil and infected plant debris. Difficulty to use fungicide for controlling the disease has been a limitation in harvesting period their risk for pesticide residues in the product. Therefore, objectives of this study select the antagonistic microbe and develop to bioproduct for controlling late blight disease. Firstly, 36 isolates of Streptomyces group obtained from the plant pathology laboratory Faculty of Agriculture, Chiang Mai University were selected from their efficiency in inhibiting the pathogens. It was found that Streptomyces albus CEN26 isolate has 89.33% effective in inhibiting mycelium growth, reducing the disease incidence by 90.39% and growth-promoting effects on tomato plant in tissue culture and greenhouse conditions. Subsequently, the appropriate liquid medium testing for S. albus CEN26 inoculum production was conducted and found that ISP-S liquid media was the best to produce 109 cfu/ml of the spore suspension after culturing for 5 days. When used to produce dry spore mass by applying biofilm culture using different ratios of stock culture and fresh medium, the results of the ratio 1:4 was suitable to produce 1010 spores per plate after culture for 7 days. Biofilm culture filtrate was also found at approximately 5 ml/plate. The efficacy of biofilm culture filtrate to control late blight pathogen was investigated in this study. Inhibition of P. infestans, mycelial growth, germination, and viability of the sporangia were evaluated, and found that the minimum concentration of the filtrate which effectively 100.00% inhibited the fungus was 60%. The filtrate concentration at 40% resulted in significant inhibition of the fungal mycelial growth and sporangia viability at lower rates than the 60% trials, though, it still extremely inhibited the sporangia germination in all incubation period trials. Even though, the concentration at 20% had no effect on sporangia viability but clearly restrained its germination period. The proper formula would be selected by the bio-product powder properties, losses, fine, dry, water-soluble, vital spore concentration, and ability to inhibit the disease. Results presented that bio-products have the best properties and are qualified for controlling late blight disease. The bio-product was formulated using carrier substances composed of Lactose, sodium carboxymethyl cellulose, sodium bicarbonate, and citric acid. The efficiency of disease control in the greenhouse and field condition of bio-product produced from biofilm culture filtrate mixed with dried spores and bio-product produced from dry spores only were compared. The disease control trial in greenhouse conditions using bioproducts produced from biofilm culture filtrate combined with dry spore showed reductions in both percentages of disease incidence and severity index better than the trial of bioproducts produced from only the dry spore. Then, bioproduct produced from biofilm culture filtrate combined with the dry spore was selected to apply in farmer plot trial, by spraying 10 g/20 L once a week for 4 months, the disease reduction was found with a percent of disease incidence and severity index revealed at 25.45% and 45.63%, while the untreated farmer plot was determined at 52.30% and 75.45%, respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาชีวภัณฑ์จากสเตร็พโตมัยซีสเพื่อควบคุมโรคใบไหม้ของมะเขือเทศen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Streptomyces bio-products for controlling tomato leaf blighten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมะเขือเทศ -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashสเตรปโตมัยซิส-
thailis.controlvocab.thashไฟทอฟธอรา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคใบไหม้ของมะเขือเทศ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตของมะเขือเทศที่มีการเพาะปลูกในประเทศไทย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora infestans ที่สามารถอาศัยอยู่ในดินและเศษซากพืชได้เป็นเวลานาน ทำให้ยากต่อการป้องกันกำจัด การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดมีข้อจำกัดในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและเป็นเหตุให้มีสารพิษตกค้างได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเชื้อปฏิปักษ์และพัฒนาชีวภัณฑ์ในการควบคุมโรคใบไหม้ของมะเขือเทศ โดยเริ่มจากการคัดเลือกเชื้อปฏิปักษ์กลุ่ม Streptomyces sp. ที่มีในห้องปฏิบัติการโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 36 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรค พบว่าเชื้อ Streptomyces albus CEN26 มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราสาเหตุได้ถึง 89.33 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดพื้นที่การเกิดโรคใบไหม้ใบได้ถึง 90.39 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นมะเขือเทศในสภาพปลอดเชื้อและสภาพโรงเรือน จากนั้นได้มีการทดสอบสูตรอาหารจำนวน 6 สูตร ที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มปริมาณเชื้อ S. albus CEN26 พบว่าอาหารเหลวสูตร ISP-S สามารถใช้เพิ่มปริมาณหัวเชื้อได้ดีกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ และจากการผลิตหัวเชื้อแบบแห้ง ด้วยเทคนิคการเลี้ยงเชื้อแบบไบโอฟิล์มในอาหาร ISP-S ใช้อัตราส่วนของหัวเชื้อในอาหารเหลวต่ออาหารเหลวใหม่ 1:4 (v/v) พบว่ามีการเจริญของเชื้อดี มีปริมาณสปอร์ไม่น้อยกว่า 1010 สปอร์/เพลท หลังบ่มเป็นระยะเวลา 7 วัน อีกทั้งยังพบว่าในการเลี้ยงเชื้อแบบไบโอฟิล์มนี้ มีปริมาณอาหารเหลวเหลือประมาณ 5 มิลลิลิตร/เพลท จึงได้มีการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำกรองเลี้ยงเชื้อในการยับยั้งเชื้อรา P. infestans โดยประเมินการยับยั้งการเจริญของเส้นใย การงอกและความมีชีวิตของ sporangia พบว่า น้ำกรองเลี้ยงเชื้อที่ความเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นความเข้มข้นต่ำสุด ที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. infestans ได้ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ที่ความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ แม้จะสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยและความมีชีวิตของ sporangia ได้ต่ำกว่าความเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ยังคงยับยั้งการงอกของ sporangia ได้ดีมากในทุกระยะการบ่มเชื้อ และที่ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ แม้ไม่สามารถยับยั้งความมีชีวิตของ sporangia ได้ แต่สามารถชะลอการงอกได้อย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาและคัดเลือกตำรับชีวภัณฑ์จะพิจารณาคุณสมบัติที่ดีจาก ความร่วนซุย การเป็นผงละเอียดแห้ง การละลายน้ำ ความเข้มข้นของหัวเชื้อหลังการผลิตเป็นชีวภัณฑ์ และการควบคุมโรค ชีวภัณฑ์สูตรที่มีส่วนประกอบของ น้ำตาลแลคโตส โซเดียมคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส โซเดียมไบคาร์บอเนต และกรดซิตริก เป็นสูตรตำรับที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตเป็นชีวภัณฑ์ โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบไหม้ ในสภาพโรงเรือนและในแปลงปลูก ระหว่างชีวภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำกรองเลี้ยงเชื้อแบบไบโอฟิล์มผสมสปอร์แห้ง กับชีวภัณฑ์ที่ผลิตจากสปอร์แห้งเพียงอย่างเดียว พบว่า ชีวภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำกรองเลี้ยงเชื้อแบบไบโอฟิล์มรวมกับสปอร์แห้ง ลดการเกิดโรคและมีดัชนีความรุนแรงของโรคต่ำกว่าการใช้ชีวภัณฑ์ที่ผลิตจากสปอร์แห้งเพียงอย่างเดียว เมื่อนำชีวภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำกรองเลี้ยงเชื้อแบบไบโอฟิล์มรวมกับสปอร์แห้ง ไปทดสอบในแปลงปลูกของเกษตรกร โดยฉีดพ่นชีวภัณฑ์ 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 เดือน พบว่าสามารถลดการเกิดโรคได้ดี โดยมีร้อยละของพื้นที่การเกิดโรคและดัชนีความรุนแรงของโรคเท่ากับ 25.45 และ 49.76 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่แปลงที่ไม่ได้ฉีดพ่นชีวภัณฑ์มีค่าเท่ากับ 52.30 และ 75.45 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับen_US
Appears in Collections:GRAD-Sciences and Technology: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
วิศิษฐ์ เจริญอึ๊ง 629931008.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.