Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78813
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAtichart Harncharnchai-
dc.contributor.advisorWorawit Janchai-
dc.contributor.advisorRatapol Wudhikarn-
dc.contributor.authorChamikorn Hiranraten_US
dc.date.accessioned2023-09-09T07:11:07Z-
dc.date.available2023-09-09T07:11:07Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78813-
dc.description.abstractThe 13th National Economic and Social Development Plan (2023-2027) focuses on developing infrastructure, logistics, and digital technology to provide access and services for all groups of people. In addition, Thailand seeks to become the ASEAN hub of the digital industry. As a result, there is an increasing demand for qualified digital skills in software development teams and the software industry. Previous studies have shown that communication skills are essential to the success of software projects. It was found that new graduates in information and communication technology fields still lack communication skills. Developing students' skills to be ready to work in the industrial sector is one of the missions of higher education institutions to produce graduates to support the needs of the industrial sector. Project-based learning is a widely used learning method in software engineering education and promotes the development of communication skills in software development among students. Assessment of communication skills used primarily focuses on performance measurement. However, few studies have been reported linking personal mastery and self-efficacy to the development of software development communication skills. The principle of personal mastery emphasizes goal-setting and dedication to achieving success. Perceived self-efficacy is a predictor of an individual's performance and success in various fields. Individuals with high self-efficacy are more likely to complete challenging tasks with confidence and consistency. Understanding the self-efficacy of communication skills in software development can be used to adapt instructional approaches to enhance learners' skills. This study presents a personal mastery-based learning process and a self-efficacy questionnaire in communication for software development to develop communication skills among undergraduate students in software engineering. The research procedures are as follows: (1) Identify software development communication skills required for software engineering students. A preliminary study and literary review were conducted to determine the causes and issues underlying graduates' communication skills that did not meet industry requirements. The 32 necessary communication skills for software development for new graduates in software development have been identified. (2) Establish links of concepts and theories associated with personal mastery and communication skills for software development. The principle of personal mastery at the practical level was used in learning and developing software projects. Project accomplishment resulted in self-efficacy in communicating tasks in the software process. This research presents the concept of measuring communication self-efficacy for software development. (3) Develop an instrument for measuring self-efficacy in communication for software development and validate the instrument by evaluating the Index of item object congruence (IOC) index. A questionnaire consisting of 24 skills was tried out to determine its reliability before being used to collect data from 62 senior software engineering students from six universities in Thailand. The Cronbach's alpha coefficient for the questionnaire was 0.951, indicating a high level of reliability. (4) Design a learning process framework to develop communication skills for software engineering undergraduates. Personal mastery, problem-based learning, and self-directed learning have been integrated into the Scrum s development methodology. The concept of design thinking was implemented to improve communication skills during the software development process. (5) Design an experiment to evaluate the designed learning process. Participants were the forth-year software engineering students at Prince of Songkla University Phuket Campus. The experimental group in the first batch was students enrolled in software engineering project courses in the academic year 2020, and the control group was students enrolled in software engineering project courses in the academic year 2019. (6) Evaluate the conceptual framework of the designed learning process. The designed conceptual framework was used in the instructional design for the software engineering project course in the academic year 2020 and used a t-test to compare the mean of communication self-efficacy for software development and a self-directed learning questionnaire before and after learning. The results indicate that means of most items after the study were higher than before. A comparison of communication self-efficacy for software development between the experimental and control groups revealed that the experimental group's questionnaire item means were significantly higher than those of the control group. (7) Revise the learning process framework and evaluation. The results from the questionnaires obtained in the first batch of experiments were used to improve the framework. Students enrolled in the software engineering project course during the 2021 academic year participated in the second batch of experiments. A t-test to compare the mean of items in the communication self-efficacy for software development and self-directed learning found that the means of the majority of items were higher, corresponding with the first batch's experiment. Single linear regression analysis was applied to examine the relationship between variables. The results indicate that communication self-efficacy for software development has a positive correlation with and can predict students' perceived learning outcomes at 41.1% and 23.1%, respectively, in the first and second experimental groups. The results of interviews with graduates and employers indicate that the proposed learning process can be used in teaching and learning to improve students’ confidence in their communication skills in real-world software development processes. The two main findings of this study are the measurement instrument of communication self-efficacy for software development and the personal mastery-based learning process to develop communication skills for software development. These findings can be used to assess communication skills and plan for communication skills development in order to produce graduates with communication skills that meet the needs of the software industryen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titlePersonal mastery based learning process to develop communication skills for software engineering undergraduate studentsen_US
dc.title.alternativeกระบวนการเรียนรู้ด้วยหลักการครองตนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshSoftware engineering-
thailis.controlvocab.lcshCommunication-
thailis.controlvocab.lcshSelf-efficacy-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566– 2570) ของประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้คนทุกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้บริการ อีกทั้งมีการกำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลของอาเซียน ทำให้มีความต้องการกำลังคนด้านดิจิทัลที่มีทักษะความพร้อมในการทำงานในทีมพัฒนาซอฟต์แวร์รวมถึงในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เพิ่มสูงขึ้น จากการศึกษาพบว่าทักษะการสื่อสารนับเป็นทักษะที่สำคัญที่ส่งผลกับความสำเร็จของโครงการซอฟต์แวร์ ทั้งนี้การสำรวจเบื้องต้นและการทบทวนวรรณกรรมพบว่าบัณฑิตด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จบใหม่ยังขาดความพร้อมในทักษะด้านการสื่อสาร การพัฒนาทักษะนักศึกษาให้มีทักษะความพร้อมในการทำงานในภาคอุตสาหกรรมนับเป็นภารกิจหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การเรียนรู้โดยเน้นการใช้โครงงานเป็นฐานนับเป็นวิธีการเรียนที่ใช้กันแพร่หลายในการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ รวมถึงช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะการสื่อสารในการพัฒนาซอฟต์แวร์แก่นักศึกษา การประเมินทักษะการสื่อสารที่นำมาใช้เน้นการวัดผลงานเป็นหลัก แต่งานวิจัยที่เชื่อมโยงแนวคิดหลักการครองตนและการรับรู้ความสามารถของตนเองสำหรับการพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์มีการกล่าวถึงอยู่น้อยมาก หลักการครองตนเน้นการกำหนดเป้าหมายและการมุ่งมั่นในการทำงานจนสำเร็จ ส่วนการรับรู้ความสามารถของตนเองนับเป็นตัวทำนายประสิทธิภาพและความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ บุคคลที่เชื่อมั่นศักยภาพในตนเองสูงมีแนวโน้มที่จะทำงานที่ท้าทายอย่างมั่นใจและต่อเนื่องจนสำเร็จ ดังนั้น หากเข้าใจการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็จะสามารถนำไปใช้เพื่อปรับแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนทักษะของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้ นำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยหลักการครองตนมาใช้สำหรับสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และได้สร้างแบบสอบถามด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยดังนี้ (1) ระบุความต้องการทักษะการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการสำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยศึกษาเบื้องต้นและการทบทวนวรรกรรมเพื่อระบุสาเหตุและปัญหาในการมีทักษะด้านการสื่อสารของบัณฑิตที่ไม่ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม และระบุทักษะการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับบัณฑิตจบใหม่ได้จำนวน 32 ทักษะ (2) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักการครองตนและทักษะการสื่อสาร โดยนำหลักการครองตนในระดับปฏิบัตินำมาใช้ในการเรียนรู้และการพัฒนาโครงงานซอฟต์แวร์ ความสำเร็จทำให้เกิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมด้านการสื่อสารในกระบวนการซอฟต์แวร์ โดยงานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวคิดการวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ (3) พัฒนาเครื่องมือสำหรับเป็นแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยการประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยมีจำนวน 24 ทักษะที่นำมาใช้เป็นแบบสอบถามและนำไปทดลองใช้ก่อนจะนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ชั้นปีที่ 4 จาก 6 มหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำนวน 62 คน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.951 แสดงว่าแบบสอบถามมีความเที่ยงในระดับสูง (4) ออกแบบกรอบแนวคิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยได้มีการเชื่อมโยงแนวคิดด้านหลักการครองตน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการเรียนรู้แบบนำตนเอง เข้ากับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบสครัม และนำแนวคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (5) ออกแบบการทดลองเพื่อประเมินกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยกำหนด ผู้เข้าร่วมทดลองเป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กลุ่มทดลองในรอบแรกเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโครงงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในปีการศึกษา 2563 และกำหนดกลุ่มควบคุมเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโครงงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในปีการศึกษา 2562 (6) ประเมินกรอบแนวคิดกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยนำกรอบแนวคิดที่ออกแบบไว้มาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาโครงงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในปีการศึกษา 2563 และใช้การทดสอบทีเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และแบบสอบถามการเรียนรู้แบบนำตนเองก่อนและหลังเรียน โดยส่วนใหญ่แล้วค่าเฉลี่ยของข้อคำถามในแบบสอบถามหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน การเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์หลังเรียนกับกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยของข้อคำถามในแบบสอบถามของกลุ่มทดลองโดยส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (7) ปรับปรุงกรอบแนวคิดกระบวนการเรียนรู้และประเมินผล โดยนำผลจากแบบสอบถามที่ได้ในการทดลองรอบแรกมาใช้ปรับปรุงกรอบแนวคิดกระบวนการเรียนรู้ และดำเนินการทดลองในรอบที่สองกับนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาโครงงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในปีการศึกษา 2564 จากการทดสอบทีเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และการเรียนรู้แบบนำตนเองพบว่าค่าเฉลี่ยของข้อคำถามส่วนใหญ่หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในรอบแรก การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นเดี่ยวเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์มีความสัมพันธ์ในทางบวกและสามารถทำนายการรับรู้ผลการเรียนรู้ได้ 41.1% และ 23.1% ในกลุ่มทดลองรอบที่ 1 และ 2 ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นบัณฑิตและผู้จ้างงานพบว่า กระบวนการเรียนรู้ที่นำเสนอสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษามีความเชื่อมั่นในทักษะการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้จริง ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้มีสองส่วนหลักคือ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการสื่อสารสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และกระบวนการเรียนรู้ด้วยหลักการครองตนเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารในการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการประเมินทักษะการสื่อสารและวางแผนการพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์en_US
Appears in Collections:CAMT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
602155901-จามิกร หิรัญรัตน์.pdf22.41 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.