Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78581
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปริยานุช วุฒิ ชูประดิษฐ์-
dc.contributor.advisorสุภัทร ชูประดิษฐ์-
dc.contributor.authorพณัฐ เชื้อประเสริฐศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2023-07-25T14:42:30Z-
dc.date.available2023-07-25T14:42:30Z-
dc.date.issued2023-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78581-
dc.description.abstractThis research aimed to develop a Mental Health Promotion Program on Social Media Addiction among University Students and to try out a Mental Health Promotion Program on Social Media Addiction among University Students. Using research and development research method which divided into 3 periods of evaluation: pretest, posttest , and follow up period. The simple random sampling was used to select students who were studying for a bachelor's degree, the academic year 2022. The Mental Health Promotion Program was developed by using Cognitive Behavioral Therapy-Based Psychoeducation Group for Social Media Addiction and Mental Health Problems. The total period of the program was 2 days, 10 activities, 60 minutes each. A total of samples (n=7) who received a mental health promotion program. This study was measured before attending program, after attending program, and after attending program 1 month by using a General Information Questionnaire, the Social Media Addiction Test (S-MAT), the Depression Anxiety Stress Scales (DASS-21) and the 6 Items Revised UCLA Loneliness Scale (RULS-6). Mean, Standard Deviation, Repeated Measures MANOVA were used to analyze the data. All analyses used 95 % confidence intervals, and the significance level was p-value < .05. The result shows that 1) Mental Health Promotion Program has the index of item objective congruence of 0.88-1.00 and the overall program consistency index of 0.94. 2) Comparing between before and after attending Mental Health Promotion Program, the stress and the social media addiction were decreased at the level of .05, the depression, the anxiety and the loneliness were not significantly different at the level of .050. 3) Comparing between before and after attending Mental Health Promotion Program 1 month, the anxiety, the stress, the loneliness, and the social media addiction were decreased at the level of .05, the depression were not significantly different at the level of .050. 4) Comparing between after and after attending Mental Health Promotion Program 1 month, the depression, the anxiety, the stress, the loneliness, and the social media addiction were not significantly different at the level of .050.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of mental health promotion program on social media addiction among university studentsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashสุขภาพจิต-
thailis.controlvocab.thashการบำบัดทางจิต-
thailis.controlvocab.thashสื่อสังคมออนไลน์กับนักศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการติดสื่อสังคมออนไลน์-
thailis.controlvocab.thashสื่อสังคมออนไลน์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วัดผล 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนรับโปรแกรม ระยะหลังรับโปรแกรม และระยะหลังรับโปรแกรม 1 เดือน ตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวนทั้งสิ้น 7 คน ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตที่เน้นการให้สุขจิตศึกษาโดยใช้เทคนิคการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นฐาน จำนวน 10 กิจกรรม ๆ ละ 60 นาที ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินก่อนรับโปรแกรม หลังรับโปรแกรม และหลังรับโปรแกรม 1 เดือน ด้วยแบบทดสอบการติดสื่อสังคมออนไลน์ แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต และแบบวัดความรู้สึกว้าเหว่ยูซีเอลแบบ 6 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวพหุนามแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 10 กิจกรรม ๆ ละ 1 ชั่วโมง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 2 วัน มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและมีความเหมาะสมของกระบวนการบำบัดความคิดและพฤติกรรม การประเมินโครงร่างของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่แสดงความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรม อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 และมีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวมของโปรแกรม อยู่ที่ 0.94 2) เมื่อเปรียบเทียบก่อนใช้โปรแกรมและหลังใช้โปรแกรม นักศึกษามีคะแนนความเครียดและภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และความว้าเหว่ ลดลงอย่างไม่มีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เมื่อเปรียบเทียบก่อนใช้โปรแกรมและหลังใช้โปรแกรม 1 เดือน นักศึกษามีคะแนนภาวะวิตกกังวล ความเครียด ความว้าเหว่ และภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เมื่อเปรียบเทียบหลังใช้โปรแกรมและหลังใช้โปรแกรม 1 เดือน นักศึกษามีคะแนนภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ความเครียด ความว้าเหว่ และภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
Appears in Collections:EDU: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.