Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78573
Title: ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Other Titles: Work-family conflict of nurses in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital
Authors: นภาภรณ์ ไชยยะ
Authors: กุลวดี อภิชาติบุตร
บุญพิชชา จิตต์ภักดี
นภาภรณ์ ไชยยะ
Issue Date: Sep-2021
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: ความขัดแย้งระหว่างงานและครอบครัวมีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาล โรงพยาบาล และ ครอบครัว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มี สาเหตุจากงานรบกวนครอบครัวและครอบครัวรบกวนงาน และเปรียบเทียบความขัดแย้งระหว่างงาน กับครอบครัวจำแนกตามการหมุนเวียนการปฏิบัติงาน และแผนกที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างใน การศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในการให้บริการแก่ผู้ป่วยโดยตรงใน 10 งานการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบวัดความ ขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวแบบหลายมิติ (Carlson et al, 2000) ทำการแปลย้อนกลับโดย พัชรินทร์ เขตประทุม (2563) ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ้าของครอนบาคความขัดแย้งระหว่างงานกับ ครอบครัวรูปแบบงานรบกวนครอบครัวที่มีสาเหตุจากเวลาเท่ากับ .99 ที่มีสาเหตุจากความเครียด เท่ากับ .83 ที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมเท่ากับ .89 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ้าของครอนบาคความขัดแย้ง ระหว่างงานกับครอบครัวรูปแบบครอบครัวรบกวนงานที่มีสาเหตุจากเวลาเท่ากับ 90 ที่มีสาเหตุจาก ความเครียดเท่ากับ .84 และที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบความขัดแงระหว่างงานกับครอบครัวตามการหมุนเวียนการปฏิบัติงาน และแผนกที่ ปฏิบัติงานโดยใช้การทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า 1. พยาบาลมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มีสาเหตุจากงานรบกวนครอบครัวใน ระดับปานกลาง (X = 2.74, SD = 0.67) และมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มีสาเหตุจาก ครอบครัวรบกวนงานในระดับน้อย (X = 2.06, SD = 0.64) 2. พยาบาลที่ปฏิบัติงานหมุนเวียนในเวรเช้า บ่าย ดึก มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ที่มีสาเหตุจากงานรบกวนครอบครัวมากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานเฉพาะเวรเช้าอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 (U = 7917.00 p -.0)ามยน 3. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในมีความขัดแช้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มีสาเหตุ จากงานรบกวนครอบครัวมากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยนอกและฉุกเฉินอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (U = 5971.500, p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางให้พยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลในการวางแผนลด ความขัดแย้งระหว่างงานและครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานที่ดีของพยาบาลต่อไป
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78573
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231046 นภาภรณ์ ไชยยะ.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.